ข้ามไปเนื้อหา

แฮริเอ็ต ทับแมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮริเอ็ต ทับแมน
ทับแมนเมื่อปี 1895
เกิดแอระมินทา รอส
ราว มีนาคม 1822[1]
มณฑลดอเชสเตอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐ
เสียชีวิต10 มีนาคม 1913 (90-91 ปี)
ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
สุสานสุสานฟอร์ตฮิลล์ ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
42°55′29″N 76°34′30″W / 42.9246°N 76.5750°W / 42.9246; -76.5750
สัญชาติอเมริกัน
ชื่ออื่นมินตี, มอเซส
อาชีพหน่วยลาดตระเวนสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ, สายลับ, พยาบาล, นักเคลื่อนไหวสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรี, นักเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง
มีชื่อเสียงจากการปลดปล่อยทาส
คู่สมรส
บุตรเกอร์ที (บุญธรรม)
บิดามารดา

แฮริเอ็ต ทับแมน (อังกฤษ: Harriet Tubman) หรือชื่อเมื่อเกิด แอระมินทา รอส (อังกฤษ: Araminta Ross) (ป.  มีนาคม 1822[1] – 10 มีนาคม 1913) เป็นผู้เลิกทาสและนักเคลื่อนไหวทางสังคมชาวอเมริกัน[2][3] ทับแมนเกิดในครอบครัวทาส ก่อนที่จะหลบหนีและทำภารกิจ 13 ครั้ง ซึ่งช่วยปล่อยทาสราว 70 คน รวมทั้งครอบครัวและมิตรสหายของเธอ[4] ผ่านเครือข่ายนักเคลื่อนไหวต่อต้านระบบทาสและเซฟเฮาส์จำนวนมากที่รู้จักกันในชื่ออันเดอร์กราวด์เรลโร้ด ในสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ เธอเข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยลาดตระเวนติดอาวุธและสายลับให้กับกองทัพสหภาพ ในช่วงท้ายของชีวิต เธอเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเรียกร้องสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรีในสหรัฐ

ทับแมนเกิดเป็นทาสโดยเชื้อสายในมณฑลดอเชสเตอร์ รัฐแมริแลนด์ เธอถูกนายทาสทำร้ายและใช้แส้ตีตั้งแต่เป็นเด็ก ครั้งหนึ่งนายทาสคนหนึ่งของเธอโยนตุ้มโลหะที่หนักใส่ทาสอีกคน แต่พลาดมาโดนทับแมนแทน ส่งผลให้เธอได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ การบาดเจ็บครั้งนั้นทำให้ทับแมนต้องทนทุกข์ด้วยโรคนอนหลับมากเกินไปตลอดชีวิต หลังการบาดเจ็บครั้งนั้น ทับแมนเริ่มมีประสบการณ์มองเห็นภาพแปลก ๆ และมีฝันที่สว่างจ้าในเวลาหลับ เธอสันนิษฐานว่านี่เป็นนิมิตหมายจากพระเป็นเจ้า ประสบการณ์เหล่านี้รวมกับลักษณะของครอบครัวที่เธอเติบโตมาอันเป็นคริสต์ชนลัทธิเมธอดิสต์ทำให้ทับแมนเป็นคริสต์ชนผู้มีศรัทธาต่อศาสนาสูงมาก

ในปี 1849 ทับแมนหลบหนีไปยังฟิลาเดลเฟีย แต่ไม่นานก็ได้กลับมายังแมริแลนด์เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเธอหลบหนีจากนายทาส นับจากนั้นมาก เธอค่อย ๆ พาญาติของเธอเดินทางออกจากรัฐไปกับเธอ ทีละกลุ่ม ๆ ซึ่งในที่สุดเป็นการนำทางให้กับอีกหลายสิบคนได้หลบหนีจากนายทาสและได้รับอิสรภาพ การเดินทางหลบหนีของทับแมนดำเนินไปในความมืดมิดของเวลากลางคืน และดำเนินไปโดยลับที่สุด ตลอดการพาทาสหลบหนี ทับแมน (หรือที่ผู้ที่ได้รับการข่วยเหลือจากเธอเรียกเธอว่า "มอเซส") "ไม่เคยทำผู้โดยสารตกหล่นสักคน" ("never lost a passenger")[5] หลังจากกฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนีปี 1850 ถูกประกาศใช้ ทับแมนได้ช่วยนำทางให้แก่ทาสที่หลบหนีหนีขึ้นไปทางเหนือ เข้าไปยังอเมริกาเหนือของอังกฤษ (แคนาดาในปัจจุบัน) รวมถึงช่วยหางานให้แก่ทาสที่ได้รับการปลดปล่อยใหม่เหล่านี้ ทับแมนได้พบกับจอห์น บราวน์ ในปี 1858 และช่วยเขาวางแผนและระดมพลก่อการจู่โจมปี 1859 ที่เรือเฟอร์รีฮาร์เปอส์

ในสมัยสงครามกลางเมืองสหรัฐ ทับแมนทำงานให้กับฝั่งกองทัพยูเนียน เริ่มจากการเป็นคนครัวและพยาบาล ก่อนจะเริ่มเป็นหน่วยบาดตระเวนติดอาวุธและสายลับ เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้นำการทำสงครามที่ติดอาวุธในสงครามนี้ เธอเป็นผู้ดูแลการจู่โจมเรือเฟอร์รีคอมแบฮีซึ่งช่วยปลดปล่อยทาสจำนวนกว่า 700 คน หลังสงครามสิ้นสุด ทับแมนซื้อบ้านที่ออเบิร์น รัฐนิวยอร์ก ในปี 1859 ซึ่งเธอปรณิบัติดูแลพ่อแม่ของเธอที่ชราแล้ว เธอมีบทบาทต่อเนื่องในการเรียกร้องสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของสตรีจนกระทั่งเธอล้มป่วย เธอเสียชีวิตในปี 1913 และกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญและอิสรภาพ

มรดก

[แก้]

ทับแมนเป็นสัญลักษณ์สำคัญในบรรดาชาวอเมริกันทันทีเมื่อเธอเสียชีวิต[6]ผลการสำรวจในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พบว่าเธอเป็นหนึ่งในพลเมืองที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกันยุคก่อนสงครามกลางเมืองเป็นลำดับที่สาม รองจากเบตซี รอส แลพ พอล รีเวียร์ เท่านั้น[7] เธอเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาจำนวนมากที่กำลังดิ้นรนเพื่อสิทธิพลเมือง นอกจากนี้ทับแมนยังได้รับการยกย่องเชิดชูโดยนักการเมืองจากทุกค่าย[8]

ธนบัตรยี่สิบดอลลาร์สหรัฐ

[แก้]
ภาพต้นคิดออกแบบธนบัตรใหม่ที่แสดงภาพของทับแมน
ธนบัตรยี่สิบดอลลาร์ที่ใช้ในปัจจุบัน แสดงภาพของแจ็กสัน

ในวันที่ 20ตุาลคม 2016 ผู้อำนวยการการคลังสหรัฐ แจ็ก ลีว ประกาศแผนที่จะนำภาพของทับแมนขึ้นบนด้านหน้าของธนบัตรยี่สิบดอลลาร์ แล้วย้ายแอนดรูว์ แจ็กสัน ซึ่งเป็นนายทาส ไปไว้ด้านหลังของธนบัตรแทน[9] ลีวได้มอบหมายให้สำนักงานภาพพิมพ์และการพิมพ์จัดทำแนวทางตัวอย่างสำหรับการแก้ไขนี้[10] และตั้งใจว่าธนบัตรรุ่นใหม่นี้จะเข้าสู่ระบบสักเมื่อหลังปี 2020[11] อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ผู้อำนวยการคลังคนใหม่ สตีเวน มนิวชิน ระบุว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการนำเอาทับแมนมาแทนที่แจ็กสันบนธนบัตร "บุคคลต่าง ๆ อยู่บนธนบัตรมาเป็นเวลานานแล้ว และเราต้องพิจารณาด้วยนะครับว่าตอนนี้เรามีปัญหาใหญ่อีกมากที่ต้องจัดการ"[12] ในปี 2021 รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของโจ ไบเดิน ได้กลับมาเดินหน้าแผนการนี้ต่อ[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Larson 2004, p. 16.
  2. Armstrong 2022, p. 56.
  3. Humez 2003, p. 156.
  4. Larson 2004, p. xvii.
  5. Clinton 2004, p. 192.
  6. Hobson 2014, pp. 50–77.
  7. Larson 2004, p. xv.
  8. Larson 2004, p. xx.
  9. Swanson, Ana; Ohlheiser, Abby (April 20, 2016). "U.S. to Keep Hamilton on Front of $10 Bill, Put Portrait of Harriet Tubman on $20 Bill". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ April 20, 2016.
  10. Liptak, Kevin; Sanfuentes, Antoine; Wattles, Jackie (April 21, 2016). "Harriet Tubman Will Be Face of the $20". CNN. สืบค้นเมื่อ April 21, 2016.
  11. Calmes, Jackie (April 20, 2016). "Harriet Tubman Ousts Andrew Jackson in Change for a $20". The New York Times. สืบค้นเมื่อ April 22, 2016.
  12. Temple-West, Patrick (August 31, 2017). "Mnuchin Dismisses Question about Putting Harriet Tubman on $20 Bill". Politico. สืบค้นเมื่อ September 6, 2017.
  13. Rappeport, Alan (January 25, 2021). "Biden's Treasury Will Seek to Put Harriet Tubman on the $20 Bill, an Effort the Trump Administration Halted". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 26, 2021.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]