โรซีคนตอกหมุด
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โรซีคนตอกหมุด (อังกฤษ: Rosie the Riveter) เป็นไอคอนทางวัฒนธรรมของสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงที่ทำงานในโรงงานและอู่ต่อเรือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองซึ่งหลายคนผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์สงคราม[1] ผู้หญิงบางคนเหล่านี้บางครั้งได้รับงานใหม่ทั้งหมดแทนที่ชายที่ทำงานร่วมกับทหาร โรซีคนตอกหมุดถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของคตินิยมสิทธิสตรีในสหรัฐและอำนาจทางเศรษฐกิจของผู้หญิง[1] ภาพที่คล้ายกันของผู้หญิงที่ทำงานในสมัยสงครามได้ปรากฏตัวขึ้นในประเทศอื่น ๆ เช่นอังกฤษ ออสเตรเลีย ภาพของแรงงานหญิงเป็นที่แพร่หลายในสื่อมวลชนและการโฆษณาเชิงพาณิชย์โดยรัฐบาล เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงอาสาเข้าทำงานในโรงงานในช่วงสงคราม[2] โรซีคนตอกหมุด กลายเป็นชื่อเรื่อง และชื่อเพลง และถูกสร้างเป็นหนังฮอลลีวูดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย
ประวัติ
[แก้]แรงงานหญิงในช่วงสงคราม
[แก้]เนื่องจากสงครามโลกเป็นสงครามเบ็ดเสร็จที่ทำให้รัฐบาลต้องใช้ประโยชน์จากประชากรทั้งหมดของตนเพื่อจุดประสงค์ในการเอาชนะศัตรูของพวกเขา ผู้หญิงนับล้านคนได้รับการสนับสนุนให้ทำงานในอุตสาหกรรมและเข้ารับงานที่เมื่อก่อนทำโดยผู้ชาย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งผู้หญิงทั่วประเทศสหรัฐอเมริกาถูกว่าจ้างในงานที่ก่อนหน้านี้ทำโดยผู้ชาย สงครามโลกครั้งที่สองมีความคล้ายคลึงกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในการเกณฑ์ผู้ชายไปเป็นทหารซึ่งนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานที่มีอยู่และทำให้มีความต้องการแรงงานซึ่งแก้ไขได้ด้วยการจ้างผู้หญิงเท่านั้น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองผู้หญิงเกือบ 19 ล้านคนมีงานทำ ผู้หญิงหลายคนทำงานอยู่แล้วแต่ได้ค่าแรงต่ำกว่าหรือกลับไปทำงานหลังจากที่ถูกปลดออกในช่วงความตกต่ำทางเศรษฐกิจ มีแรงงานหญิงราวสามล้านคนเข้ามาทำงานในช่วงสงคราม[3] แม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะเข้าทำงานของผู้ชายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พวกเขาก็ถูกคาดหวังว่าจะกลับไปทำงานบ้าน หลังจากที่ผู้ชายกลับมาจากสงคราม แคมเปญของรัฐบาลจะมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิงโดยเฉพาะแม่บ้านซึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงที่ทำงานไปแล้วจะย้ายไปทำงานที่ "จำเป็น" ที่ได้รับค่าแรงสูงกว่าด้วยตัวเอง[4] หรืออาจเป็นเพราะสันนิษฐานว่าส่วนใหญ่จะเป็นแม่บ้าน[5] โฆษณาของรัฐบาลหนึ่งฉบับถามผู้หญิงว่า "คุณสามารถใช้เครื่องผสมไฟฟ้าได้หรือไม่ ถ้าใช่คุณก็สามารถเรียนรู้การใช้สว่านได้"[6]: 160 การโฆษณาชวนเชื่อก็ได้มุ่งเน้นไปที่สามี เพราะพวกเขาหลายคนไม่เต็มใจที่จะสนับสนุนงานดังกล่าว[7] ผู้หญิงหลายคนที่รับงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นมารดา ผู้หญิงที่มีลูกที่บ้านจะรวมตัวกันในความพยายามที่จะเลี้ยงดูครอบครัว พวกเขารวมตัวกันเป็นกลุ่มและแบ่งงานกัน เช่น การทำอาหาร ทำความสะอาดและซักเสื้อผ้า หลายคนที่มีเด็กเล็กจะอยู่ร่วมอะพาร์ตเมนท์หรือบ้านเดียวกันเพื่อให้พวกเขาสามารถประหยัดเวลา เงินสาธารณูปโภค และอาหาร หากทั้งสองทำงาน พวกเขาจะทำกะที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเปลี่ยนกันเลี้ยงดูลูก ๆ การทำงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ไม่แน่ใจว่า พวกเขาควรจะสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นแม่บ้านแบบเต็มเวลาหรือสนับสนุนให้พวกเขาได้รับงานเพื่อสนับสนุนประเทศในช่วงเวลาที่ต้องการนี้ ความสามารถในการสนับสนุนทหารโดยการผลิตของที่แตกต่างกันทำให้สตรีรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จและภาคภูมิใจในงานของตน ผู้หญิงกว่า 6 ล้านคนได้งานทำในช่วงสงคราม คนอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา คนลาตินอเมริกา คนขาว และคนเอเชียต่างทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กัน[8]
ในปี ค.ศ. 1944 เมื่อชัยชนะดูเหมือนจะอยู่ไม่ไกลสำหรับสหรัฐอเมริกา โฆษณาชวนเชื่อที่รัฐบาลสนับสนุนได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยกระตุ้นให้ผู้หญิงกลับไปทำงานในบ้าน ต่อมาผู้หญิงจำนวนมากกลับมาทำงานแบบดั้งเดิม เช่น ตำแหน่งธุรการ แม้พวกเธอจะไม่อยากกลับเข้าทำงานที่ได้เงินที่น้อยก็ตาม[9] อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางส่วนก็ยังทำงานในโรงงานเปอร์เซ็นต์โดยรวมของผู้หญิงที่ทำงานลดลงจากร้อยละ 36 เป็นร้อยละ 28 ในปี ค.ศ. 1947[10]
เพลง
[แก้]วลี "Rosie the Riveter" ใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1942 ในเพลงที่มีชื่อเดียวกัน แต่งโดย Redd Evans และ John Jacob Loeb เพลงนี้ได้รับการบันทึกโดยศิลปินมากมายรวมถึงหัวหน้าวงดนตรีดัง Kay Kyser และกลายเป็นเพลงยอดนิยมระดับชาติ[11] เพลงกล่าวถึงโรซี ผู้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเป็นผู้ประกอบซึ่งได้รับตรายอดเยี่ยม "Production E" ในช่วงสงครามของชาวอเมริกัน[12]
ชื่อนี้เป็นชื่อเล่นของโรซี โบนาวิต้าที่กำลังทำงานอยู่ที่คอนแวร์ในซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[13][14][15]
ผลกระทบและหลังสงคราม
[แก้]ตามสารานุกรมประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอเมริกัน โรซีคนตอกหมุดเป็นแรงบันดาลใจให้การขับเคลื่อนทางสังคมที่เพิ่มจำนวนผู้หญิงอเมริกันที่ทำงานจาก 12 ล้านเป็น 20 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 1944 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57 จากปี ค.ศ. 1940 ในปี ค.ศ. 1944 ผู้ชายเพียง 1.7 ล้านคนที่ไม่ได้สมรส วัย 20 ถึง 34 ปีทำงานในอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ในขณะที่ผู้หญิง 4.1 ล้านคนที่ไม่ได้สมรสในวัยเดียวกันทำงาน[16] ผู้หญิงเหล่านี้ได้พิสูจน์ตัวเอง (และประเทศ) ว่าพวกเขาสามารถทำ "งานของผู้ชาย" และสามารถทำมันได้ดี[17]ในปี ค.ศ. 1942 ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม ประมาณการสัดส่วนของงานที่จะเป็นที่ยอมรับของผู้หญิงจากนายจ้างเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 85[17]
ผู้หญิงตอบสนองต่อโรซีคนตอกหมุดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเชื่อว่าพวกเขามีหน้าที่ที่ต้องทำมนฐานะคนรักชาติ บางคนอ้างว่าเธอเปิดโอกาสทำงานสำหรับผู้หญิง แต่คนอื่น ๆ โต้แย้งประเด็นนี้ โดยสังเกตว่าหลังสงครามผู้หญิงหลายคนต้องออกจากงานและงานถูกส่งกลับไปยังผู้ชาย[18] นักวิจารย์อ้างว่าเมื่อสงครามจบลง ผูหญิงส่วนใหญ่จะกลับไปทำงานบ้านหรืองานเลขา[19] บางคนเชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่สองเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของผู้หญิง ในขณะที่นักประวัติศาสตร์หลายคนเน้นย้ำว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวและทันทีหลังสงครามจบลง ผู้หญิงคงกลับไปทำหน้าที่ภรรยาและแม่ บางคนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงที่สงครามนำพามาเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของสตรี[20]
เอลินอร์ ออตโต หรือที่เรียกว่า "โรซีคนตอกหมุดคนสุดท้าย" สร้างเครื่องบินมา 50 ปีแล้วและเกษียณเมื่ออายุได้ 95 ปี[21]
โปสเตอร์ของบริษัทเวสติงเฮาส์
[แก้]ในปี ค.ศ. 1942 ศิลปินจากพิตส์เบิร์ก เจ โฮเวิร์ด มิลเลอร์ได้รับการว่าจ้างจากคณะกรรมการประสานงาน บริษัทเวสติงเฮาส์ เพื่อสร้างชุดโปสเตอร์สำหรับสงคราม หนึ่งในโปสเตอร์ที่โด่งดังมากได้แก่ ภาพ "วีแคนดูอิต !" ภาพที่ในปีต่อมาถูกเรียกว่า "โรซีคนตอกหมุด" แม้ว่าจะไม่ได้มีชื่อเรียกเช่นนี้ในช่วงสงคราม โดยคาดว่ามิลเลอร์ได้แรงบันดาลใจมากจากภาพจริงของคนงานสงคราม เนโอมี พาร์กเกอร์ (ภายหลัง ฟาร์เลย์) ถ่ายที่ Alameda Naval Air Station ในแคลิฟอร์เนีย[22][23][24][25] ในช่วงสงครามชื่อ "โรซี" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาพและวัตถุประสงค์ของโปสเตอร์ก็ไม่ได้เป็นการรับสมัครแรงงานหญิง แต่เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่สร้างแรงบันดาลใจในซึ่งมุ่งเป้าไปที่คนงานทั้งสองเพศที่ทำงานที่เวสติงเฮาส์ ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 โปสเตอร์ก็ถูกค้นพบอีกครั้งและมีชื่อเสียง เกี่ยวข้องกับคตินิยมสิทธิสตรีและมักถูกเรียกว่า "โรซีคนตอกหมุด"[26][27][28][29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Switky, W. Raymond Duncan, Barbara Jancar-Webster, Bob (2008). World Politics in the Twenty-first Century Brief (Student choice ed.). Boston: Houghton Mifflin College Div. p. 268. ISBN 978-0-547-05634-0.
- ↑ Tawnya J. Adkins Covert, Manipulating Images: World War II Mobilization of Women through Magazine Advertising (2011)
- ↑ Keene, Jennifer; Cornell, Saul; O'Donnell, Edward (2013). Visions of America, A History of the United States (2 ed.). Pearson Education Inc. pp. 697–698. ISBN 9780205092666.
- ↑ Leila J. Rupp, Mobilizing Women for War, p 142, ISBN 0-691-04649-2
- ↑ Maureen Honey, Creating Rosie the Riveter: Class, Gender and Propaganda during World War II, p 24, ISBN 0-87023-453-6
- ↑ Kennett, Lee (1985). For the duration... : the United States goes to war, Pearl Harbor-1942. New York: Scribner. ISBN 0-684-18239-4.
- ↑ Emily Yellin, Our Mothers' War, p 45 ISBN 0-7432-4514-8
- ↑ "We Can Do It!". connection.ebscohost.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-29.
- ↑ Maureen Honey, Creating Rosie the Riveter: Class, Gender and Propaganda during World War II, p 23, ISBN 0-87023-453-6
- ↑ Keene, Jennifer; Cornell, Saul; O'Donnell, Edward (2013). Visions of America, A History of the United States (2 ed.). Pearson Education Inc. p. 698. ISBN 9780205092666.
- ↑ Marcano, Tony (June 2, 1997). "Famed Riveter In War Effort, Rose Monroe Dies at 77". The New York Times.
- ↑ "Rosie the Riveter: Real Women Workers in World War II". Journeys and Crossings. Library of Congress. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 9, 2009. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 8, 2009.
- ↑ Sickels, Robert (2004). The 1940s. Greenwood Publishing Group. p. 48. ISBN 9780313312991. สืบค้นเมื่อ 5 February 2013.
- ↑ Young, William H.; Young, Nancy K. (2010). World War II and the Postwar Years in America: A Historical and Cultural Encyclopedia, Volume 1. ABC-CLIO. p. 606. ISBN 9780313356520. สืบค้นเมื่อ 5 February 2013.
- ↑ Ambrose, Stephen E. (2001). The Good Fight: How World War II Was Won. Simon and Schuster. p. 42. ISBN 9780689843617. สืบค้นเมื่อ 5 February 2013.
- ↑ Starr, Kevin (2003). Embattled Dreams: California in War and Peace, 1940–1950. Oxford University Press. p. 129. ISBN 0-19-516897-6.
- ↑ 17.0 17.1 Ware, Susan. Modern American Women: A Documentary History. 2nd edition. Boston: McGraw-Hill, 2002.
- ↑ Lapsansky-Werner, Emma J. United States History: Modern America. Boston, MA: Pearson Learning Solutions, 2011. Print. Pg 361 - 362
- ↑ Maureen Honey, Creating Rosie the Riveter: Class, Gender, and Propaganda during World War II. Amherst. University of Massachusetts Press. 1984
- ↑ Liftoff, Judy. Rosie the Riveter. Americans at War Ed. John Resch. Vol. 3. Detroit: Macmillan Reference USA, 2005. 171–174. 4 vols. Gale Virtual Reference Library. Gale Pepperdine University SCLEC April 13, 2010
- ↑ Nittle, Nadra (25 October 2014). "'Last Rosie the Riveter,' Elinor Otto of Long Beach, to be honored". presstelegram.com. Press-Telegram: Veteran Affairs. สืบค้นเมื่อ 31 March 2015.
- ↑ Fox, Margalit (January 22, 2018). "Naomi Parker Fraley, the Real Rosie the Riveter, Dies at 96". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 22, 2018.
- ↑ "Pretty Naomi Parker is as easy to look at as overtime pay on the... News Photo | Getty Images". www.gettyimages.com. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.
- ↑ "Museum Collections, U.S. National Park Service -". museum.nps.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
- ↑ "Naomi Parker Fraley". www.naomiparkerfraley.com. สืบค้นเมื่อ 2016-03-01.
- ↑ Sharp, Gwen; Wade, Lisa (January 4, 2011). "Sociological Images: Secrets of a feminist icon" (PDF). Contexts. 10 (2): 82–83. ISSN 1536-5042. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-28.
- ↑ "'Rosie the Riveter' is not the same as 'We Can Do It!'". Docs Populi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ January 23, 2012. Excerpted from: Cushing, Lincoln; Drescher, Tim (2009). Agitate! Educate! Organize!: American Labor Posters. ILR Press/Cornell University Press. ISBN 0-8014-7427-2.
- ↑ Kimble, James J.; Olson, Lester C. (Winter 2006). "Visual Rhetoric Representing Rosie the Riveter: Myth and Misconception in J. Howard Miller's 'We Can Do It!' Poster". Rhetoric & Public Affairs. 9 (4): 533–569.
- ↑ Bird, William L.; Rubenstein, Harry R. (1998). Design for Victory: World War II posters on the American home front. Princeton Architectural Press. p. 78. ISBN 1-56898-140-6.
แหล่งที่มา
[แก้]- Bourke-White, Margaret. "Women In Steel: They are Handling Tough Jobs In Heavy Industry". Life. August 9, 1943.
- Bowman, Constance. Slacks and Calluses – Our Summer in a Bomber Factory. Smithsonian Institution. Washington D.C. 1999. ISBN 1560983876
- Bornstein, Anna 'Dolly' Gillan. Woman Welder/ Shipbuilder in World War II. Winnie the Welder History Project. Schlesinger Library, Radcliffe College. February 16, 2005.
- Campbell, D'Ann. Women at War with America: Private Lives in a Patriotic Era (Harvard University Press: 1984) ISBN 0674954750
- Herman, Arthur. Freedom's Forge: How American Business Produced Victory in World War II, Random House, New York, 2012. ISBN 978-1-4000-6964-4.
- Knaff, Donna B. Beyond Rosie the Riveter: Women of World War II in American Popular Graphic Art (University Press of Kansas; 2012) 214 pages; excerpt and text search ISBN 9780700619665 OCLC 892062945
- Parker, Dana T. Building Victory: Aircraft Manufacturing in the Los Angeles Area in World War II, Cypress, CA, 2013. ISBN 978-0-9897906-0-4.
- Regis, Margaret. When Our Mothers Went to War: An Illustrated History of Women in World War II. Seattle: NavPublishing, 2008. ISBN 978-1-879932-05-0.
- "Rosie the Riveter" Redd Evans and John Jacob Loeb. Paramount Music Corporation, 1942.
- Rosie the Riveter Collection, Rose State College, Eastern Oklahoma Country Regional History. Center. [Rosie the Riveter Collection, Rose State College] March 16, 2003.
- Ware, Susan. Modern American Women A Documentary History. McGraw-Hill:2002.184.
- Wise, Nancy Baker and Christy Wise. A Mouthful of Rivets: Women at Work in World War II. San Francisco: Jossey-Bass Publishers, 1994.
- Regional Oral History Office / Rosie the Riveter / WWII American Homefront Project The Regional Oral History Office at the Bancroft Library of the University of California, Berkeley features a collection of over 200 individual oral history interviews with men and women who worked on the home front during World War II.