ไตรโรจน์ ครุธเวโช
ไตรโรจน์ ครุธเวโช | |
---|---|
![]() | |
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน พ.ศ. 2558 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2559 ( 0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พลโท บุณยรักษ์ พูนชัย |
ถัดไป | พลโท ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (64 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
การเข้าเป็นทหาร | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | ![]() |
พลเอก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ไตรโรจน์ ครุธเวโช (ชื่อเล่น: อ๊อด) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1]อดีตเจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก ท่านที่ 40 กรรมการในคณะกรรมการการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม , อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลอานันทมหิดล[2] (พ.ศ. 2555) , อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า [3] (ต.ค.2557)
ประวัติ[แก้]
พลเอก ไตรโรจน์ ครุธเวโช เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของ บิดา นายไตรภพ ครุธเวโช มารดา นางสะอาด ครุธเวโช
ชีวิตครอบครัว สมรสกับ แพทย์หญิง กาญจนาภรณ์ ครุธเวโช
การศึกษา จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนวัดราชาธิวาส ,โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 14 ปี 2516 (นนร.รุ่นที่ 25), และแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รุ่นที่ 84
การศึกษาเมื่อเข้ารับราชการ หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าแพทย์ รุ่นที่ 26 โรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก พ.ศ. 2533, การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2544, วิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง ชุดที่ 48 พ.ศ. 2546 , ประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. 2554
ตำแหน่งหรือราชการพิเศษ
- นายทหารประสานงานประจำ สง.หน.ศปพ.ศปก.ทบ.
- ราชองครักษ์เวร
- นายทหารพิเศษประจำกรมนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รักษาพระองค์ โรงเรียนนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2560 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2558 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2554 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5] เล่ม 128 ตอนที่ 24ข วันที่ 2 ธันวาคม 2554 หน้า41 (ลำดับที่ 211 พลตรี ไตรโรจน์ ครุธเวโช)
- พ.ศ. 2550 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6] เล่ม 124 ตอนที่ 18ข วันที่ 3 ธันวาคม 2550 หน้า77 เล่มที่2 (ลำดับที่ 104 พันเอก ไตรโรจน์ ครุธเวโช)
เหรียญจักรมาลา [7] เล่ม 112 ตอนที่ 11ข วันที่ 5 ธันวาคม 2547 (ลำดับที่ 18 พันเอก ไตรโรจน์ ครุธเวโช)
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภท 2 [8] ฉบับพิเศษ หน้า4 เล่ม 103 ตอนที่ 93 วันที่ 30 พฤษภาคม 2529 (ร้อยโท ไตรโรจน์ ครุธเวโช)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 143 ง 19 กันยายน 2555
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 176 ง 8 กันยายน 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๑ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2554
- ↑ ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี 2550
- ↑ ราชกิจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ↑ ราชกิจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน ประจำปี 2529
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- รายนามเจ้ากรมแพทย์ทหารบก รายนามเจ้ากรมแพทย์ทหารบก จากเว็บไซต์กรมแพทย์ทหารบก http://www.amed.go.th
- พล.ท.รศ.ไตรโรจน์ ครุธเวโช เจ้ากรมแพทย์ทหารบก ชีวิต เป้าหมาย และอนาคต มติชน ออนไลน์
ก่อนหน้า | ไตรโรจน์ ครุธเวโช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลโท บุณยรักษ์ พูนชัย | ![]() |
เจ้ากรมแพทย์ทหารบก/ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์ กรมแพทย์ทหารบก (1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2559) |
![]() |
พลโท ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ |