ไฮอะซินท์บ้าน
ไฮอะซินท์บ้าน | |
---|---|
Hyacinthus orientalis ตามธรรมชาติ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Asparagaceae |
วงศ์ย่อย: | Scilloideae |
สกุล: | Hyacinthus |
สปีชีส์: | H. orientalis |
ชื่อทวินาม | |
Hyacinthus orientalis L. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
Hyacinthus orientalis, ไฮอะซินท์บ้าน (อังกฤษ: common hyacinth), ไฮอะซินท์สวน (อังกฤษ: garden hyacinth) หรือ ไฮอะซินท์ดัตช์ (อังกฤษ: Dutch hyacinth) เป็นสปีชีส์ของพืชดอกในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง วงศ์ย่อย Scilloidiae ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตอนใต้และตอนกลางของประเทศตุรกี ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย ประเทศเลบานอน และตอนเหนือของประเทศอิสราเอล พืชชนิดนี้ถูกนำเข้าไปยังทวีปยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 16 และแพร่หลายไปทั่วภูมิอากาศแบบอบอุ่นของโลก เนื่องด้วยดอกที่มีกลิ่นหอมอย่างมาก ซึ่งมักพบนำมาปลูกในช่วงต้นฤดูกาลเพื่อให้ออกดอกในช่วงคริสตมาสพอดี[2]
คำอธิบาย
[แก้]ไฮอะซินท์เป็นพืชหัว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัว 3–7 ซม. ใบเป็นใบโอบต้น มีความยาว 15–35 ซม. กว้าง 1–3 ซม. มีสัมผัสนุ่ม อวบน้ำ และมีฐานใบเรียงเป็นวงก้นหอย ก้านดอกเป็นช่อกระจะมีความสูง 20–35 ซม. (หรืออาจยาวถึง 45 ซม. ซึ่งพบได้ยาก) ประกอบด้วยดอกมีกลิ่นสีม่วง 2–50 ดอก มีหลอดดอกยาว 3.5 ซม. และวงกลีบรวมมีหกแฉก
ปรัมปรา
[แก้]ในประมวลเรื่องปรัมปรากรีก ไฮอะซินท์เป็นเด็กหนุ่มซึ่งเป็นที่ชื่นชมจากทั้งอะพอลโลและเซไฟรัส แต่ถูกสังหารโดยจักร (discus) เนื่องจากการต่อสู้ด้วยความอิจฉาระหว่างเทพทั้งสอง เมื่อไฮอะซินทัสตาย โดยมีดอกไม้เติบโตขึ้นมาจากเลือดของเขา อย่างไรก็ตาม เทโอฟรัสตัสอธิบายว่าทั้งพืชพันธุ์ปลูกและพืชป่าที่เรียกว่า ὑάκινθος (hyakinthos) นั้นไม่ถือว่าเป็นต้นไฮอะซินท์ในยุคใหม่
การขยายพันธุ์
[แก้]การขยายพันธุ์นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยการแบ่งหัว (bulb) ที่แยกออกจากต้นหลัก ซึ่งต้นไฮอะซินท์ในธรรมชาติก็ใช้วิธีการนี้เช่นกัน แต่ก็ยังมีไฮอะซินท์ที่ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดด้วยเช่นกัน
ไฮอะซินท์จะได้รับการผสมเกสรโดยแมลงต่าง ๆ เช่น ผึ้งน้ำผึ้ง เนื่องจากเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมอย่างมากจึงดึงดูดแมลงเข้ามาตอมน้ำหวาน
หลังจากออกดอกแล้วจะเกิดถุงเมล็ดที่สุกแล้วขึ้น มีรูปร่างอ้วนและเป็นทรงกลม เมื่อถุงสุกแล้วจะแห้งและแตกออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนจะมีส่วนย่อยสองส่วน และจะมีเมล็ดอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน ตัวเมล็ดเป็นสีดำที่มีเอไลโอโซมขนาดต่าง ๆ สีขาว เมล็ดจะถูกกระจายโดยอาศัยมด (myrmecochory) นั่นคือ มดจะมาขึ้นเมล็ดเหล่านี้ และแบกกลับไปยังรังโดยมดจะกินเอไลโอโซมเป็นอาหาร ส่วนเมล็ดก็จะสามารถงอกขึ้นได้ในรังมด
การปลูก
[แก้]ไฮอะซินท์บ้านเป็นพันธุ์ปลูกที่มีประวัติยาวนานในฐานะไม้ประดับ ไฮอะซินท์นั้นขึ้นอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน และต่อมาคือประเทศฝรั่งเศส (ใช้ในการปรุงน้ำหอม) และประเทศเนเธอร์แลนด์ (ศูนย์กลางพันธุ์ปลูกที่สำคัญ) และพื้นที่อื่น ๆ
ดอกของไฮอะซินท์จะออกในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงที่มีแดดดีและมีร่มเงาในดินที่ระบายน้ำได้ดีแต่ไม่แห้ง โดยต้นจะเข้าสู่ระยะพักตัวในช่วงฤดูหนาว และจะคงอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเท่านั้น ซึ่งดอกนั้นมีกลิ่นหอมและมีสีสันสดใส ไฮอะซินท์มีพันธุ์ปลูกที่ได้รับการคัดเลือกและตั้งชื่อกว่า 2,000 สายพันธุ์ ประกอบด้วยพันธุ์ที่มีดอกสีน้ำเงิน สีขาว สีเหลืองอ่อน สีชมพู สีแดง หรือสีม่วง ซึ่งสายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ได้รับการคัดเลือกนั้นมีช่อเชิงลดของดอกหนาแน่นกว่าพันธุ์ป่า โดยในแต่ละช่อเชิงลดจะมีดอก 40–100 หรือมากกว่า
พันธุ์ปลูก
[แก้]พันธุ์ปลูกต่อไปนี้เป็นสายพันธุ์ที่ได้รับรางวัลการ์เดนเมริตจากราชสมาคมพืชสวนแห่งสหราชอาณาจักร:-[3]
- ไอดา 'Aida'[4] (สีน้ำเงินเข้ม)
- แอนนามารี 'Anna Marie'[5] (สีชมพู)
- บลูเฟสติวัล 'Blue Festival'[6] (สีน้ำเงินอ่อน)
- บลูแจ็กเก็ต 'Blue Jacket'[7] (สีน้ำเงิน)
- ชิคาโก 'Chicago'[8] (สีคราม)
- ซิตีออฟฮาร์เล็ม 'City of Haarlem'[9] (สีครีม)
- เดลฟต์บลู 'Delft Blue'[10] (สีน้ำเงิน)
- แฟรลี 'Fairly'[11] (สีขาว)
- จิปซีควีน 'Gipsy Queen'[12] (สีชมพูแซลมอน)
- ยอนโบส 'Jan Bos'[13] (สีชมพูเข้ม)
- ลินโนซองซ์ 'L'Innocence'[14] (สีขาว)
- มิสไซง่อน 'Miss Saigon'[15] (สีชมพูเข้ม)
- ออสทารา 'Ostara'[16] (สีน้ำเงิน)
- เพาล์ แฮร์มัน 'Paul Hermann'[17] (สีม่วงซีด)
- รอยัลเนวี 'Royal Navy'[18] (สีน้ำเงินเข้ม)
- เยลโลวควีน 'Yellow Queen'[19] (สีครีมเหลือง)
การบังคับ
[แก้]ไฮอะซินท์เป็นหนึ่งในพืชหัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการนำมาเข้ากระบวนการบังคับ (forcing) ซึ่งเป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้พืชออกดอกเร็วกว่าฤดูกาลธรรมชาติ (ในกรณีนี้คือคริสตมาสในเขตหนาว) โดยการให้ความอบอุ่นกับหัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์ก่อนที่จะนำไปปลูกในที่สว่างและเย็น เช่น บริเวณหน้าต่างของห้องครัว หรืออาจปลูกในแจกันคอแคบเพื่อดูการเจริญเติบโตของระบบรากได้ด้วย[20][21]
ความเป็นพิษ
[แก้]H. orientalis ประกอบด้วยแอลคาลอยด์ซึ่งจะเป็นพิษหากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก อย่างไรก็ตาม หัวของมันเป็นส่วนที่มีพิษมากที่สุดและไม่ควรรับประทานไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม
ดูเพิ่มเติม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Plant List: A Working List of All Plant Species".
- ↑ Brickell, Christopher, บ.ก. (2008). The Royal Horticultural Society A-Z Encyclopedia of Garden Plants. United Kingdom: Dorling Kindersley. p. 552. ISBN 9781405332965.
- ↑ "AGM Plants - Ornamental" (PDF). Royal Horticultural Society. July 2017. p. 50. สืบค้นเมื่อ 3 March 2018.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Aida'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'Anna Marie'". สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Blue Festival'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Blue Jacket'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Chicago'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'City of Haarlem'". สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'Delft Blue'". สืบค้นเมื่อ 25 August 2020.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Fairly'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'Gipsy Queen'". สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Jan Bos'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'L'Innocence'". สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Miss Saigon'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plant Selector - Hyacinthus orientalis 'Ostara'". สืบค้นเมื่อ 28 August 2020.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Paul Hermann'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Royal Navy'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "RHS Plantfinder - Hyacinthus orientalis 'Yellow Queen'". สืบค้นเมื่อ 7 March 2018.
- ↑ "Bulbs for Christmas flowering". Royal Horticultural Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-26. สืบค้นเมื่อ 15 July 2013.
- ↑ "Forcing spring bulbs". Greenshare factsheets. University of Rhode Island Landscape horticulture program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2013. สืบค้นเมื่อ 15 July 2013.