การทัพนิวกินี
การทัพนิวกินี | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ เขตสงครามแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
กองทัพออสเตรเลียได้เข้าโจมตีตำแหน่งของญี่ปุ่นใกล้กับบูนา | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
กำลัง | |||||||
350,000[3] | |||||||
|
การทัพนิวกินี ของสงครามแปซิฟิก ได้ยืดเยื้อตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1942 จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงระยะแรกในปี ค.ศ. 1942 จักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกครองดินแดนภายใต้การปกครองของออสเตรเลียคือนิวกินีภายใต้อาณัติ (23 มกราคม) และปาปัว (8 มีนาคม) และเข้ารุกรานนิวกินีตะวันตก (เริ่มต้นวันที่ 29/30 มีนาคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ในช่วงระยะที่สอง ได้ยืดเยื้อตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1942 จนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนน ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งประกอบด้วยกองทัพออสเตรเลีย-สหรัฐเป็นหลัก ขับไล่ญี่ปุ่นออกจากปาปัวก่อน ตามมาด้วยดินแดนอาณัติ และสุดท้ายออกจากอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์
การทัพครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความพ่ายแพ้อย่างรุนแรงและสูญเสียอย่างหนักสำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่น ในขณะที่การทัพสงครามแปซิฟิกส่วนใหญ่ โรคภัยและความอดอยากซึ่งได้มีการกล่าวอ้างว่าได้คร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากกว่าการปฏิบัติของข้าศึก กองกำลังทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่เคยเข้ามาเจรจากับกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรและแทนที่จะริดรอนกำลังอย่างง่ายดายและถูกครอบงำด้วยการปิดกั้นอย่างมีประสิทธิภาพของกองทัพเรือสหรัฐ ทหารรักษาการณ์ได้ทำการล้อมพื้นที่เอาไว้และปฏิเสธที่จะให้มีการขนส่งเสบียงอาหารและยา และด้วยผลลัพธ์นั้น มีบางคำกล่าวอ้างว่าร้อยละ 97 ของการเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่นในการทัพครั้งนี้มาจากสาเหตุที่ไม่ใช่การรบ[4]
ตามที่ John Laffin ได้กล่าวถึงการทัพครั้งนี้ว่า"เป็นข้อเท็จจริงที่ยากที่สุดในการต่อสู้โดยกองกำลังทหารฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง"[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Biography of Lieutenant-General Heisuke Abe
- ↑ Born in 1886 and died in 1943 after suffering from Dracunculiasis at Wewak.[1]
- ↑ Tanaka 1980, p. ii.
- ↑ Stevens, The Naval Campaigns for New Guinea paragraph 30 Retrieved 10 March 2016.
- ↑ Laffin 1986, p. 303