ข้ามไปเนื้อหา

แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์
ผู้พัฒนาลูกา กาลันเต
ผู้จัดจำหน่ายลูกา กาลันเต
แต่งเพลงดานีเอเล ซันดารา
ฟีลิปโป วีกาเรลลี
เครื่องเล่นไมโครซอฟท์ วินโดวส์
แมคโอเอส
วางจำหน่าย20 ตุลาคม 2565
แนวโรกไลก์
ยิงแหลก
รูปแบบวิดีโอเกมผู้เล่นเดี่ยว

แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ เป็นวิดีโอเกมแนวโรกไลก์ยิงแหลก (ชูตเอ็มอัป) ซึ่งพัฒนาและเผยแพร่โดยลูกา กาลันเต ผู้เป็นที่รู้จักในอีกชื่อ poncle เกมปล่อยฉบับเออร์ลีแอ็กเซส (early access) ออกมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 และวางจำหน่ายอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565[1]

ผู้เล่นจะควบคุมตัวละครที่โจมตีแบบอัตโนมัติขณะที่กำลังต่อสู้กับสัตว์ประหลาดที่มาเป็นระลอกต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้เอาชีวิตรอดจากการจู่โจมให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้และปลดล็อกตัวละคร อาวุธ และวัตถุเรลิกเพิ่มเติมเพื่อใช้ต่อไปในการเล่นครั้งถัดไป และแม้ว่าชื่อและงานศิลปะหลักของเกมจะประกอบด้วยแวมไพร์ สัตว์ประหลาดที่จะต้องเผชิญหน้าทุก ๆ ชนิดไม่มีชนิดใดเลยที่เป็นแวมไพร์

รูปแบบการเล่น[แก้]

ผู้เล่นจะเลือกหนึ่งในตัวละครต่าง ๆ ที่มีพลังวิเศษและอาวุธเริ่มต้นที่ต่างกัน และควบคุมตัวละครนั้นผ่านแผนที่ที่ไม่มีจุดจุบที่มีแผนผังซ้ำที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ อาวุธของผู้เล่นจะโจมตีแบบอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายให้เอาชีวิตรอดให้นานที่สุดเท่าที่ทำได้จากการจู่โจมของสัตว์ประหลาดที่มาเป็นระลอกต่อเนื่องซึ่งจะสร้างความเสียหายเมื่อสัมผัสโดนผู้เล่น ผู้เล่นจะสามารถเก็บเกี่ยวอัญมณีแต้มประสบการณ์ได้จากการเอาชนะสัตว์ประหลาดและการสำรวจแผนที่ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มเลเวล หรือ "floor chicken" (ไก่พื้น) เพื่อฟื้นฟูเลือดของผู้เล่นและไอเทมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกสามหรือสี่ตัวเลือกสำหรับอาวุธและพลังวิเศษตั้งรับเพิ่มในทุก ๆ ครั้งที่เลเวลสูงขึ้น และเมื่อผู้เล่นสะสมอาวุธกับพลังวิเศษได้ครบอย่างละหกชนิดแล้วและได้อัปเกรดจนสุดแล้ว ผู้เล่นจะได้รับเฉพาะเหรียญทองหรือไก่เพิ่มเท่านั้นในทุก ๆ ครั้งที่เลเวลสูงขึ้น นอกจากนี้แล้วก็สามารถอัปเกรดอาวุธและพลังวิเศษได้อีกทางด้วยการเปิดหีบซึ่งหล่นจากสัตว์ประหลาดที่มีพลังมากเป็นพิเศษ โดยอาจมีไอเทมอยู่หนึ่ง สาม หรือห้าชิ้น อาวุธส่วนใหญ่มีรูปขั้นสุดท้ายซึ่งจะได้จากการเปิดหีบหลังจากได้อัปเกรดพวกมันจนสุดแล้วและประกอบด้วยเงื่อนไขเฉพาะอื่น ๆ[2][3]

การเล่น แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ แต่ละรอบมีจำกัดเวลาแบบอ่อนอยู่ที่ 15 หรือ 30 นาทีขึ้นอยู่กับว่าเลือกเล่นแผนที่ไหน เมื่อถึงจำกัดเวลาแล้ว แผนที่จะถูกล้างและศัตรูตัวสุดท้ายซึ่งแข็งแกร่งอย่างมากชื่อว่า "Death" จะปรากฏตัว โดยจะมี Death ปรากฏตัวออกมาทุก ๆ หนึ่งนาทีเพื่อให้ผู้เล่นต้องตายลงในที่สุด การเล่นครั้งใดที่ถึงหรือเลยจำกัดเวลาของแผนที่ไปจะถือว่าเป็นการเล่นจบเกมโดยสำเร็จ และจะได้รางวัลเหรียญทองเพิ่ม ในระหว่างแต่ละเกมจะสามารถใช้เหรียญทองซึ่งสะสมไว้เพื่อปลดล็อกตัวละครใหม่ ๆ และพลังวิเศษถาวรได้ นอกจากนั้น เมื่อสำเร็จคำท้าแล้วผู้เล่นก็จะสามารถปลดล็อคแผนที่ อาวุธ และตัวละครใหม่ ๆ ได้

เนื้อเรื่อง[แก้]

ฉากของเกมแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์อยู่ในชนบทอิตาลีใน พ.ศ. 2564 ฝูงสัตว์ประหลาดที่ Bisconte Draculó เสกขึ้นมาทำลายล้างแผ่นดิน ครอบครัว Belpaese และผู้รอดชีวิตวีรบุรุษคนอื่น ๆ ถือเป็นหน้าที่ของพวกเขาในการไล่ล่าและเอาชนะ Draculó ให้จนได้[4] ภารกิจนี้นำพาพวกเขาผ่านพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสัตว์ประหลาด ไม่ว่าจะเป็นป่าต้องคำสาป ห้องสมุดผีสิง โรงงานนมร้าง หอคอยลางร้าย และวิหารต่างโลก

การพัฒนา[แก้]

นักพัฒนาลูกา "poncle" กาลันเต ได้อธิบายว่าเขาสร้างเกมแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ขึ้นมาเพราะเขาอยากจัดการชุมชน อย่างที่เขาเคยมีประสบการณ์เป็นผู้ดูแลในเซิร์ฟเวอร์เกมอัลติมาออนไลน์ (Ultima Online) มาก่อน โดยเกมได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมมือถือ Magic Survival ซึ่งมีตัวละครที่โจมตีศัตรูแบบอัตโนมัติเช่นกัน ขั้นพัฒนาฉบับเออร์ลีแอ็กเซสใช้เวลาประมาณหนึ่งปี และกาลันเตใช้เงินประมาณ 1100 ปอนด์สเตอร์ลิงไปกับแอสเซ็ต ศิลปะ และดนตรี[5]

ความสำเร็จของเกมเกินความคาดหวังของกาลันเต และทำให้เขาสามารถลาออกจากงานของเขาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เพื่อมุ่งพัฒนาเกมอย่างเต็มตัว เขาได้ "เพื่อนบางคน" มาช่วยเขาอย่างไม่เป็นทางการในเวลาว่าง เนื้อหาที่วางแผนไว้มีอาวุธ ตัวละคร และแผนที่เพิ่มเติม รวมทั้ง "โหมดไม่มีที่สิ้นสุด" กาลันเตตั้งใจจะเอาเกมแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ออกจากเออร์ลีแอ็กเซสภายในปลาย พ.ศ. 2565[6]

ในวันที่ 24 มีนาคม 2022 กาลันเตประกาศว่าเขาได้จ้างฟรีแลนซ์เซอร์หลายคนเพื่อขยายทีมแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์แล้วอัตราการพัฒนาก็เร็วขึ้น นอกจากเขาได้วางแผนเค้าโครงขอบเขตของเนื้อหาใหม่ที่สัญญาไว้ กาลันเตยังได้อธิบายว่าหมุดหมายหลักซึ่งได้ตั้งไว้สำหรับฤดูร้อนปี 2565 คือการพอร์ตเกมแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ไปยังเกมเอนจิน "มาตรฐานอุตสาหกรรม" เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทั่วไปของมัน[7]

การตอบรับ[แก้]

แม้ว่าแวมไพร์เซอร์ไวเวอส์เมื่อปล่อยออกมาตอนแรกไม่เป็นที่รู้จัก แต่เมื่อปลายเดือนมกราคม 2565 ก็ได้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาและมีผู้เล่นสูงถึง 30,000 คนพร้อมกันบนสตีม[5][8] ตัวเลขนี้สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนผู้เล่นมากกว่า 70,000 คนพร้อมกันในเดือนถัดมา[9] แม้ว่าไม่ใช่เกมแรกในแนวนี้ แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์กลับทำให้มีเกมอื่นหลายเกมที่มีรูปแบบการเล่นอัตโนมัติและการเดินหน้าแบบโรกไลก์ปล่อยออกมาในปีต่อ ๆ มา ซึ่งส่วนมากในราคาต่ำและอยู่ในเออร์ลีแอ็กเซส[10]

เอียน วอล์กเกอร์ (Ian Walker) จากโคตากุ (Kotaku) และเกรอัม สมิธ (Graham Smith) จากร็อก เปเปอร์ ช็อทกัน (Rock Paper Shotgun) ได้ยกย่องเกมนี้โดยเปรียบเทียบเหมือนกับโดปามีน[2][11] นิโคล คาร์เปนเตอร์ (Nicole Carpenter) จากเว็บไซต์โพลีกอน (Polygon (website)) ได้กล่าวถึงความลึกของเกม โดยกล่าวว่า "ฉันไม่เห็นสตรีมเมอร์ (Online streamer) คนไหนที่เห็นเล่นเกมนี้เหมือนกันเลยสักคน"[a][3] แอรอน ซิมเมอร์แมน จากอาร์ซ เทกนิกา (Ars Technica) ยกให้แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์เป็นตัวเลือกของเขาสำหรับเกมแห่งปี[10]

แวมไพร์เซอร์ไวเวอส์ถูกเสนอชื่อในหมวดหมู่ Best Early Access Launch สำหรับรางวัลโกลเดินจอยสติก (Golden Joystick Awards)[12]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แปลจาก "no one streamer I've watched played entirely the same"

อ้างอิง[แก้]

  1. @poncle_vampire (October 20, 2022). "Vampire Survivors v1.0 is officially OUT NOW!" (ทวีต). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ตุลาคม 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  2. 2.0 2.1 Smith, Graham (25 มกราคม 2022). "Vampire Survivors is a pure hit of dopamine". Rock, Paper, Shotgun (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2022.
  3. 3.0 3.1 Carpenter, Nicole (27 มกราคม 2022). "Vampire Survivors is no thoughts, just spells". Polygon (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2022.
  4. "Vampire Survivors by poncle". itch.io (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2022.
  5. 5.0 5.1 Klepek, Patrick (27 มกราคม 2022). "How 'Vampire Survivors' Went From Obscurity to 27,000 People Playing at Once". ไวซ์ (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2022.
  6. Brown, Andy (3 กุมภาพันธ์ 2022). "'Vampire Survivors' creator Luca Galante talks quitting his job to fulfil his promise". เอ็นเอ็มอี (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2022.
  7. "Development Roadmap Overview and updates on the plan for Early Access". สตีม (ซอฟต์แวร์) (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2022.
  8. Moore, Jared (27 มกราคม 2022). "Vampire Survivors Is a Beautiful $3 Nightmare Taking Over Steam". ไอจีเอ็น (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2022.
  9. Just, Christian (19 กุมภาพันธ์ 2022). "Vampire Survivors: Steam-Phänomen mausert sich zum Schwergewicht". GameStar (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2022.
  10. 10.0 10.1 Zimmerman, Aaron (20 ตุลาคม 2022). "Vampire Survivors—a cheap, minimalistic indie game—is my game of the year". Ars Technica. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Walker, Ian (21 มกราคม 2022). "Castlevania-Inspired Roguelike Is Pure Dopamine". Kotaku (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2022.
  12. Jones, Ali (20 ตุลาคม 2022). "Time is running out to cast your vote in the Golden Joystick Awards 2022". GamesRadar+. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2022.