โรเบิร์ต บุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรเบิร์ต บุย
เกิด สหรัฐ
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลUNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation
ผลงานสำคัญ

โรเบิร์ต บุย (อังกฤษ: Robert G. Boughey, หรือที่รู้จักในชื่อ โรเบิร์ต จี. บุย) เป็นสถาปนิกสัญชาติอเมริกัน จากรัฐเพนซิลเวเนีย เป็นที่รู้จักในนามผู้ก่อตั้งบริษัทสถาปนิกโรเบิร์ต จี บุย แอนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด อดีตอาจารย์วิจัยประจำสถาบันแพร็ทต์ โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคการออกแบบในเขตภูมิภาคร้อนชื้นและตะวันออกกลาง (ค.ศ. 1969)[1][2] เขาจบปริญญาตรีจากสถาบันแพรตต์ (Pratt Institute) ในปี ค.ศ. 1959 และไปศึกษาต่อในด้านงานออกแบบเขตร้อนที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (AA) ณ กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1967

งานออกแบบส่วนใหญ่ของเขา มักเป็นงานโมเดิร์นในเขตภูมิภาคร้อนชื้น หรือที่เรียกว่า Tropical Zone ทั้งในประเทศไทย และประเทศบังกลาเทศ โดยเป็นทั้งงานออกแบบอาคารพาณิชย์ สถานีรถไฟ หอศิลปะ เป็นต้น ปัจจุบันเขามีสำนักงานออกแบบในประเทศไทย มีผลงานที่มีชื่อเสียงหลายแห่งในประเทศไทย เช่น สยามดิสคัฟเวอรี (ภายนอกแบบเก่า) อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และผลงานที่มีชื่อเสียงในบังกลาเทศ เช่น สถานีรถไฟกามาลาปูร์ เป็นต้น

งานเด่น[แก้]

รางวัล[แก้]

  • UNESCO Asia-Pacific Awards for Cultural Heritage Conservation[3]

อ้างอิง[แก้]