โอม ประกาศ ชินทัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โอ.พี. ชินทัล
รัฐมนตรีกรมพลังงาน รัฐบาลรัฐหรยาณา
ดำรงตำแหน่ง
2005–2005
เขตเลือกตั้งสภานิติบัญญัติเขตฮิสซาร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม 1930
ฮิสซาร์ ปัญจาบ บริติชอินเดีย[1]
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 2005(2005-03-31) (74 ปี)
สหรันปุระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
พรรคการเมืองคองเกรสแห่งชาติอินเดีย
คู่สมรสสาวิตรี ชินทัล
บุตร4 (ปฤถวี ราช ชินทัล, นวีน ชินทัล, สัชชัน ชินทัล และ รัตนะ ชินทัล)
ที่อยู่อาศัยฮิสซาร์

โอม ประกาศ ชินทัล (อักษรโรมัน: Om Prakash Jindal, 7 สิงหาคม 1930 – 31 มีนาคม 2005) หรือเป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อ โอ.พี. ชินทัล (อักษรโรมัน: O.P. Jindal) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวอินเดีย เกิดที่เมืองฮิสซาร์ รัฐหรยาณา เขาประสบความสำเร็จในทางธุรกิจจากการก่อตั้งบริษัทเหล็กกล้าและพลังงานชินทัล เขาได้รับรางวัล "ความสำเร็จแห่งช่วงชีวิต" (Life Time Achievement Award) ในเดือนพฤศจิกายน 2004 โดยหอการค้าและอุตสาหกรรมเบงกอลจากส่วนร่วมในการพัฒนากิจการอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและพลังงาน ในรายชื่อปี 2005 ของฟอบส์ ก่อนเขาเสียชีวิต เขาเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 13 ของอินเดีย และ 548 ของโลก[2] ชินทัลเสียชีวิตในเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม[1] อินเดียไทมส์เรียกขานเขาว่าเป็น "ชายผู้พูดคุยกับเครื่องจักรได้"[1]

ชิลทัลได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกรมพลังงานในรัฐบาลรัฐหรยาณาและดำรงตำแหน่งนี้จนเสียชีวิต เขายังชนะการเลือกตั้งเป็นผู้แทนเขตเลือกตั้งฮิสซาร์ในสภานิติบัญญัติรัฐหรยาณาสามสมัยติดต่อกันนับตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2005 รวมถึงยังเป็นสมาชิกของคณะกรรมการการกระจายสาธารณะ อาหาร และสิ่งจำเป็นแก่พลเมือง

เขาเป็นประธานคณะกรรมการของทรัสต์การกุศล เอ็น.ซี. ชินทัล (N.C. Jindal Charitable Trust), เป็นผู้อุปถัมภ์ของอโครหะวิกาส ทรัสต์ (Agroha Vikas Trust) และวิทยาลัยแพทยศาสตร์อโครหะ (Agroha Medical College)

เขามีบุตรรวมสี่คน คือ ปฤถวีราช ชินทัล (Prithviraj Jindal), สัชชัน ชินทัล, รัตนะ ชินทัล (Ratan Jindal) และ นวีน ชินทัล ซึ่งสืบทอดธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็กกล้าของเขา ภรรยาหม้ายของเขา สาวิตรี ชินทัล เป็นรัฐมนตรีกรมรายรับ, กรมบริหารจัดการอุบัติภัย, กรมกิจการฟื้นฟู และกรมกิจการที่อยู่อาศัย ประจำรัฐบาลของรัฐหรยาณา[3] ส่วนนวีนเป็นสมาชิกในรัฐบาลอินเดีย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "O P Jindal: Man Who Could Talk To Machines, The Inspiring Story Of India's Original Steel Tycoon". IndiaTimes (ภาษาIndian English). 2021-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
  2. "From farmer's son to billionaire industrialist". www.rediff.com. 2005-03-31. สืบค้นเมื่อ 2021-12-30.
  3. Savitri Jindal, A Jain Devotee From Terapanth Sector Declared the Richest Woman in India "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2009.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]