ไฟป่าในฟอร์ตมักเมอร์รีย์ พ.ศ. 2559
ไฟป่าในฟอร์ตมักเมอร์รีย์ พ.ศ. 2559 | |
---|---|
ผู้อาศัยในฟอร์ตมักเมอร์รีย์กำลังอพยบบนทางหลวงหมายเลข 63 กับไฟที่กำลังลุกลามในพื้นที่ | |
สถานที่ | เทศบาลภูมิภาควุดบัฟฟาโล รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 56°42′N 111°23′W / 56.700°N 111.383°W |
สถิติ | |
วันที่ | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560 |
พื้นที่ที่ถูกเผา | 161,000 เฮกตาร์ (400,000 เอเคอร์)[1] |
อาคารถูกทำลาย | 3,244 หลัง[2] |
ผู้เสียชีวิต | 0 (ผลโดยตรง)[3] 2 (ผลทางอ้อม)[4] |
ผู้บาดเจ็บ | 0[3] |
แผนที่ | |
ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไฟป่าได้ลุกลามขึ้นในทิศตะวันตกเฉียงใต้ของฟอร์ตมักเมอร์รีย์ ในเขตเทศบาลภูมิภาควุดบัฟฟาโล รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ต่อมาในวันที่ 3 พฤษภาคม ไฟได้ไหม้จนถึงชุมชน ทำลายบ้านและอาคารไปมากกว่า 1,600 หลัง ไฟป่าครั้งนี้ทำให้มีการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของผู้อยู่อาศัยในรัฐแอลเบอร์ตา
สภาพอากาศ
[แก้]มีอากาศที่ร้อนและแห้งผิดปกติในพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐแอลเบอร์ตา ซึ่งทำให้อุณหภูมิที่วัดได้ที่ฟอร์ตมักเมอร์รีย์ในวันที่ 3 พฤษภาคม สูงถึง 32.8 องศาเซลเซียส (91 องศาฟาเรนไฮต์)[5] อีกทั้งยังมีความชื้นที่ต่ำมากที่ 12%[6] สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม ซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 31.9 องศาเซลเซียส (89 องศาฟาเรนไฮต์)[7] และความเร็วลม 72 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[8] ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว[9]
ส่วนฤดูหนาวก่อนที่จะเกิดไฟป่าครั้งนี้มีอากาศแห้งผิดปกติ และมีชั้นน้ำแข็งเพียงเล็กน้อย อีกทั้งยังละลายอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น เป็นจุดที่แสดงออกให้เห็นสถานการณ์ครั้งนี้อย่างเต็มรูปแบบ[10][11]
การลุกลามของไฟ
[แก้]รัฐท้องถิ่นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 1 พฤษภาคม เวลา 21:57 น. ตามเวลาท้องถิ่น ให้ผู้อาศัยในเซ็นเท็นเนียลเทรลเลอร์พาร์ก และในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงกับแพรรีครีก รวมไปถึงเกรกวาร์ ภายใต้การบังคับการอพยพของสภาเมือง[12][13] โดยคำสั่งอพยพใน 2 บริเวณได้รับการผ่อนปรนด้วยการให้อยู่ในที่พักอาศัยในเวลากลางคืน ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เนื่องจากไฟได้ลุกลามไกลจากเมืองออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้[14][15] อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีคำสั่งอพยพใน 12 ละแวกใกล้เคียงในวันที่ 3 พฤษภาคม เวลา 17:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[16] และประกาศการอพยพครอบคลุมทั้งเมืองฟอร์ตมักเมอร์รีย์ในเวลา 18:49 น.[9][17] และคำสั่งอพยพเพิ่มเติมที่ครอบคลุมไปถึงแอนแซก, ที่ดินบริเวณทะเลสาบเกรกวาร์ และฟอร์ตมักเมอร์รีย์เฟิสต์เนชัน ในวันที่ 4 พฤษภาคม 21:50 น.[18] ตามรายงาน ผู้อาศัย 88,000 คนได้อพยพออกจากเมืองแล้ว โดยไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต[3] อย่างไรก็ดี มีผู้เสียชีวิต 2 รายในอุบัติเหตุรถชนระหว่างการอพยพผู้คน[4]
เทศบาลภูมิภาควุดบัฟฟาโลได้รายงานในวันที่ 4 พฤษภาคม เวลา 4:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นว่า ชุมชนเบคอนฮิลล์, อบาแซนด์ และวอเตอร์เวส์ ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง[19] ราเชล นอตลีย์ ผู้ว่าการรัฐแอลเบอร์ตา ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ล่าสุดในช่วงเช้าของวันที่ 4 พฤษภาคม ซึ่งมีอาคาร 1,600 ถูกเผาทำลาย และในละแวกของชุมชนเบคอนฮิลล์นั้น มีบ้านพักอาศัยที่ได้รับผลกระทบถึง 600 หลังคาเรือน[2] อีกทั้งยังมีการเปิดเผยว่ามีที่ดินมากถึง 10,000 เฮกตาร์ ถูกเผาทำลายด้วยไฟป่าครั้งนี้[20] ผู้อพยพได้รับการแนะนำให้เดินทางไปทางทิศเหนือของฟอร์ตมักเมอร์รีย์ และไม่อพยพมาทางทิศใต้โดยทางหลวงหมายเลข 63 เนื่องจากไฟยังคงลุกลามและไม่สามารถควบคุมได้[19] ศูนย์สาธารณสุขบอยล์วอเตอร์แอดไวซอรีของเมืองนี้ได้แนะนำให้ออกมาจากบริเวณเมืองในเวลา 11:00 น.[2] ต่อมาในเวลา 16:05 น. ไฟได้ลุกลามในช่วงทางหลวงหมายเลข 63 ที่ตัดกับทางหลวงหมายเลข 69, ทางด้านใต้ของเมือง และสนามบินนานาชาติฟอร์ตมักเมอร์รีย์ ซึ่งมีการระงับการบินเชิงพาณิชย์แบบฉุกเฉินในวันเดียวกัน[19][21] เนื่องจากไฟที่ลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้ต้องย้ายที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการสภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเดินตั้งอยู่ใกล้กับสนามบิน[22]
ไฟป่ายังคงลุกลามอย่างต่อเนื่องทางด้านทิศใต้ในวันที่ 5 พฤษภาคม เผาทำลายพื้นที่ 85,000 เฮกตาร์ และมีการประกาศบังคับให้อพยพผู้คนเพิ่มเติมในชุมชนแอนแซก, ที่ดินบริเวณทะเลสาบเกรกวาร์ และฟอร์ตมักเมอร์รีย์เฟิสต์เนชัน ซึ่งมีผู้คนที่ยังติดค้างอยู่ถึง 8,000 คน[20][22] พื้นที่ในเทศบาลภูมิภาควุดบัฟฟาโล ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ฉุกเฉินในเวลา 10:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น[23] โดยรัฐแอลเบอร์ตาได้มีแผนที่จะอพยพผู้คนทางอากาศประมาณ 8,000 ถึง 25,000 คน ไปยังค่ายคนงานทรายน้ำมันปิโตรเลียมทางตอนเหนือของฟอร์ตมักเมอร์รีย์ ด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพอากาศแคนาดา ซึ่งใช้เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส และเครื่องบินอพยพลำอื่น ๆ ที่ให้การสนับสนุนโดยบริษัทผลิตทรายน้ำมันปิโตรเลียม โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจะตรวจสอบการอพยพบนทางหลวงหมายเลข 63 ระหว่างการอพยพคนทางอากาศ[20] โดยมีเจ้าหน้าที่ 1,100 คน, เฮลิคอปเตอร์ 45 ลำ, เครื่องจักรหนัก 138 ชิ้น และ เครื่องบินดับไฟอีก 22 ลำ สำหรับการดับไฟป่าครั้งนี้[23]
ในวันที่ 6 พฤษภาคม ตำรวจม้าแคนาดา ได้อำนวยความสะดวกเพื่อช่วยเคลื่อนย้ายรถของผู้อพยพ 1,500 คัน (50 ในเวลานั้น[24][25]) จากค่ายคนงานทรายน้ำมันปิโตรเลียมทางตอนเหนือของฟอร์ตมักเมอร์รีย์, ทางด้านใต้ตามทางหลวงหมายเลข 63 จนถึงเอดมันตัน[26] ได้มีการรายงานว่าไฟได้ลุกลามไปเกิน 100,000 เฮกตาร์ (ประมาณ 386 ตารางไมล์) แต่ลุกลามด้วยอัตราที่ลดลงจากเดิม[1][26]
การช่วยเหลือ
[แก้]ทางการรัฐแอลเบอร์ตา ได้ประกาศให้ฟอร์ตมักเมอร์รีย์เป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน และส่งคำขอความช่วยเหลือไปยังกองทัพแคนาดา[27][28] ทางรัฐบาลและกองกำลังป้องกันราชอาณาจักร ได้ออกบันทึกเพื่อทำความเข้าใจในวันที่ 4 พฤษภาคม สำหรับการขอความช่วยเหลือและการใช้เฮลิคอปเตอร์ในการปฏิบัติการช่วยเหลือ[9] ไม่นานหลังจากนั้น เครื่องบินซี-130 เฮอร์คิวลิส ขึ้นบินจากฐานทัพอากาศเทรนตัน และเฮลิคอปเตอร์อีกหลายลำ ได้บินไปช่วยเหลือยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ[29] อีกทั้งทางการรัฐแอลเบอร์ตาได้ขอความช่วยเหลือไปยังรัฐออนแทรีโอ โดยรัฐออนแทรีโอได้ส่งนักดับเพลิง 100 คน และเจ้าหน้าที่ดูแลอีก 19 คน เพื่อประสานงานผ่านศูนย์ดำเนินงานดับเพลิง[9] และได้รับการสนับสนุนจากอีกกหลายรัฐทั่วประเทศ[29] ในวันที่ 5 พฤษภาคม เครื่องบินบอมบาดิเยร์ 415 จำนวน 4 ลำ ได้ขึ้นบินเพื่อดับเพลิงจากทางอากาศ จากฐานทัพในรัฐควิเบก[30]
ผลกระทบ
[แก้]ชุมชน
[แก้]ข้อมูลล่าสุด วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 11:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น เทศบาลภูมิภาควุดบัฟฟาโลได้รายงานถึงผลกระทบของชุมชนในฟอร์ตมักเมอร์รีย์และชุมชนใกล้เคียงดังนี้:[19]
- แอนแซก – สิ่งก่อสร้าง 12 แห่งในหมู่บ้านที่ห่างประมาณ 36 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความเสียหาย
- สนามบิน – สิ่งก่อสร้างภายนอกได้รับความเสียหายเล็กน้อย, โครงสร้างหลักไม่ได้รับความเสียหาย
- อบาแซนด์ – บ้านพักอาศัยเสียหายร้อยละ 50
- เบคอนฮิลล์ – บ้านพักอาศัยเสียหายร้อยละ 70
- ดิกกินสฟีลด์ – บ้านพักอาศัยเสียหาย 2 หลัง
- ดาวน์ทาวน์ – บ้านพักอาศัยเสียหาย 1 หลัง
- ดราเพอร์ – อยู่ในการประเมินความเสียหาย
- เกรย์ลิงเทอร์เรซ – บ้านพักอาศัยเสียหาย 4 หลัง และอีก 6 หลังถูกทำลาย
- เกรกวาร์ – ไม่ได้รับความเสียหาย
- นอร์ธพาร์ซันส์ – โรงเรียนที่ยังสร้างไม่เสร็จ ได้รับความเสียหาย
- ซาไลน์ครีก – ไม่ได้รับความเสียหาย
- ซาแพรครีก – ความเสียหายประมาณร้อยละ 30 ในหมู่บ้านที่ห่างไป 11 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออก ได้รับความเสียหาย
- สโตนครีก – พื้นที่ไฟลุกลาม
- ทิมเบอร์เลีย – รถพ่วงได้รับความเสียหาย 13 คัน
- แบล็คเบิร์นไดรฟ์ – สิ่งก่อสร้าง 3 แห่งถูกไฟเผา
- วอลนัตเครสเซนต์ – สิ่งก่อสร้างประมาณ 15 แห่งถูกไฟเผา
- ธิควุด – บ้านพักอาศัยเสียหาย 1 หลัง
- วอเตอร์เวส์ – บ้านพักอาศัยเสียหายร้อยละ 90
- วุดบัฟฟาโล – บ้านพักอาศัยเสียหาย 30 หลัง
ข้อโต้แย้ง
[แก้]มีข้อโต้เถียงกันอย่างมากมายทั้งการที่ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่าครั้งนี้ โดยเฉพาะการทำอุตสาหกรรมทรายน้ำมันปิโตรเลียมของฟอร์ตมันเมอร์รีย์ในรัฐแอลเบอร์ตา บางคนไม่ต้องการที่จะถกเถียงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขณะที่บางคนก็ต้องการที่จะให้เห็นความสำคัญของไฟป่าและภาวะโลกร้อนมากขึ้น[31]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Fort McMurray wildfire continues to grow out of control". News 1130. 6 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Barkto, Karen (4 พฤษภาคม 2016). "Fort McMurray wildfire update: Roughly 1600 buildings destroyed in 'catastrophic' fire". Global News. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Tweet from Regional Municipality of Wood Buffalo". ทวิตเตอร์. Regional Municipality of Wood Buffalo. 4 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
We have successfully evacuated 88,000 people with no reports of injuries or casualties so far #ymmfire
- ↑ 4.0 4.1 "2 die in fiery crash on Highway 881 south of Fort McMurray". CBC News. 4 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Daily Data Report for May 2016". Environment Canada. 6 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Hourly Data Report for May 03, 2016". Environment Canada. 6 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Daily Data Report for May 2016". Environment Canada. 6 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Daily Data Report for May 2016". Environment Canada. 6 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Parsons, Paige (3 พฤษภาคม 2016). "Thousands flee from Fort McMurray wildfire in the largest fire evacuation in Alberta's history". Edmonton Journal. Postmedia Network. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
- ↑ McGrath, Matt (5 พฤษภาคม 2016). "'Perfect storm' of El Niño and warming boosted Alberta fires". บีบีซี. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Kahn, Brian (4 พฤษภาคม 2016). "Here's the Climate Context For the Fort McMurray Wildfire". Climate Central. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Snowdon, William (2 พฤษภาคม 2016). "Fort McMurray braces for high winds in battle with wildfire". CBC News Edmonton. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
- ↑ McDermot, Vincent; French, Janet (2 พฤษภาคม 2016). "Wildfire continues to threaten Fort McMurray neighbourhood". Edmonton Journal. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
- ↑ McDermot, Vincent; Bird, Cullen (2 พฤษภาคม 2016). "'A great day for us': Wildfire moves away from Fort McMurray as crews fight blaze". Fort McMurray Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Ivanov, Jennifer; Bartko, Karen; Heidenreich, Phil (3 พฤษภาคม 2016). "'We are in for a rough day': Fort McMurray wildfire expected to flare up Tuesday afternoon". Global News. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Wildfire destroys Fort McMurray homes, most of city evacuated". CBC News Edmonton. 3 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Wildfire Status Map, Fort McMurray Wildfire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Municipality Announces Mandatory Evacuations for Anzac, Gregoire Lake Estates and Fort McMurray First Nation". Regional Municipality of Wood Buffalo. 4 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 "Fort McMurray Wildfire Updates". Regional Municipality of Wood Buffalo. 4 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Edwards, Peter (5 พฤษภาคม 2016). "ire evacuees north of Fort McMurray to be airlifted out as 1,100 firefighters battle inferno". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016.
- ↑ McConnell, Rick (4 พฤษภาคม 2016). "'Catastrophic' Fort McMurray wildfire prompts state of emergency". CBC News. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 22.0 22.1 "Fort McMurray evacuees flee again as fire spreads: 'It's almost like it's following us'". National Post. 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 23.0 23.1 "Update 2: Fort McMurray Wildfire (May 5 at 10 a.m.)". Government of Alberta. 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "RCMP to escort northern evacuees through and out of the City - Update 2". Royal Canadian Mounted Police. 6 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Thomson, Graham (6 พฤษภาคม 2016). "No stopping, go south, and follow the RCMP: Massive convoy helps fire evacuees trapped north get through city". National Post. Postmedia News. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 26.0 26.1 "'The beast is still up': Wildfire evacuees stuck north of Fort McMurray moving south in massive RCMP convoy". National Post. 6 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Dehaas, Josh (4 พฤษภาคม 2016). "Fort McMurray fire: State of emergency declared". CTV News. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Military air assets preparing to head to Fort McMurray: source". iPolitics. 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ 29.0 29.1 Mas, Susana (4 พฤษภาคม 2016). "Trudeau says Canadians are united around Fort McMurray as federal response gets underway". CBC News. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
- ↑ "Four water bombers heading to Alberta" (ภาษาฝรั่งเศส). Radio-Canada. 5 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2016.
- ↑ Holthaus, Eric (6 พฤษภาคม 2016). "We Need to Talk About Climate Change". Slate (magazine). สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2016.