ไชนาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611
ไชนาแอร์ไลน์ B-1886 ที่ท่าอากาศยานนานาชาติโฮโนลูลูในปี 2524 | |
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 |
สรุป | การซ่อมบำรุงส่วนท้ายของลำตัวเครื่องจากการกระแทกบนรันเวย์ที่ผิดพลาด ทำให้เครื่องบินแตกเป็นเสี่ยง ๆ กลางอากาศ |
จุดเกิดเหตุ | บริเวณช่องแคบไต้หวัน |
ประเภทอากาศยาน | โบอิง 747-209B |
ดําเนินการโดย | ไชนาแอร์ไลน์ |
ทะเบียน | B-18255disaster |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ฮ่องกง |
ผู้โดยสาร | 206 |
ลูกเรือ | 19 |
เสียชีวิต | 225 |
บาดเจ็บ | 0 |
รอดชีวิต | 0 |
ไชนาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 611 (CI611) เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศในเส้นทางกรุงไทเป ประเทศไต้หวันสู่เขตการปกครองพิเศษฮ่องกง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 แต่หลังจากขึ้นบินได้เพียง 20 นาที เครื่องบินเกิดแตกเป็นเสี่ยง ๆ ก่อนตกลงสู่ทะเล ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือ 225 คนเสียชีวิตยกลำ
บ่ายวันที่ 25 พฤษภาคม เวลา 15.16 น. ตามเวลาท้องถิ่นของไต้หวัน เครื่องบิน โบอิง 747-200B เที่ยวบินที่ 611 สายการบินไชนาแอร์ไลน์ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานเจียงไคเช็ก (ปัจจุบันคือท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถาหยวน) ประเทศไต้หวัน มุ่งไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง หลังขึ้นบินได้เพียง 20 นาที เครื่องบินก็เกิดแตกเป็นเสี่ยง ๆ ก่อนชิ้นส่วนหลักจะตกลงบริเวณช่องแคบไต้หวันเมื่อเวลา 15.28 น. ตามเวลาท้องถิ่นของไต้หวัน ทั้ง 225 คนบนเครื่องเสียชีวิต เหตุการณ์นี้ถือเป็นอุบัติเหตุรุนแรงที่สุดของเครื่องในตระกูลรุ่น โบอิง 747 ในยุคปัจจุบัน
สาเหตุที่ตัวถังเครื่องกระจายตัวกลางอากาศนั้น มาจากการซ่อมบำรุงเมื่อ 22 ปีก่อน ตัวถังช่วงหางเครื่องด้านล่างมีรอยขูดขีดมากมาย อันเป็นผลจากการกระแทกขณะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติไคตั๊ก เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 เมื่อมีรอยมากขนาดนั้น แทนที่ช่างซ่อมบำรุงจะเปลี่ยนตัวถังบริเวณนั้นทั้งหมดตามที่คู่มือการซ่อมแนะนำ แต่กลับเจียรรอยขูดให้จางลงด้วยเครื่องขัด ก่อนที่จะนำแผ่นโลหะมาปะทับตัวถังส่วนนั้นไว้ โดยแผ่นที่แปะยังเล็กกว่าส่วนที่เสียหายอีกด้วย เมื่อเวลาผ่านไป ตัวเครื่องผ่านการปรับความดันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็ได้ค่อย ๆ สร้างแรงกดให้กับตัวถังส่วนนั้นจนรับไม่ไหว จึงเกิดรอยร้าวขึ้น และเมื่อรอยขยายเป็นวงกว้าง สุดท้ายจึงแตกกลางอากาศในที่สุด
นอกจากนั้นทางคณะสืบสวนยังพบด้วยว่า รอบ ๆ ตัวถังบริเวณนั้นมีคราบนิโคตินอยู่มากมาย เป็นสัญญาณว่าตัวถังส่วนนั้นมีรอยร้าว ซึ่งคราบนิโคตินเหล่านี้สะสมมาจากบุหรี่ที่ผู้โดยสารสูบบนเครื่องแล้วไหลย้อยออกมาตามรอยเมื่อความกดอากาศในเครื่องเปลี่ยน ก่อนเกิดอุบัติเหตุ สายการบินได้ออกกฎห้ามสูบบุหรี่ในเครื่องมาแล้วถึง 7 ปี จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ว่า ในตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไม่มีใครสังเกตเห็นรอยร้าวที่ชัดเจนขนาดนั้นมาก่อน เพราะถ้าเห็นคราบนิโคตินก็จะรู้ได้ทันทีว่า มีรอยร้าวเกิดขึ้น และคงไม่เหตุการณ์น่าเศร้าเช่นนี้ ความจริงแล้ว เครื่องบินลำดังกล่าวมีกำหนดจะถูกขายต่อให้กับสายการบินโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ของไทย แต่ก็มาเกิดอุบัติเหตุขึ้นเสียก่อน