แอนนา อริสา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนนา อริสา
เกิดผุสดี อินอุ่นโชติ
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (39 ปี)
จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไท
ชื่ออื่นแอนนา อริสา
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
ผลงานเด่นสาวร้อยเกินเอิ้นแฟน (2545)
ฮักหลายพ่ายกระเทย (2545)
อดมีแฟนคนร้อยเอ็ด (2546)
หล่อโดนใจ (2548)
อ้ายอีหลีเพราะ EMS (2549)
บิดามารดา
  • จำปี อินอุ่นโชติ (บิดา)
  • ราตรี อินอุ่นโชติ (มารดา)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2546–พ.ศ. 2555
ค่ายเพลงนพพร ซิลเวอร์โกลด์

ผุสดี อินอุ่นโชติ เป็นนักร้องลูกทุ่งหมอลำและแนวโฟล์คหญิง ภายใต้สังกัดนพพร ซิลเวอร์โกลด์ มีชื่อในวงการเพลงว่า แอนนา อริสา จากการตั้งให้โดยคุณพนม นพพร ผู้บริหารค่ายเพลงดังกล่าว แอนนามีชื่อเสียงตั้งแต่พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ออกอัลบั้มเดี่ยวมาแล้วหลายชุด มีเพลงดังได้แก่พลง สาวร้อยเกินเอิ้นแฟน , ฮักหลายพ่ายกระเทย,อดมีแฟนคนร้อยเอ็ด , หล่อโดนใจ , ฮักอ้ายอีหลีเพราะ EMS เป็นต้น

แอนนา อริสา เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรสาวคนสุดท้อง ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของนายจำปี อินอุ่นโชติ และ นางราตรี อินอุ่นโชติ เธอชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะเพลงหมอลำ เธอโด่นเด่นที่เสียงเอื้อนอันเป็นเอกลักษณ์ของเธอ

ประวัติ[แก้]

แอนนา อริสา เป็นชื่อในวงการเพลงของเธอ โดยการตั้งให้ของอาโอ (พนม นพพร) เจ้าของค่ายเพลงนพพร ซิลเวอร์โกลด์ เธอมีชื่อจริงว่า ผุสดี อินอุ่นโชติ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ดโดยกำเนิด เธอชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่วัยเด็ก พออายุ 6 ปี พ่อกับแม่จึงให้แอนนาเข้าเรียนที่โรงเรียนชุมชนบ้านสีแก้ว และด้วยนิสัยชอบร้องเพลงนั่นเอง ทำให้คุณครูที่เห็นแวว จึงให้เธอเป็นนักร้องประจำโรงเรียน เวลามีกิจกรรมก็ให้แอนนาคอยเป็นคนนำน้องๆ ร้องเพลงอยู่เสมอ

จนกระทั่งจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แอนนาคิดอยากจะไปเรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด แต่ครูที่โรงเรียนชุมชนบ้านสีแก้วไม่อยากให้ไปเรียนต่อที่อื่น พ่อจึงให้คำปรึกษาว่าเราชอบทางไหนก็ให้ตัดสินใจไปทางนั้น ไม่ใช่เห็นเพื่อนเรียนก็เรียนตามเพื่อน แอนนาจึงกลับมาคิดว่าตัวเองชอบการร้องลำจึงตัดสินใจเรียนต่อที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ซึ่งที่นี่แอนนาก็เป็นนักร้องเช่นเคย เวลาวิทยาลัยรับงานแสดงไว้ ก็จะไปกับคณะทุกครั้ง พอขึ้นปี 2 อาจารย์ก็ให้ออกไปแสดงที่กรุงเทพฯ ( ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า ) เป็นเวลา 12 วัน ได้รับค่าแสดงคนละ 2,500 บาท รู้สึกดีใจมากที่มีเงินให้พ่อกับแม่เป็นครั้งแรก ต่อมาอาจารย์ที่วิทยาลัยได้พาแอนนาไปประกวดร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติและเพลงจากพระบรมราโชวาทชิงทุนการศึกษา เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมครบรอบ 6 พรรษา 5 ธันวาคม 2542 รอบชิงชนะเลิศภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแอนนาก็ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทหญิงเดี่ยว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในวันที่ 24 ตุลาคม 2542

จุดเริ่มต้นการร้องเพลง[แก้]

คุณพ่อร้อยเอ็ด เพชรสยาม (ซึ่งเป็นคุณอาของแอนนา) เห็นแววว่าน่าจะเป็นนักร้องลูกทุ่งได้ จึงพาไปอัดเสียงร้องใส่เทปคาสเซทและได้ส่งเทปไปให้คุณโอ๋ โคราชฟัง พอคุณโอ๋ โคราชได้ฟังก็เลยพาแอนนาไปเทสต์เสียงกับอาโอ พนม นพพร เจ้าของเพลงค่ายนพพร ซิลเวอร์โกลด์ จนในที่สุดแอนนาก็ได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องของค่ายนพพร ซิลเวอร์โกลด์ และได้ตั้งชื่อใหม่ที่ใช้ในวงการลูกทุ่งหมอลำว่า แอนนา อริสา พอได้เพลงมาแอนนาก็ใช้เวลาซ้อมร้องเพลงอยู่นานทีเดียว เพราะอาโอต้องการฝึกให้แอนนาออกเสียงร้องให้ชัดเจนและถูกต้อง เพื่อให้งานออกมาดีมีคุณภาพ ในที่สุดก็ได้มีอัลบั้มชุดแรก "สาวร้อยเกินเอิ้นแฟน" ในปีพ.ศ. 2545 แอนนาตั้งใจทุ่มเทแรงกายแรงใจเพราะการเป็นนักร้องคือความใฝ่ฝันของเธอ ในที่สุดความฝันก็เป็นจริง[1]

หลังจากมีผลงานอัลบั้มชุดแรกให้แฟนเพลงชาวอีสานเปิดใจต้อนรับนักร้องน้องใหม่คนนี้กันไปแล้ว เธอก็มีผลงานออกมาอย่างต่อเนื่องก็คือ อัลบั้ม ฮักหลาย..พ่ายกระเทย , อดมีแฟนคนร้อยเอ็ด , หล่อโดนใจ และ ฮักฮ้ายอีหลีเพราะ EMS

รวมถึงผลงานการแสดงลำเรื่องต่อกลอนร่วมกับคณะโขง ชี มูล อาทิ นางผมหอม , นางแตงอ่อน , โสนน้อยเรือนงาม และ แก้วหน้าม้า ภาพยนตร์วีซีดีเรื่อง มนต์ฮักบ้านเฮา และยุทธการกล้วยไม้ป่า

ผลงานเพลง[แก้]

อัลบั้ม "สาวร้อยเกินเอิ้นแฟน" (มกราคม 2545)[แก้]

  1. สาวร้อยเกินเอิ้นแฟน
  2. คิดฮอดอ้ายบุญชู
  3. อ้ายทิดลืมทุ่ง
  4. นึ่งข้าวคอยเก้อ
  5. ดอกหญ้าริมทาง
  6. เกี่ยวข้าวดอรอแฟน
  7. อ้ายหนุ่มเทคโน
  8. ชายเป็นตาซัง
  9. คักขนาด
  10. ฉากรักฉากชีวิต
  11. ทำได้อย่างไร

อัลบั้ม "ฮักหลายพ่ายกระเทย" (พฤศจิกายน 2545)[แก้]

  1. ฮักหลายพ่ายกะเทย
  2. อวยพรตอนแต่ง
  3. อึ่งร้องน้องสะอื้น
  4. เมียป๋าเมิ๊ดปี
  5. มักบ่สาวอีสาน
  6. ลืมสาวร้อยเอ็ด
  7. มักบ่าวมีรถ
  8. มิดเลยรูปหล่อ
  9. ซังคนขี้คุย
  10. ซ่อนรักไว้ใต้คำชัง

อัลบั้ม "อดมีแฟนคนร้อยเอ็ด" (มกราคม 2547)[แก้]

  1. อดมีแฟนคนร้อยเอ็ด
  2. ให้ฟ่าวมาขอ
  3. หมูร้องน้องช้ำ
  4. เดี๋ยวจัดให้
  5. โทรศัพท์ผิดเบอร์
  6. คึดฮอดอ้ายแดง
  7. อ้ายดาวรูปหล่อ
  8. รักหนุ่ม ปวส.
  9. คนบ่ใจ
  10. ทำได้อย่างไร

อัลบั้ม "หล่อโดนใจ" (กรกฎาคม 2548)[แก้]

  1. หล่อโดนใจ
  2. ลางสังหรณ์
  3. ฮักคนเว้าใต้
  4. ทั้งเบิ่งทั้งมอง
  5. สาวแหล่โดนหลอก
  6. แฟ้มดำช้ำรัก
  7. เข้ามาถะแมะ
  8. อ้ายเว้าบ่จริง
  9. ขอยาดมข่อยแน
  10. ปริญญาล้างรถ

อัลบั้ม "ฮักอ้ายอีหลีเพราะ EMS" (พฤศจิกายน 2549)[แก้]

  1. ฮักอ้ายอีหลีเพราะ EMS
  2. อย่ามองน้องอาย
  3. ซอยข่อยแน่
  4. โทรหาเฮ็ดหยัง
  5. เมาแล้วม่วน
  6. ฮู้ไว้บ้างเด้อ
  7. คึดฮอดหล้ายหลาย
  8. ผู้ชายวัยทอง
  9. แฟนเปลี่ยนฟอร์ม
  10. แอบรักพี่เขย


อัลบั้ม "โอ้ยเนาะซังหลาย" (กุมภาพันธ์ 2551)[แก้]

  1. กำพร้าฝน
  2. ข่อยว่าวแม่นบ่
  3. คอยเก้อหน้าโรงงาน
  4. ใจร้าววันเข้าพรรษา
  5. พี่บ่าวลืมสาวร้อยเอ็ด
  6. สงครามน้ำตา
  7. สาวนาลาทุ่ง
  8. อยากเมือบ้านจัง
  9. อ้ายเชียงเหมี่ยงลืมเถียงนา
  10. โอ้ยเนาะซังหลาย

อัลบั้มอื่นๆ ·[แก้]

  • อัลบั้ม เทศกาลงานบุญ 12 เพลงดัง (รวม 12 ศิลปินค่ายนพพรฯ) (ตุลาคม 2548)
  • อัลบั้ม ลอยกระทง ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ (ร่วมกับศิลปินค่ายนพพรฯ) (2545-2546,2548)
  • อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนต์วีซีดีเรื่อง ยุทธการกล้วยไม้ป่า (พ.ศ. 2549)

ผลงานการแสดง[แก้]

  • ภาพยนตร์วีซีดีเรื่อง มนต์ฮักบ้านเฮา (2548) ) / เป็นภาพยนต์ที่จัดจำหน่ายโดย นพพร ซิลเวอร์โกลด์ ในรูปแบบวีซีดี และดีวีดี ไม่ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์แต่อย่างใด
  • ภาพยนตร์วีซีดีเรื่อง แม่ครัวหัวไข่ (2549) / เป็นภาพยนต์ที่จัดจำหน่ายโดย นพพร ซิลเวอร์โกลด์ ในรูปแบบวีซีดี และดีวีดี ไม่ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์แต่อย่างใด
  • ภาพยนตร์เรื่อง ยุทธการกล้วยไม้ป่า (2550) ) / เป็นภาพยนต์ที่จัดจำหน่ายโดย นพพร ซิลเวอร์โกลด์ ในรูปแบบวีซีดี และดีวีดี ไม่ได้ออกฉายในโรงภาพยนตร์แต่อย่างใด

อ้างอิง[แก้]

  1. picpostศิลปินสังกัด นพพร ซิลเวอร์โกลด์]. เรียกดูเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]