โรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง
โรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง | |
---|---|
12-15 โยงะ 1-โชเมะ เขตเซตางายะ โตเกียว 158-0097 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น | |
ข้อมูล | |
ประเภท | โรงเรียนนานาชาติ |
คำขวัญ | ศรัทธาจนถึงที่สุด (Ad Finem Fidelis) |
สถาปนา | ค.ศ. 1949 |
ผู้ก่อตั้ง | มาริอา อาซุนซิออน เลกูบาร์ริ อี เด อาร์ริ |
เขตการศึกษา | เขตเซตางายะ โตเกียว |
ผู้อำนวยการโรงเรียน | คอเลตต์ โรเจอส์ |
ระดับชั้น | เค-12 |
จำนวนนักเรียน | 705 คน |
สี | มะรูน และกรมท่า |
สัญลักษณ์ | ฟีนิกซ์ |
สังกัด | คาทอลิก |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ทางการของโรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง |
โรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง (ญี่ปุ่น: 清泉インターナショナルスクール; อังกฤษ: Seisen International School; อักษรย่อ: SIS) เป็นโรงเรียนคาทอลิก[1] หญิงล้วน[2] ที่ตั้งอยู่ในเขตเซตางายะ[3] โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนักศึกษาและคณาจารย์จากกว่าหกสิบประเทศเป็นตัวแทนอยู่ที่เซเซ็ง โดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสอน โรงเรียนนี้เปิดสอนหลักสูตรหลักสูตรการศึกษาระดับประกาศนียบัตรนานาชาติสำหรับเกรด 11 และ 12[3] ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี, สมาคมโรงเรียนและวิทยาลัยแห่งนิวอิงแลนด์ และสภาโรงเรียนนานาชาติ[3] โรงเรียนนี้มีการสอนชั้นอนุบาลแบบมอนเตสซอรี (สหศึกษา อายุ 2–6 ขวบ) และเกรด 1–12 (เฉพาะเด็กผู้หญิง อายุ 6–18 ปี)[3]
ตามที่กูดสกูลส์ไกด์อินเตอร์เนชันแนลระบุ "โรงเรียนดังกล่าวได้รับความนิยม และมีชื่อเสียงดี"[4]
จากคำกล่าวของอันเน-มาริเอ เด เมฆิอา โรงเรียนนานาชาติเซเซ็งได้จัดให้มีการแนะแนวทางคริสเตียนโดยเฉพาะในหลักสูตรต่าง ๆ[1]
ประวัติ
[แก้]โรงเรียนนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1949 โดยซิสเตอร์ มาริอา อาซุนซิออน เลกูบาร์ริ จากคณะนักบวชคาทอลิก สาวรับใช้แห่งพระหฤทัยของพระเยซู[3] เพื่อตอบสนองต่อคำร้องขอจากครอบครัวกองทัพอากาศสหรัฐ ที่ต้องการการศึกษาสำหรับบุตรหลานของตน โรงเรียนดังกล่าวได้เริ่มในฐานะโรงเรียนอนุบาลใน ค.ศ. 1949 โดยมีนักเรียนชาวอเมริกันสี่คน ซึ่งได้ย้ายไปโกตันดะใน ค.ศ. 1962 โดยมีนักเรียน 70 คน และเพิ่มชั้นเกรดหนึ่งเข้าไป เมื่อถึง ค.ศ. 1970 โรงเรียนได้ตั้งจนถึงเกรด 9 และใน ค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นหนึ่งปีหลังจากที่เซเซ็งย้ายไปที่ตำแหน่งปัจจุบันในโยงะ โรงเรียนได้ขยายให้รวมถึงเกรด 12[5]
ทั้งนี้ สารบบโรงเรียนนานาชาติ ของสภาโรงเรียนนานาชาติ 2009/10 ระบุว่าเซเซ็งมีนักเรียนประมาณ 700 คนจาก 60 ประเทศ[3]
ภาพรวมวิทยาเขต
[แก้]โรงเรียนนี้มีห้องเรียนทั่วไป 35 ห้อง, ห้องเด็กเล่นในร่ม 3 ห้อง, ห้องเอนกประสงค์ และห้องโถงชั้นอนุบาล สิ่งอำนวยความสะดวกยังรวมถึงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สามห้อง (สำหรับวิชาชีววิทยา, เคมี และฟิสิกส์) โรงอาหาร, ห้องละคร, ห้องดนตรี, ห้องศิลปะ, ห้องเครื่องปั้นดินเผา, ศูนย์สื่อ และศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยห้องเรียนคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่, ห้องแล็บคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ให้บริการทั้งในระหว่างและหลังเลิกเรียน รวมถึงห้องเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนมีห้องพยาบาล และพยาบาลประจำการ สิ่งอำนวยความสะดวกยังรวมถึงอาคารคอนแวนต์และโบสถ์ กระทั่งใน ค.ศ. 2013 ได้มีการเพิ่มสนามฟุตซอลแห่งใหม่เพื่อขยายวิทยาเขตเซเซ็ง ตลอดจนให้โอกาสเพิ่มเติมสำหรับการออกกำลังกาย รวมทั้งชั้นเรียนพละและกิจกรรมนอกหลักสูตร
ห้องสมุดของโรงเรียนรวมกันมีการเก็บรวบรวมมากกว่า 18,000 เล่ม รวมถึงสมัครรับวารสาร 65 ฉบับ และหนังสือพิมพ์ 6 ฉบับ ส่วนศูนย์สื่อประกอบด้วยฟิล์มสตริป, บันทึกเทป, ตลัปเทป, แผนที่ แผ่นใส และอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา ได้แก่ สนามเทนนิส, สนามเด็กเล่นสามแห่ง, พื้นที่เล่นของโรงเรียนอนุบาล (พร้อมกระบะทราย และเครื่องเล่น) และโรงยิมขนาดเต็มพร้อมห้องล็อกเกอร์ ส่วนสระว่ายน้ำที่โรงเรียนนานาชาติเซนต์แมรีใช้สำหรับทีมว่ายน้ำ
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ฮิการุ อูตาดะ - นักร้องเพลงป็อปหญิงชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง ซึ่งต่อมาได้ย้ายไปเรียนที่อเมริกันสกูลอินเจแปน
- ซีแอล - นักร้องเพลงป็อปหญิงชาวเกาหลีที่มีชื่อเสียงจากวงทูเอนีวัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Anne-Marie De Mejía (2002). Power, Prestige, and Bilingualism: International Perspectives on Elite Bilingual Education. Multilingual Matters. p. 190. ISBN 978-1-85359-590-5. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
- ↑ Alan Stephen (23 July 2008). Immigration To Japan. Lulu.com. p. 27. ISBN 978-1-4357-4431-8. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 The Council of International Schools (October 2009). CIS International Schools Directory 2009/10. John Catt Educational Ltd. p. 284. ISBN 978-1-904724-68-1. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.
- ↑ http://www.gsgi.co.uk/countries/japan/tokyo/seisen-international-school?form.submitted=1&country=japan&countryCity=&submit=Go&city=
- ↑ JEFFS, ANGELA. "New broom sweeps Seisen into the 21st century". The Japan Times. Kabushiki Kaisha Japan Taimuzu. สืบค้นเมื่อ 18 June 2012.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- โรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง ที่เฟซบุ๊ก
- โรงเรียนนานาชาติเซเซ็ง ที่อินสตาแกรม
- "Seisen International School". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2015. at the Good Schools Guide International