โกลด มอแน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกลด มอแน
โกลด มอแน ภาพถ่ายโดยนาดาร์ ค.ศ. 1899
เกิดOscar-Claude Monet
14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840(1840-11-14)
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
เสียชีวิต5 ธันวาคม ค.ศ. 1926(1926-12-05) (86 ปี)
Giverny ประเทศฝรั่งเศส
สัญชาติฝรั่งเศส
มีชื่อเสียงจากจิตรกร
ผลงานเด่นความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น
ภาพเขียนชุดมหาวิหารรูอ็อง
ภาพเขียนชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ
ดอกบัว
กองฟาง
พ็อพลาร์
ขบวนการลัทธิประทับใจ
Patron(s)กุสตัฟ ไกโบต์, Ernest Hoschedé, ฌอร์ฌ เกลม็องโซ

โกลด มอแน (ฝรั่งเศส: Claude Monet) หรือ อ็อสการ์-โกลด มอแน (Oscar-Claude Monet; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926)[1] เป็นจิตรกรลัทธิประทับใจ และเป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 มีความสำคัญในการเป็นผู้ริเริ่มศิลปะในลัทธิประทับใจและมีบทบาทสำคัญในปรัชญาและการปฏิบัติของขบวนการนี้ ซึ่งเป็นการวาดภาพจากความประทับใจในสิ่งที่เห็นของผู้วาด (perception) แทนที่จะพยายามทำให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในจิตรกรรมภูมิทัศน์ (landscape painting)[2] คำว่า “Impressionism” มาจากชื่อภาพเขียนของมอแนเองชื่อ ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น (“Impression, Sunrise”)

มอแนเป็นชาวฝรั่งเศส เกิดที่กรุงปารีสในปี 1840 เป็นชาวปารีสโดยกำเนิดแต่กลับไปเติบโตที่เมืองเลออาฟวร์ ในแคว้นนอร์มังดี เนื่องจากครอบครัวย้ายไปอยู่ที่นั่นตอนที่เขามีอายุได้ 5 ขวบ พ่อของมอแนอยากให้เขาสืบทอดธุรกิจร้านขายของชำและอุปกรณ์เรือ แต่ตัวเขาอยากเป็นศิลปิน ยังดีที่แม่ของเขาเป็นนักร้องจึงเข้าใจและให้การสนับสนุนต่อความปรารถนาแรงกล้าในการทำงานด้านศิลปะของเขา

ค.ศ. 1851 มอแนเข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะระดับมัธยมในเมืองเลออาฟวร์ ระหว่างการเรียนที่นี่เขาเริ่มฉายแววจิตรกรเอกของโลกในอนาคตด้วยการเขียนภาพการ์ตูนล้อเลียน (Caricature) ด้วยถ่านไม้ซึ่งเขาขายได้ในราคาราว 10–20 ฟรังก์ สร้างชื่อจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว บุคคลที่เขามักนำใบหน้ามาเขียนภาพล้อเลียนคือครูของเขาเอง

ชีวิตเบื้องต้น[แก้]

“บนฝั่งแม่น้ำแซน, บ็อนกูร์ (On the Bank of the Seine, Bennecourt)” (ค.ศ. 1868) ตัวอย่างแรกของการวาดภาพในลัทธิประทับใจนอกสถานที่
“Impression, Sunrise” (ค.ศ. 1872-1873)

มอแนเกิดเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 บนชั้น 5 ของบ้านเลขที่ 45 ถนนลาฟิตต์ เขต 9 ในปารีส[3] เป็นลูกชายคนที่สองของโกลด อาดอลฟ์ และลุย จุสตีน โอเบรผู้เป็นนักร้อง ทั้งสองคนเป็นชาวปารีสชั่วคนที่สอง มอแนรับศึลจุ่มเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมปีต่อมาที่วัดนอเทรอดามเดอโลเร็ต ในชื่อ อ็อสการ์ โกลด[3] เมื่อปี ค.ศ. 1845, ครอบครัวของมอแนย้ายไปเมืองเลออาฟวร์ (Le Havre) ในนอร์ม็องดีทางเหนือของฝรั่งเศส พ่อของมอแนอยากให้มอแนทำกิจการร้านขายของชำของครอบครัวแต่มอแนอยากเป็นศิลปิน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1851 มอแนก็เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนมัธยมศิลปะที่เลออาฟวร์ และเป็นที่รู้จักกันในฝีมือการเขียนรูปการ์ตูน (caricature) ด้วยถ่านที่มอแนขายในราคา 10 ถึง 20 ฟรังส์ นอกจากนั้นมอแนก็ยังเรียนการเขียนภาพเป็นครั้งแรกกับฌัก-ฟร็องซัว โอชารด์ (Jacques-François Ochard) ผู้เป็นลูกศิษย์ของฌัก-หลุยส์ ดาวิด (Jacques-Louis David) ระหว่างปี ค.ศ. 1856-1857 มอแนพบยูจีน บูแดง (Eugène Boudin) ผู้เป็นจิตรกรและผู้ที่มอแนถือว่าเป็นครูและเป็นผู้สอนให้มอแนวาดภาพด้วยด้วยสีน้ำมัน และสอนวิธีวาดภาพ “นอกสถานที่” (en plein air)[4]

แม่ของมอแนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1857 เมื่อมอแนอายุได้ 16 มอแนก็ลาออกจากโรงเรียนไปอยู่กับน้ามารี-ฌาน เลอกาดร์ (Marie-Jeanne Lecadre) ผู้เป็นแม่ม่ายและไม่มีลูกของตนเอง

ปารีส[แก้]

เมื่อมอแนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ที่ปารีส มอแนพบว่างานเขียนที่เห็นในพิพิธภัณฑ์เป็นภาพที่ลอกมาจากภาพของครูบาสมัยเก่า แทนที่จะนั่งลอกภาพเขียนที่แขวนในพิพิธภัณฑ์ มอแนก็กลับเอาขาหยั่งไปตั้งริมหน้าต่างและวาดภาพสิ่งที่เห็นนอกหน้าต่าง มอแนอยู่ปารีสเป็นเวลาหลายปีและได้พบจิตรกรหลายคนผู้กลายมาเป็นเพื่อนและจิตรกรลัทธิประทับใจร่วมสมัยของมอแน เพื่อนคนหนึ่งของมอแนคือเอดวด มาเนท์

เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1861 มอแนสมัครเป็นทหารกับกอง First Regiment of African Light Cavalry ในประเทศแอลจีเรีย มอแนเป็นทหารอยู่ได้สองปีก็เป็นไข้ไทฟอยด์ มาดามเลอคาเดรจึงให้มอแนลาออกจากการเป็นทหารโดยให้สัญญาว่าต้องไปเรียนวิชาศิลปะต่อให้จบที่มหาวิทยาลัย อาจจะเป็นได้ว่าโยฮันน์ ยองคินด์ (Johan Jongkind) จิตรกรชาวเนเธอร์แลนด์ผู้มอแนรู้จัก มีส่วนในการให้ข้อเสนอแนะนี้ แต่มอแนก็ไม่พอใจกับทฤษฏีการสอนตามแบบที่ทำกันมาของมหาวิทยาลัย ในปี ค.ศ. 1862 มอแนก็ไปเป็นลูกศิษย์ของมาร์ค ชาร์ล เกเบรียล เกลร์ (Marc-Charles-Gabriel Gleyre) ที่ปารีสซึ่งเป็นที่ที่มอแนได้พบปีแยร์ ออกุสต์ เรอนัวร์, เฟรเดริก บาซีย์ (Frédéric Bazille) และอัลเฟรด ซิสลีย์ สามคนนี้ก็มีแนวนิยมในการเขียนภาพแบบใหม่ร่วมกัน--การเขียนที่พิจารณาถึงผลของแสงที่มีต่อสิ่งที่วาดนอกสถานที่ การใช้แสงแตกหัก และฝีแปรงที่หยาบที่กลายมาเป็นลักษณะลัทธิประทับใจที่เรารู้จักกันทุกวันนี้

เมื่อปี ค.ศ. 1866 มอแนเขียนภาพ “กามีย์” (Camille) และ “ผู้หญิงในชุดเขียว” (La Femme à la Robe Verte) ซึ่งเป็นภาพที่นำชื่อเสียงมาสู่มอแน และเป็นภาพในบรรดาหลายภาพที่มอแนเขียนโดยมีกามีย์ ดองโซเป็นแบบ หลังจากนั้นไม่นานกามีย์ก็ท้องและมีลูกคนแรกด้วยกันกับมอแน--ชอง มอแน เมื่อปี ค.ศ. 1866 มอแนพยายามกระโดดน้ำฆ่าตัวตายซึ่งคงมาจากปัญหาความขัดสน

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ลัทธิประทับใจ และอาร์ฌ็องเตย[แก้]

“เรือประมงออกจากอ่าว” (เลออาฟวร์)

หลังจากเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 มอแนก็ลี้ภัยไปอยู่อังกฤษเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1870 [5] ขณะที่อยู่ที่นั่นมอแนก็ศึกษางานภาพภูมิทัศน์ของ จอห์น คอนสตาเบิล (John Constable) และ วิลเลียม เทอร์เนอร์ (William Turner) ซึ่งมามีอิทธิพลต่อการศึกษาเรื่องการใช้สี เมื่อฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1871 ทางราชสถาบันศิลปะ (Royal Academy) ไม่ยอมแสดงผลงานของมอแน[6]

เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1871 มอแนก็ย้ายจากลอนดอนไปซานดาม (Zaandam) ในประเทศเนเธอร์แลนด์[6] ซึ่งเป็นที่มอแนเขียนภาพ 25 ภาพ (เป็นที่ที่ตำรวจสงสัยว่ามอแนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิวัติ[7]) จากซานดามมอแนก็มีโอกาสไปอัมสเตอร์ดัมซึ่งอยู่ไม่ไกลนัก ประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1871 มอแนก็ย้ายกลับปารีส ระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1871 ถึง ค.ศ. 1878 มอแนอาศัยอยู่ที่อาร์ฌ็องเตย (Argenteuil) ซึ่งเป็นหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเซนใกล้ปารีส และเป็นที่ที่มอแนวาดภาพที่กลายมาเป็นภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดของมอแน และเป็นภาพที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายหลายภาพ ในปี ค.ศ. 1874 มอแนกลับไปเนเธอร์แลนด์อยู่ระยะหนึ่ง[8]

ประมาณปี ค.ศ. 1872 หรือ 1873 มอแนวาดภาพ “Impression, Sunrise” (Impression: soleil levant—ความประทับใจของพระอาทิตย์ขึ้น) ซึ่งเป็นภาพภูมิทัศน์ของเลออาฟวร์ ภาพนี้ตั้งแสดงที่งานนิทรรศการศิลปะลัทธิประทับใจครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1874 ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มาโมแตง-มอแน ที่ปารีส หลุยส์ เลอรอยนักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำ “อิมเพรสชันนิสม์” จากชื่อภาพในการบรรยายศิลปะลักษณะนี้อย่างเยาะ ๆ แต่จิตรกรลัทธิประทับใจนิยมคำและเริ่มใช้เรียกตัวเองอ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง อ้างอิงที่ไม่มีชื่อต้องมีเนื้อหา

มอแนและกามีย์ ดองโซแต่งงานกันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1870 ไม่นานก่อนเกิดสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย[6] พอปี ค.ศ. 1876 กามีย์ก็เริ่มป่วย หลังจากมีมิเชลลูกคนที่สองเมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1878 สุขภาพของกามีย์ก็เสื่อมลง ในที่สุดก็เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 32 ปีด้วยวัณโรคเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1879 มอแนวาดภาพกามีย์บนเตียงที่กามีย์นอนป่วย[9][10]

ภาพเขียนสมัยแรก[แก้]

ชีวิตสมัยหลัง[แก้]

หลังจากมอแนโศกเศร้ากับการตายของกามีย์อยู่หลายเดือนมอแนก็สัญญากับตนเองว่าจะไม่ยอมเป็นทาสความยากไร้อีก โดยเริ่มเขียนภาพจริง ๆ จัง ๆ และสร้างงานที่ดึที่สุดของตนเองของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อต้นคริสต์ทศศตวรรษ 1880 มอแนก็วาดภาพภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศสด้วยความตั้งใจที่จะทำเป็นหลักฐานของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เกิดการวาดภาพเป็นชุดหลายชุดที่เกี่ยวกับภูมิทัศน์ของชนบทฝรั่งเศส

ภาพชุดพอพพลา

เมื่อปีค.ศ. 1878 มอแนและกามีย์ย้ายไปอยู่ที่บ้านของเอิร์นเนส โอเชด (Ernest Hoschedé) เป็นการชั่วคราว โอเชดเป็นเจ้าของร้านสรรพสินค้าผู้มีฐานะและเป็นผู้อุปถัมป์ศิลปิน สองครอบครัวนี้ก็อยู่ด้วยกันที่เวทุย (Vétheuil) ระหว่างหน้าร้อน หลังจากที่เอิร์นเนสล้มละลายและย้ายไปประเทศเบลเยียมเมื่อปีค.ศ. 1878 และหลังจากที่กามีย์เสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1879 มอแนก็ยังคงอาศัยอยู่ที่เวทุย โดยมีอลิซ ภรรยาของเอิร์นเนส โอเชดก็ช่วยมอแนดูแลบุตรชายสองคน อลิซนำลูกของมอแนไปเลี้ยงร่วมกับลูกของอลิซเองอีก 6 คนที่ปารีสอยู่ระยะหนึ่ง[11] ก่อนที่จะย้ายกลับมาเวทุยพร้อมกับลูก ๆ อีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1880[12] ในปีค.ศ. 1881 ทั้งสองครอบครัวก็ย้ายไปปอยซี (Poissy) ซึ่งเป็นที่ที่มอแนไม่ชอบ จากหน้าต่างรถไฟระหว่างแวร์นองและกาสนีมอแนก็พบจิแวร์นีย์ (Giverny) ในนอร์ม็องดี ในเดือนเมษายนปีค.ศ. 1883 มอแนก็ย้ายไปแวร์นองและต่อมาจิแวร์นีย์ ซึ่งเป็นที่ที่มอแนทำสวนขนาดใหญ่และเป็นที่ที่มอแนเขียนภาพตลอดในบั้นปลายของชีวิต หลังจากเอิร์นเนสเสียชีวิต อลิซก็แต่งงานกับมอแนเมื่อปีค.ศ. 1892[4]

จิแวร์นีย์[แก้]

บ้านและสวนที่จิแวร์นีย์

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1883 มอแนก็เช่าที่ดินสองเอเคอร์ที่จิแวร์นีย์จากเจ้าของที่ดินบริเวณนั้น ตัวบ้านตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักระหว่างแวร์นองกับกาสนี ตัวบ้านมีโรงนาที่มอแนใช้เป็นห้องสำหรับเขียนภาพ ภูมิทัศน์บริเวณนั้นก็เหมาะกับการเขียนภาพของมอแน นอกจากนั้นครอบครัวก็ยังช่วยกันทำสวนดอกไม้ใหญ่ ฐานะของมอแนก็เริ่มดีขึ้นเมื่อมีพอล ดูรานด์ รูลเป็นนายหน้าขายภาพเขียนให้ ในปี ค.ศ. 1890 มอแนก็มีฐานะดีพอที่จะซื้อบ้าน สิ่งก่อสร้างในบริเวณนั้น และที่ดินเป็นของตนเอง ต่อมามอแนก็สร้างห้องเขียนภาพอีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นห้องที่ใหญ่กว่าเดิมและเป็นเพดานที่มีแสงส่องเข้ามาได้ ตั้งแต่คริสต์ทศศตวรรษ 1880 จนกระทั่งมอแนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1926 มอแนเขียนภาพหลายชุดสำหรับการแสดงภาพเขียน ซึ่งแต่ละชุดมอแนก็จะวาดตัวแบบเดียวกันแต่จากมุมต่าง ๆ กันและต่างเวลากันตามแต่แสงและภาวะอากาศจะเปลี่ยนแสงสีของสิ่งที่วาด เช่นภาพชุดกองฟางที่เขียนระหว่างปี ค.ศ. 1890-1891 ซึ่งเขียนจากหลายมุมและต่างฤดูและต่างเวลากันในแต่ละวัน ภาพเขียนชุดอื่น ๆ ที่มอแนก็ได้แก่ ชุดมหาวิหารรูอ็อง, ชุดต้นพอพพลา, ชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ, ชุดยามเช้าบนฝั่งแม่น้ำเซน, และชุดดอกบัวซึ่งมอแนเขียนที่จิแวร์นีย์

บางครั้งมอแนยังชอบเขียนภาพธรรมชาติที่ตกแต่งแล้วเช่นภายในสวนที่มอแนจัดตกแต่งเองที่บ้านจิแวร์นีย์[1] ซึ่งเป็นสวนที่มีสระน้ำ, สะพานเล็ก ๆ ข้ามสระ, ต้นวิลโลร้องไห้, และดอกบัว ซึ่งสวนจริงยังมีให้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นอกจากนั้นก็ยังเดินขึ้นล่องริมฝั่งแม่น้ำเซนเพื่อเขียนรูป ระหว่างปี ค.ศ. 1883 ถึงปี ค.ศ. 1908 มอแนเดินทางไปเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งมอแนเขียนภาพสิ่งที่น่าสนใจ, ภูมิทัศน์ และ ทะเลทัศน์ เมื่อไปเวนิสมอแนก็เขียนภาพชุดเวนิส และลอนดอนเป็นชุดตึกรัฐสภาอังกฤษ และสะพานชาริงครอส

อลิซและลูกชายคนโตของมอแนผู้แต่งงานกับแบลนช์ ลูกสาวคนโตของอลิซเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1911[4] หลังจากนั้นแบลนช์ก็ดูแลมอแน ระหว่างนี้มอแนก็เริ่มเป็นต้อ[13]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งลูกชายคนที่สองเป็นทหารและจอร์จ เคลมองโซ (Georges Clemenceau) ผู้เป็นเพื่อนและผู้นำฝรั่งเศส มอแนเขียนภาพชุด “วิลโลร้องไห้” (Weeping Willow) เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชาวฝรั่งเศสผู้เสียชีวิตในสงคราม มอแนได้รับการผ่าตัดต้อสองครั้งในปี ค.ศ. 1923 ต้อของมอแนมีผลต่อสีของภาพเขียนๆ ระหว่างที่เป็นต้อจะออกโทนแดงซึ่งเป็นลักษณะของผู้เป็นต้อ นอกจากนั้นมอแนยังสามารถมองเห็นคลื่นแสงอัลตราไวโอเล็ทที่ตาปกติจะมองไม่เห็นซึ่งอาจจะทำให้มีผลต่อการเห็นสีของมอแน หลังจากผ่าตัดแล้วมอแนก็พยายามทาสีบางภาพใหม่ เช่นภาพชุดดอกบัวที่เป็นสีน้ำเงินกว่าเมื่อก่อนได้รับการผ่าตัด[14]

ภาพเขียนสมัยหลัง[แก้]

บั้นปลาย[แก้]

“สระบัว” ค.ศ. 1920-1926

มอแนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่ปอดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1926 เมื่ออายุ 86 ปี ร่างของมอแนถูกฝังไว้ที่วัดที่จิแวร์นีย์ [15] มอแนขอให้เป็นพิธีง่าย ๆ ฉะนั้นจึงมีผู้ร่วมงานศพเพียง 50 คน[16]

เมื่อปี ค.ศ. 1966 ลูกหลานของมอแนก็ยกบ้าน สวนและบึงบัวให้กับสถาบันศิลปะแห่งฝรั่งเศส (Academy of Fine Arts) ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980[17] นอกจากสิ่งของของมอแนแล้ว ภายในบ้านยังเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่น (Japanese woodcut prints) ที่มอแนสะสมด้วย

อ้างอิง[แก้]

200pxท์ (ขวา) ในสวนที่ แวร์นอง ค.ศ. 1922
  1. Biography of Claude Monet giverny.org. Retrieved 6 January 2007
  2. House, John, et al: Monet in the 20th Century, page 2. Yale University Press, 1998.
  3. 3.0 3.1 P. Tucker Claude Monet: Life and Art, p.5
  4. 4.0 4.1 4.2 Biography for Claude Monet เก็บถาวร 2007-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Guggenheim Collection. Retrieved 6 January 2007.
  5. Monet, Claude Nicolas Pioch, www.ibiblio.org, 19 September 2002. Retrieved 6 January 2007
  6. 6.0 6.1 6.2 Charles Stuckey "Monet, a Retrospective", Hugh Lauter Levin Associates, 195
  7. The texts of seven police reports, written on 2 June – 9 October 1871 are included in Monet in Holland, the catalog of an exhibition in the Amsterdam Van Gogh Museum (1986).
  8. His paintings are shown and discussed here เก็บถาวร 2007-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. http://www.artelino.com/articles/la_japonaise.asp accessed 25 September 2007
  10. https://web.archive.org/web/20021017204543/http://members.aol.com/wwjohnston/camille.htm accessed 25 September 2007
  11. "online biography retrieved December 28, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.
  12. Charles Merrill Mount, Monet a biography, Simon and Schuster publisher, copyright 1966, pp.309-322.
  13. Forge, Andrew, and Gordon, Robert, Monet, page 224. Harry N. Abrams, 1989.
  14. Let the light shine in Guardian News, 30 May 2002. Retrieved 6 January 2007.
  15. The village of Giverny giverny.org. Retrieved 6 January 2007
  16. P. Tucker Claude Monet: Life and Art, p.224
  17. "Fondation Claude Monet - Giverny". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-14.

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โกลด มอแน