โกะรรันกุฬังงรเทวีเกษตรัง

พิกัด: 8°58′46″N 76°32′06″E / 8.97958°N 76.53512°E / 8.97958; 76.53512
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกะรรันกุฬังงรเทวีเกษตร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตโกฬฬัม
เทพอาทิปราศักติ
เทศกาลจมยวิฬักกุ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งจาวระ
รัฐเกรละ
ประเทศอินเดีย
โกะรรันกุฬังงรเทวีเกษตรังตั้งอยู่ในรัฐเกรละ
โกะรรันกุฬังงรเทวีเกษตรัง
ที่ตั้งในรัฐเกรละ
พิกัดภูมิศาสตร์8°58′46″N 76°32′06″E / 8.97958°N 76.53512°E / 8.97958; 76.53512 [1]
เว็บไซต์
http://kottankulangaratemple.org

โกะรรันกุฬังงรเทวีเกษตรัง (มลยาฬัม: കൊറ്റൻകുളങ്ങര ദേവി ക്ഷേത്രം, kŏṟṟankul̤aṅṅara devi kṣetraṃ; Kottankulangara Devi Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ (เกษตรัง) บูชาพระแม่ทุรคาในฐานะอาทิปราศักติหรือพลังสตรีสูงสุดในจักรวาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้านจาวระ รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย

ตำนาน[แก้]

ที่ตั้งของเกษตรังนี้ในอดีตเป็นป่ารกทึบ ที่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของผืนป่านี้มีบ่อน้ำเล็กแต่ลึกที่ชื่อว่า ภูตกุฬัง (ഭൂതകുളം, bhūtakul̤aṃ; Bhoothakulam) อยู่ ผู้คนในพื้นที่เชื่อว่าบ่อน้ำนี้เป็นที่อยู่ของงูพิษ ส่วนทางตะวันออกของผืนป่ามีสระน้ำขนาดกว้างใหญ่ ในวันที่ฝนลง ธารน้ำจะไหลมาจากสระน้ำนี้ทำให้พื้นที่ป่าและพื้นที่โดยรอบอุดมสมบูรณ์ ทำให้บรรดาคนเลี้ยงวัวในพื้นที่นิยมพาวัวมากินหญ้าในแถบนี้[2]

ตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่งมีกลุ่มคนเลี้ยงวัวไปเก็บมะพร้าวมาจากที่นี่ ต่อมาคนเลี้ยงวัวได้เจอก้อนหินที่ทิศใต้ของภูตกุฬัม คนเลี้ยงวัวจึงกระแทกลูกมะพร้าวกับหินนี้เพื่อเปิดมะพร้าว แต่กลับเจอว่าหินนี้มีเลือดไหลออกมา คนเลี้ยงวัวจึงนำเรื่องนี้ไปเล่าแก่คนเฒ่าคนแก่ของตน โหรท่านหนึ่งเสนอว่าหินนี้อาจมีอำนาจเหนือธรรมชาติบางอย่างอยู่ และควรจะประกอบพิธีบูชาทันทีหลังสร้างวิหารขึ้นที่นี่ ผู้เฒ่าและคนเลี้ยงวัวจึงกลับไปที่หินนั้น สร้างวิหารขึ้นชั่วคราวโดยใช้เสา และมุงด้วยใบจากต้นมะพร้าว ตามธรรมเนียมโบราณของอินเดียใต้นั้น ใน กุฏุมพังเกษตรัง (കുടുംബം ക്ഷേത്രം, kuṭuṃbaṃ kṣetraṃ; หมายถึงโบสถ์พราหมณ์ประจำครอบครัวหรือประจำตระกูล) จะให้มี พาลิกะ (ബാലിക, bālikā; หมายถึงเด็กผู้หญิง) เป็นคนเตรียมพวงมาลัย จุดตะเกียงบูชาในวิหาร วิหารแห่งนี้ตามที่โหรบอกคือจะต้องประกอบพิธีบูชาทันทีเมื่อสร้างวิหารเสร็จ คนเลี้ยงวัวจึงแต่งกายด้วยชุดอย่างสตรีและประกอบพิธีบูชาในวิหารทันที จากนั้น คนเลี้ยงวัวได้นำน้ำมันมะพร้าว (อุรุกกุเวะฬิจเจ็ณณะ; ഉരുക്ക്‌ വെളിച്ചെണ്ണ, urukk vĕl̤iccĕṇṇa) และเปลือกมะพร้าว (โกฏฏัน; കൊട്ടൻ, kŏṭṭan) บูชาแก่เทวีในฐานะไนเวทยัม[2][3]

จมยวิฬักกุ[แก้]

จมยวิฬักกุ (มลยาฬัม: ചമയവിളക്ക്; Chamayavilakku) เป็นเทศกาลประจำปีของเกษตรัง ที่ซึ่งศาสนิกชนผู้ชายจะแต่งกายเป็นผู้หญิงและเข้าร่วมพิธีจุดตะเกียงบูชาและเดินบริกรรมรอบวิหารในเวลาค่ำคืน และมีดนตรีบรรเลงประกอบ[4][5][6] เครื่องแต่งกายหญิงที่ศาสนสิกชนชายนิยมนำมาสวมเพื่อร่วมพิธีนี้ เช่นส่าหรี, ปัฏฏุสารี (pattu sari) ส่าหรี่ครึ่งตัว ไปจนถึงชุดเต้นระบำของผู้หญิง[7]

เทศกาลนี้ตรงกับวันที่ 10 และ 11 ของเดือนมีนัม ตามปฏิทินมลยาฬัม[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. "How to reach – Kottankulangara Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-06-29.
  2. 2.0 2.1 "Temple History". Kottankulangara Temple. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  3. "Sri Bhagavati-Devi: Goddess of Crossdressing". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2013. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  4. "Temple Festival". Kottankulangara Temple. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-18. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  5. "Kerala temple: Where the lady with the lamp is a man". NDTV. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  6. "Kottankulangara Chamayavilakku". Kerala Festival Wiki. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 16 August 2013.
  7. "Chamayavilakku: Kerala's unique festival, where men dress up as women". TimesNow (ภาษาอังกฤษ). 2023-03-28. สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.
  8. "Chamayavilakku Festival, a unique festival celebrated in Kerala, where men dress up as women". The Times of India. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2023-06-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]