แสมดำ
แสมดำ | |
---|---|
![]() | |
Indian mangrove | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Acanthaceae |
สกุล: | Avicennia |
สปีชีส์: | A. officinalis |
ชื่อทวินาม | |
Avicennia officinalis L. |
แสมดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Avicennia officinalis) เป็นพืชในป่าชายเลน พบได้ทั้งหาดทรายปนเลนและหาดเลน เป็นแนวป่าที่ช่วยดักตะกอนดินสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน รากเป็นร่างแห มีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นดิน เปลือกต้นเรียบ สีเขียวเข้มถึงเทาเข้ม ใบแตกตรงข้ามเป็นคู่ ใต้ใบไม่ซีดแบบแสมขาว ใบหนาอวบน้ำป้องกันการสูญเสียน้ำ มีต่อมเกลือที่ใบช่วยขับเกลือออก ดอกสีขาว-เหลือง 4 กลีบ เป็นช่อคล้ายดอกแสมขาว แต่ดอกใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกระเปาะคล้ายแสมขาว แต่สั้นกว่า ผลเป็นรูปหยดน้ำ ปลายผลงอ มีขนสีน้ำตาลอ่อนคลุมทั้งผล ผลลอยน้ำได้
การใช้ประโยชน์[แก้]
มีสารแทนนินในเปลือกใช้ฟอกหนัง ผลใช้ทำขนมลูกแสมซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้ โดยนำลูกแสมมาแกะไส้กลางซึ่งเป็นเอ็มบริโอออกไปก่อน นำไปต้มไล่ความขมออกหลายน้ำจนจืด นำลูกแสมต้มนี้ไปคลุกเกลือรับประทาน หรือนำไปผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำตาลปี๊บ แล้วนำไปนึ่ง ลูกแสมที่นิยมนำมาทำขนมจะเป็นผลอ่อน เปลือกสีเขียวอ่อน ถ้าผลแก่จะใช้ทำขนมไม่ได้
อ้างอิง[แก้]
- จักกริช พวงแก้ว สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิช วิภาพรรณ นาคแพน. นักสืบชายหาด: พืชและสัตว์ชายหาด. กทม. มูลนิธิโลกสีเขียว. 2549 หน้า 155
- เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 168
- Linnaei, Caroli; Salvii, Laurentii (1753). "Tetrandria Monogynia". Species plantarum :[[Species plantarum|exhibentes plantas rite cognitas, ad genera relatas, cum differentiis specificis, nominibus trivialibus, synonymis selectis, locis natalibus, secundum systema sexuale digestas]] (html). Tomus I. Stockholm: Impensis Laurentii Salvii. p. 110. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31. URL–wikilink conflict (help)
- Linnaeus, Carl (1775-11-05). "Avicennia officinalis L." (html). Linnean herbarium. Stockholm: Department of Phanerogamic Botany, Swedish Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31.
- "Index Nominum Genericorum -- Avicennia" (html). International Code of Botanical Nomenclature. Washington, D.C.: Smithsonian Museum of Natural History. สืบค้นเมื่อ 2009-03-31.