แอลแคปโทนิวเรีย
แอลแคปโทนิวเรีย (Alkaptonuria) | |
---|---|
ชื่ออื่น | โรคปัสสาวะสีดำ (Black urine disease), โรคกระดูกสันหลัง (black bone disease), แอลแคปโทนิวเรีย (alcaptonuria) |
ใบหน้าของผู้ป่วยแสดงการเปลี่ยนสี | |
สาขาวิชา | วิทยาต่อมไร้ท่อ |
แอลแคปโทนิวเรีย หรือ แอลแคปโทนูเรีย (Alkaptonuria) เป็นโรคพันธุกรรมหายากชนิดหนึ่งที่เกิดจากมิวเทชั่นในยีน HGD สำหรับเอนไซม์ฮอมอเจนทิเสต 1,2-ไดออกซีจีเนส (homogentisate 1,2-dioxygenase — EC 1.13.11.5) ร่างกายของผู้ป่วยจะเกิดการสะสมของสารอินเทอร์มีเดียทที่เรียกว่า กรดฮอมอเจนทิสิก (homogentisic acid) หรือฮอมอเจนทิเสต (homogentisate) ในเลือดและเนื้อเยื่อ กรดฮอมอเจนทิเสต และอัลคัปโทน (alkapton) ซึ่งเป็นรูปออกไซด์ จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะและอุจจาระส่งผลให้เกิดสีที่ดำเข้มผิดปกติ กรดฮอมอเจนติสิกสามารถสร้างอันตรายต่อกระดูกอ่อน (ซึ่งเรียกส่าอาการ ออครอนอซิส; ochronosis ซึ่งอาจนำไปสู่ ออสทีโออาร์ธริทิส; osteoarthritis) และ ลิ้นหัวใจ เช่นเดียวกับเร่งให้เกิดนิ่วในไตและอวัยวะอื่น ๆ อาการของโรคมักเกิดในผู้ป่วยที่อายุเกินสามสิบปี ในขณะที่การเปลี่ยนสีของปัสสาวะเป็นสีเข้มนั้นสามารถพบได้ตั้งแต่แรกเกิด
ประวัติศาสตร์
[แก้]แอลแคปโทนิวเรียเป็นหนึ่งในสี่โรคที่ Archibald Edward Garrod เคยกล่าวและอธิบายถึงว่าเป็นผลจากการคั่งของสารมัธยันตร์ (intermediates) อันเกิดจากความผิดปกติทางเมทาบอลิก เขาได้เขื่อมโยงอาการ ochronosis เข้ากับการคั่งของสารแอลแคปแทนส์ (alkaptans) ในปี 1902[1][2] มุมมองของเขาต่อโรคนี้และประเด็นศึกษาเกี่ยวกับกรรมพันธุ์ของเขาได้ถูกสรุปเมื่อปี 1908 ในครูออเนียนเลคเชอร์ ที่ราชแพทยาลัยแห่งบริเตน[1][3][4]
ความผิดปกตินี้ได้ถูกจำกัดความลงเหลือที่ความผิดปกติของเอนไซม์โฮโมเจนติเสดออกซิเดสในงานศึกษาจากปี 1958[1][5] พื้นฐานทางพันธุศาสตร์ได้ถูกทำให้กระจ่างในปี 1996 เมื่อมิวเทชั่นในยีน HGD ได้ถูกค้นพบ[1][6]
ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งจากปี 1977 พบว่ามัมมี่อียิปต์โบราณหนึ่งอาจมีอาการของโรคแอลแคปโทนิวเรีย[7][8]
อาการ
[แก้]ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการในวัยเด็กหรือวัยรุ่น แต่ปัสสาวะอาจพบเป็นสีน้ำตาลหรือดำเมื่อถูกเก็บตัวอย่างมาทิ้งไว้ในอากาศ[9] การเกิดสีเข้มนี้สามารถพบได้ในกระดูกอ่อนรวมถึงใบหู,[9][10] และส่วนตาขาว กับ คอร์เนียลลิมบัส ของดวงตา[11]
การรักษา
[แก้]ไม่มีการรักษาใดที่แสดงมห้เห็นอย่างชัดเจนส่าสามารถรักษาอาหารต่าง ๆ ของแอลแคปทอนิวเรียได้ การรักษาหลัก ๆ จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการของ ochronosis ผ่านการลดระดับกรดโฮโมเจนติสิกในเลือด หนึ่งในวิธีรักษาที่พบมากคือการให้ผู้ป่วยรับกรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) ขนานใหญ่ หรือจำกัดการรับประทานกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยวิตามินซีนี้ไม่ได้มีผลการรักษาที่เป็นประสิทธิภาพอย่างชัดเจน[9] และในการศึกษาทางคลินิกพบว่าการลดการทานฟีนิลอะลานีนลง (ซึ่งทำได้ยาก) ก็ไม่ได้แสดงผลที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน[9]
งานซึกษาจำนวนหนึ่งเสนอว่ายาฆ่าหญ้า nitisinone อาจมีผระสิทธิภาพในการรักษาแอลแคปทอนิวเรีย เนื่องจากมันจะไปยับยั้งเอนไซม์ 4-hydroxyphenylpyruvate dioxygenase ซึ่งจะแปลงไทรอซีนไปเป็นกรดโฮโมเจนติสิก จึงสามารถลดการคั่งของโฮโมเจนติเสดในเลือดได้ การศึกษาพบว่าการรักษาด้วยยาตัวนี้สามารถลดปริมาณโฮโมเจนติเสดในเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยลงได้มากถึง 95%[9] ปัญหาหลักประการเดียวคือไม่มีผู้สดทราบถึงความเสี่ยงระยะยาวของการสะสมของไทรอซีนในร่างกาย โดยเฉพาะความเป็นไปได้ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระจกตา การรักษาวิธีนี้ในระยะยาวจำเป็นต้องมีการนิดตามผลข้างเคียงโดยตลอด[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อZatkova2011
- ↑ Garrod AE (1902). "The incidence of alkaptonuria: a study in clinical individuality". Lancet. 2 (4137): 1616–1620. doi:10.1016/S0140-6736(01)41972-6. PMC 2230159. PMID 8784780. Reproduced in Garrod AE (2002). "The incidence of alkaptonuria: a study in chemical individuality. 1902 classical article". Yale Journal of Biology and Medicine. 75 (4): 221–31. PMC 2588790. PMID 12784973.
- ↑ Garrod AE (1908). "The Croonian lectures on inborn errors of metabolism: lecture II: alkaptonuria". Lancet. 2 (4428): 73–79. doi:10.1016/s0140-6736(01)78041-5.
- ↑ Garrod AE (1909). "Inborn errors of metabolism". Oxford University Press. OL 7116744M.
- ↑ La Du BN, Zannoni VG, Laster L, Seegmiller JE (1 January 1958). "The nature of the defect in tyrosine metabolism in alcaptonuria". Journal of Biological Chemistry. 230 (1): 251–60. PMID 13502394. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-31. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
- ↑ Fernández-Cañón JM, Granadino B, Beltrán-Valero de Bernabé D, และคณะ (1996). "The molecular basis of alkaptonuria". Nature Genetics. 14 (1): 19–24. doi:10.1038/ng0996-19. PMID 8782815.
- ↑ Stenn FF, Milgram JW, Lee SL, Weigand RJ, Veis A (1977). "Biochemical identification of homogentisic acid pigment in an ochronotic egyptian mummy". Science. 197 (4303): 566–8. Bibcode:1977Sci...197..566S. doi:10.1126/science.327549. PMID 327549.
- ↑ Lee, SL.; Stenn, FF. (Jul 1978). "Characterization of mummy bone ochronotic pigment". JAMA. 240 (2): 136–8. doi:10.1001/jama.1978.03290020058024. PMID 351220.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Ranganath LR, Jarvis JC, Gallagher JA (May 2013). "Recent advances in management of alkaptonuria (invited review; best practice article)". J. Clin. Pathol. 66 (5): 367–73. doi:10.1136/jclinpath-2012-200877. PMID 23486607.
- ↑ Speeckaert R, Van Gele M, Speeckaert MM, Lambert J, van Geel N (July 2014). "The biology of hyperpigmentation syndromes". Pigment Cell Melanoma Res. 27 (4): 512–24. doi:10.1111/pcmr.12235. PMID 24612852.
- ↑ Lindner, Moritz; Bertelmann, Thomas (2014-01-30). "On the ocular findings in ochronosis: a systematic review of literature". BMC Ophthalmology (ภาษาอังกฤษ). 14 (1): 12. doi:10.1186/1471-2415-14-12. ISSN 1471-2415. PMC 3915032. PMID 24479547.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |