โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โทรทัศน์สตรีมมิง)

โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง (อังกฤษ: Streaming television) เป็นการออกอากาศโทรทัศน์ในรูปแบบสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง โดยส่งผ่านอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องมีลักษณะตรงกันข้ามกับโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ที่ส่งสัญญาณเฉพาะทางอากาศ, โทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล และ/หรือโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในปัจจุบัน การรับชมโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง เช่น วิดีโอออนไลน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง และเว็บทีวี ของผู้บริโภคนั้น ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก นับตั้งแต่เปิดตัวแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ เช่น ยูทูบ และ เน็ตฟลิกซ์

ประวัติ[แก้]

ก่อนถึงทศวรรษ 1990 ไม่มีใครคิดว่าจะมีความเป็นไปได้ที่รายการโทรทัศน์จะถูกบีบอัดลงในอัตราการส่งถ่ายข้อมูลทางโทรคมนาคมที่จำกัดของสายโทรศัพท์ทองแดง เพื่อให้บริการสัญญาณต่อเนื่องในคุณภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจากอัตราการส่งสัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งมากกว่าอัตราการส่งสัญญาณเสียงของสายโทรศัพท์ทองแดงมากกว่า 2,000 เท่า

บริการสัญญาณต่อเนื่องนั้นเกิดขึ้นได้เนื่องจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 2 ประการ คือ การแปลงโคไซน์ไม่ต่อเนื่อง (DCT) การบีบอัดวิดีโอ และการส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยีสื่อสารผ่านสายความเร็วสูงแบบไม่สมมาตร (ADSL)[1] DCT เป็นเทคนิคการบีบอัดข้อมูลแบบสูญเสียบางส่วนที่ถูกเสนอครั้งแรกโดยนาเซียร์ อาเหม็ด ในปี ค.ศ. 1972[2] และต่อมาถูกดัดแปลงเป็นอัลกอริทึมการชดเชยการเคลื่อนไหว สำหรับมาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอ เช่น รูปแบบ H.26x ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 เและรูปแบบ MPEG ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา[3][4] การบีบอัดวิดีโอของ DCT ในการชดเชยการเคลื่อนไหว ช่วยลดจำนวนอัตราการส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลขั้นต่ำอย่างมีนัยสำคัญ จากประมาณ 200 เมกะบิตต่อวินาที ลงเป็นประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที ขณะที่ ADSL ช่วยเพิ่มอัตราการส่งผ่านสายโทรศัพท์ทองแดงจากประมาณ 100 กิโลบิตต่อวินาที ขึ้นเป็น 2 เมกะบิตต่อวินาทีได้ การรวมกันของเทคโนโลยี DCT และ ADSL ทำให้สามารถให้บริการสัญญาณต่อเนื่องที่ความเร็วประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที[1]

กลางยุค 2000 เป็นจุดเริ่มต้นของรายการโทรทัศน์ที่มีอยู่ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ให้บริการรับฝากวีดิทัศน์อย่างยูทูบ เปิดตัวในต้นปี ค.ศ. 2005 อนุญาตให้ผู้ใช้แบ่งปันรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่อย่างผิดกฎหมาย[5] ยาวีด คาริม ผู้ร่วมก่อตั้งยูทูบ กล่าวว่า แรงบันดาลใจของยูทูบมาจากบทบาทของ เจเน็ต แจ็กสัน ในระหว่างการแข่งขันซูเปอร์โบวล์เมื่อปี ค.ศ. 2004 เมื่อเต้านมของเธอถูกเปิดเผยระหว่างการแสดงของเธอ และต่อมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 คาริมไม่สามารถค้นหาวิดีโอคลิปของกิจกรรมออนไลน์ได้ นำไปสู่ความคิดของเว็บไซต์แบ่งปันวิดีโอดังกล่าว

บริการไอทูนส์ของแอปเปิล เริ่มเสนอรายการโทรทัศน์และซีรีส์ที่ได้รับการคัดสรรในปี ค.ศ. 2005 พร้อมให้ดาวน์โหลดหลังจากชำระเงินโดยตรง[5] ไม่กี่ปีต่อมา เครือข่ายโทรทัศน์และบริการอิสระอื่น ๆ เริ่มสร้างเว็บไซต์ที่สามารถแสดงรายการและสตรีมออนไลน์ได้ วิดีโอของแอมะซอน เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐอเมริกาในชื่อ แอมะซอนอันบอกซ์ ในปี ค.ศ. 2006 แต่ไม่ได้เปิดตัวทั่วโลกจนถึงปี ค.ศ. 2016[6] เน็ตฟลิกซ์ เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อการเช่าดีวีดีและการขายเริ่มให้บริการสตรีมเนื้อหาในปี ค.ศ. 2007[7] ในปี ค.ศ. 2008 ฮูลู เป็นเจ้าของโดยเอ็นบีซีและฟ็อกซ์ เปิดตัวขึ้น แล้วตามด้วย tv.com ในปี ค.ศ. 2009 โดยซีบีเอส และเครื่องเล่นสื่อดิจิทัลก็เริ่มให้บริการแก่สาธารณชนในช่วงเวลานี้ แอปเปิลทีวีรุ่นแรกเปิดตัวในปี ค.ศ. 2007 และในปี 2008 มีการประกาศเปิดตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณต่อเนื่อง โรคุ รุ่นแรก[8][9]

โทรทัศน์อัจฉริยะเริ่มเข้าครอบครองตลาดโทรทัศน์หลังจากปี ค.ศ. 2010 และยังคงเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ เพื่อส่งสัญญาณต่อเนื่องไปสู่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น[10] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 โทรทัศน์อัจฉริยะเป็นโทรทัศน์ระดับกลางถึงระดับสูงประเภทเดียวที่ผลิตขึ้น เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลของแอมะซอน ในเวอร์ชันแอมะซอนไฟร์ทีวี ไม่ได้เสนอขายต่อสาธารณะจนถึงปี ค.ศ. 2014

เครื่องเล่นสื่อดิจิทัลเหล่านี้ยังคงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีการวางจำหน่ายรุ่นใหม่ การเข้าถึงการเขียนโปรแกรมโทรทัศน์ได้พัฒนาจากการเข้าถึงคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์ รวมถึงอุปกรณ์มือถือ เช่น โทรศัพท์อัจฉริยะ และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ แอพสำหรับอุปกรณ์มือถือเริ่มให้บริการผ่านแอปสโตร์ในปี ค.ศ. 2008 แอพมือถือเหล่านี้อนุญาตให้ผู้ใช้ดูเนื้อหาบนอุปกรณ์มือถือที่รองรับแอพ หลัง ค.ศ. 2010 ผู้ให้บริการโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแบบดั้งเดิมเริ่มให้บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่อง

ในปี ค.ศ. 2017 ยูทูบเปิดตัวยูทูบทีวี บริการโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับชมรายการทีวีสดจากช่องเคเบิล หรือช่องยอดนิยม และรายการบันทึก เพื่อการรับสัญญาณต่อเนื่องได้ทุกที่ทุกเวลา[11] ในปีเดียวกัน จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน 28% และผู้ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปี อีก 61% รับชมโทรทัศน์ผ่านสัญญาณต่อเนื่องเป็นหลัก[12] และในปี ค.ศ. 2018 เน็ตฟลิกซ์เป็นเครือข่ายทีวีสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นบริษัทสื่ออินเทอร์เน็ตและความบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนผู้ใช้บริการจำนวน 117 ล้านราย และจากรายรับและการตลาด[13][14]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Lea, William (1994). Video on demand: Research Paper 94/68. 9 พฤษภาคม 1994: House of Commons Library. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  2. Ahmed, Nasir (มกราคม 1991). "How I Came Up With the Discrete Cosine Transform". Digital Signal Processing. 1 (1): 4–5. doi:10.1016/1051-2004(91)90086-Z.
  3. Ghanbari, Mohammed (2003). Standard Codecs: Image Compression to Advanced Video Coding. Institution of Engineering and Technology. pp. 1–2. ISBN 9780852967102.
  4. Li, Jian Ping (2006). Proceedings of the International Computer Conference 2006 on Wavelet Active Media Technology and Information Processing: Chongqing, China, 29-31 August 2006. World Scientific. p. 847. ISBN 9789812709998.
  5. 5.0 5.1 Waterman, D., Sherman, R., & Ji, S. W. (2013). The economics of online television: Industry development, aggregation, and “TV Everywhere”. Telecommunications Policy, 37(9), 725-736.
  6. "Amazon - Press Room - Press Release" เก็บถาวร 2017-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. phx.corporate-ir.net. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
  7. "About Netflix". Netflix Media Center. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
  8. "How Apple's iTV Media Strategy Works". www.roughlydrafted.com. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
  9. "Inside The Tech Of The Netflix Player With Roku | HotHardware" เก็บถาวร 2020-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. HotHardware. HotHardware. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
  10. Johnson, James (10 ตุลาคม 2019). "OTT TV: What It Is and How It's Shaping The Video Industry". Uscreen (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2019.
  11. "YouTube TV - Watch & DVR Live Sports, Shows & News". YouTube TV - Watch & DVR Live Sports, Shows & News. Retrieved 2017-12-05.
  12. "About 6 in 10 young adults in U.S. primarily use online streaming to watch TV". Pew Research Center. 13 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2017.
  13. "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com. {{cite web}}: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help)
  14. Balakrishnan, Anita (22 มกราคม 2018). "Netflix jumps more than 8% after adding more subscribers than expected".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]