โรคระบาดยุสตินิอานุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคระบาดยุสตินิอานุส
โรคกาฬโรค (กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง)
สถานที่บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน, ยุโรป, ตะวันออกใกล้
วันที่ค.ศ. 541–549
เสียชีวิตไม่ทราบ
นักบุญเซบาสเตียนขอต่อพระเยซูให้แก่ผู้ขุดหลุมฝังศพที่ทรมานจากกาฬโรคของโรคระบาดยุสตินิอานุส (Josse Lieferinxe, ป. 1497–1499)
เชื้อ Yersinia pestis ก่อให้เกิดการตายเฉพาะส่วนที่มือ (ภาพจากเหยื่อกาฬโรคใน ค.ศ. 1975)

โรคระบาดยุสตินิอานุส (อังกฤษ: Plague of Justinian; ค.ศ. 541–549) เป็นการระบาดครั้งใหญ่ครั้งแรกของโรคระบาดทั่วครั้งแรก และโรคระบาดทั่วของกาฬโรคในโลกเก่าครั้งแรก โรคติดต่อนี้มีที่มาจากแบคทีเรียสายพันธุ์ Yersinia pestis โรคนี้แพร่เชื้อไปทั่วบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน, ยุโรป และตะวันออกใกล้ ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อจักรวรรดิซาเซเนียนและจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยเฉพาะเมืองหลวงคอนสแตนติโนเปิล[1][2][3] กาฬโรคนี้ตั้งชื่อตามจักรพรรดิยุสตินิอานุสที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 527–565) จักรพรรดิไบแซนไทน์ในคอนสแตนติโนเปิลที่Procopius นักประวัติศาสตร์ในราชสำนักรายงานว่าพระองค์ติดเชื้อและหายจากโรคนี้ใน ค.ศ. 542 ซึ่งอยู่ในช่วงสูงสุดที่ฆ่าประชากรในเมืองหลวงประมาณหนึ่งส่วนห้า[1][2] โรคติดต่อเดินทางมาถึงอียิปต์ของโรมันใน ค.ศ. 541 แล้วแพร่ไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึง ค.ศ. 544 และยังคงมีอยู่ในยุโรปเหนือและคาบสมุทรอาหรับจนถึง ค.ศ. 549[1]

ใน ค.ศ. 2013 นักวิจัยยืนยันความคิดแรกที่ว่าสาเหตุของโรคระบาดยุสตินิอานุสมาจาก Yersinia pestis แบคทีเรียเดียวกันที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกาฬมรณะ (ค.ศ. 1347–1351)[4][5] สายพันธุ์ Yersinia pestis ในสมัยโบราณและสมัยใหม่มีความคล้ายกับบรรพบุรุษของสายพันธุ์โรคระบาดยุสตินิอานุสที่พบในเทียนชาน เทือกเขาในชายแดนประเทศคีร์กีซสถาน, คาซัคสถาน และจีน ซึ่งกล่าวแนะว่าโรคระบาดยุสตินิอานุสมีต้นกำเนิดในหรือใกล้บริเวณนี้[6][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Stathakopoulos, Dionysios (2018), "Plague, Justinianic (Early Medieval Pandemic)", The Oxford Dictionary of Late Antiquity (ภาษาอังกฤษ), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780198662778.001.0001, ISBN 978-0-19-866277-8, สืบค้นเมื่อ 2020-05-16
  2. 2.0 2.1 Arrizabalaga, Jon (2010), Bjork, Robert E. (บ.ก.), "plague and epidemics", The Oxford Dictionary of the Middle Ages (ภาษาอังกฤษ), Oxford University Press, doi:10.1093/acref/9780198662624.001.0001, ISBN 978-0-19-866262-4, สืบค้นเมื่อ 2020-05-16
  3. Floor, Willem (2018). Studies in the History of Medicine in Iran. Costa Mesa, California: Mazda Publishers. p. 3. ISBN 978-1933823942. The Justinian plague (bubonic plague) also attacked the Sasanian lands.
  4. "Modern lab reaches across the ages to resolve plague DNA debate". phys.org. May 20, 2013.
  5. Maria Cheng (January 28, 2014). "Plague DNA found in ancient teeth shows medieval Black Death, 1,500-year pandemic caused by same disease". National Post.
  6. Eroshenko, Galina A.; และคณะ (October 26, 2017). "Yersinia pestis strains of ancient phylogenetic branch 0.ANT are widely spread in the high-mountain plague foci of Kyrgyzstan". PLOS ONE. 12 (10): e0187230. Bibcode:2017PLoSO..1287230E. doi:10.1371/journal.pone.0187230. PMC 5658180. PMID 29073248.
  7. Damgaard, Peter de B.; และคณะ (May 9, 2018). "137 ancient human genomes from across the Eurasian steppes". Nature. 557 (7705): 369–374. Bibcode:2018Natur.557..369D. doi:10.1038/s41586-018-0094-2. PMID 29743675. S2CID 13670282.

ข้อมูล[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]