ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก
Numida meleagris -Kruger National Park, South Africa-8a.jpg
ที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์, แอฟริกาใต้
Numida meleagris -Ngorongoro Conservation Area, Tanzania -upper body-8.jpg
ส่วนหัวและหงอนที่แข็งเหมือนสวมหมวกเหล็ก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ edit
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: อันดับไก่
วงศ์: Numididae
Linnaeus, 1764
สกุล: Numida
(Linnaeus, 1758)
สปีชีส์: Numida meleagris
ชื่อทวินาม
Numida meleagris
(Linnaeus, 1758)
Numida meleagris range map.png
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

Phasianus meleagris Linnaeus, 1758

ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก (อังกฤษ: helmeted guineafowl; ชื่อวิทยาศาสตร์: Numida meleagris) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ไก่ต๊อก (Numididae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Numida

ไก่ต๊อกหมวกเหล็ก มีลักษณะทั่วไปเหมือนกับไก่ต๊อกชนิดอื่น ๆ แต่บนหัวมีหงอนที่เป็นโหนกแข็งที่มีลักษณะที่เหมือนกับสวมหมวกเหล็กหรือหมวกกันน็อกอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 61 เซนติเมตร มีพฤติกรรมรวมตัวกันเป็นฝูงตั้งแต่ 10-100 ตัว หากินตามพื้นดินหรือตามทุ่งหญ้าโปร่งเท่านั้น เมื่อตกใจจะบินได้ระยะทางสั้น ๆ เพื่อขึ้นต้นไม้หรือขึ้นที่สูง โดยกินอาหารที่เป็นพืชแทบทุกชนิด ตลอดจนสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หอยทาก แมลงชนิดต่าง ๆ

ไก่ต๊อกหมวกเหล็กเป็นไก่ต๊อกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา และเป็นไก่ต๊อกชนิดที่พบเห็นได้ง่ายและแพร่กระจายพันธุ์มากที่สุด [2]

ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงไก่ต๊อกหมวกเหล็กเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม เพื่อความเพลิดเพลินใจ และยังมีการเพาะเลี้ยงเพื่อการบริโภคเนื้อและไข่เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกด้วย โดยเมื่อวางไข่ไก่ต๊อกหมวกเหล็กจะแยกตัวจากฝูงไปวางไข่เพียงตามลำพังในพงหญ้า ครั้งละ 40-50 ฟอง แม่ไก่จะดูแลลูกประมาณ 2-3 เดือน เมื่อพ้นจากนี้แล้วลูกไก่จะแข็งแรงพอที่จะเข้าฝูงหากินเองได้ ไก่ต๊อกหมวกเหล็กเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 5-7 เดือน[3]

การจำแนก[แก้]

แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ดังนี้

ชนิดย่อย N. m. sabyi
ขณะหากินกันเป็นกลุ่ม

อ้างอิง[แก้]

  1. BirdLife International (2018). "Numida meleagris". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T22679555A132052202. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22679555A132052202.en. สืบค้นเมื่อ 13 November 2021.
  2. ปองพล อดิเรกสาร. สัตว์ป่าแอฟริกา. กรุงเทพฯ : เอเรียสบุ๊คส์, 2553. 272 หน้า. หน้า 150. ISBN 978-616-90508-0-3
  3. J.S. Ferguson, Gardening with Guineas ISBN 0-7392-0250-2 Comprehensive discussion of all aspects of raising domesticated guineafowl.
  4. Duffy, David Cameron (1992). "The effectiveness of Helmeted Guineafowl in the control of the deer tick, the vector of Lyme disease" (PDF). The Wilson Bulletin. 104 (2): 342–345. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-07. สืบค้นเมื่อ 2013-12-25. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]