แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย ค.ศ. 1960

พิกัด: 38°14′S 73°03′W / 38.24°S 73.05°W / -38.24; -73.05
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย
บัลดิเบียหลังแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย ค.ศ. 1960ตั้งอยู่ในชิลี
อิกิเก
อิกิเก
เตมูโก
เตมูโก
แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย ค.ศ. 1960
ปุนตาอาเรนัส
ปุนตาอาเรนัส
เวลาสากลเชิงพิกัด1960-05-22 19:11:14
รหัสเหตุการณ์ ISC879136
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 (1960-05-22)
เวลาท้องถิ่น15:11:14
ระยะเวลาประมาณ 10-11 นาที
ขนาด9.4–9.6 Mw[1]
ความลึก33 กิโลเมตร
ศูนย์กลาง38°14′S 73°03′W / 38.24°S 73.05°W / -38.24; -73.05
ประเภทเมกะทรัสต์
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบประเทศชิลี, ขอบแปซิฟิก
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XII (ภัยพิบัติ) [2]
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.81 g[3]
ความเร็วสูงสุด240.44 cm/s[3]
สึนามิ25 เมตร
แผ่นดินถล่มมี
ผู้ประสบภัย1,000–6,000[4]

แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในบัลดิเบีย ค.ศ. 1960 (อังกฤษ: 1960 Valdivia earthquake and tsunami) หรือแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในชิลี (Gran terremoto de Chile) เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นับแต่มีการบันทึก[5] เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เวลา 15:11 ตามเวลาท้องถิ่น มีขนาดตั้งแต่ 9.4–9.6 ในมาตราขนาดโมเมนต์ สั่นสะเทือนเป็นเวลา 11 นาที ส่งผลให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาส่งผลกระทบต่อชิลีตอนใต้ ฮาวาย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะอะลูเชียน[1]

ศูนย์กลางของแผ่นดินไหวระดับเมกะทรัสต์อยู่ใกล้เมืองลูมาโก ห่างจากกรุงซันติอาโก ไปทางใต้ประมาณ 570 กิโลเมตร (350 ไมล์) ถึงศูนย์กลางจะอยู่ใกล้กับเมืองลูมาโก แต่เมืองบัลดิเบียได้รับความเสียหายมากที่สุด แรงสั่นสะเทือนส่งผลให้เกิดสึนามิพัดถล่มชายฝั่งชิลีอย่างรุนแรงโดยมีคลื่นสูงถึง 25 เมตร (82 ฟุต) และคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกเข้าทำลายเมืองฮิโลในฮาวาย ซึ่งมีการบันทึกคลื่นสูงถึง 10.7 เมตร (35 ฟุต) ในพื้นที่ไกลจากศูนย์กลางกว่า 10,000 กิโลเมตร (6,200 ไมล์)

จํานวนผู้เสียชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจของแผ่นดินไหวในวงกว้างยังไม่เป็นที่แน่ชัด[6] มีการเผยแพร่การประมาณการจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจากแผ่นดินไหวและสึนามิราว 1,000 ถึง 6,000 คน[4] แหล่งข้อมูลต่าง ๆ มีการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจตั้งแต่ 400 ล้าน ดอลลาร์ถึง 800 ล้านดอลลาร์ (หรือ 4.01 พันล้านดอลลาร์ถึง 8.021 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ)[7]

ลำดับการเกิดแผ่นดินไหว[แก้]

แผ่นดินไหวนำ[แก้]

ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่บัลดิเบีย ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชิลีระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 6 มิถุนายน ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นอาเรากานิอา ไอเซน และบิโอบิโอ ใน ค.ศ. 1960 แผ่นดินไหวทั้งสามถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับแผ่นดินไหวตามขนาด

ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 มีแผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดที่กอนเซปซิออน ขนาด 8.1 ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้เมืองกูรานิลาเว ส่งผลให้การสื่อสารโทรคมนาคมทางตอนใต้ของชิลีถูกตัดขาด ฮอร์เฮ อาเลสซันดริ โรดริเกซ ประธานาธิบดีของชิลีในสมัยนั้นได้ประกาศยกเลิกงานรำลึกถึงยุทธการที่อิกิเก เป็นงานรำลึกถึงการสู้รบทางเรือระหว่างชิลีและเปรู ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประธานาธิบดีของชิลีได้ประกาศยกเลิกงานนี้เพื่อพยายามช่วยเหลือฉุกเฉินจากแผ่นดินไหว ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่สองและสามในวันที่ 22 พฤษภาคม เวลา 06:32 UTC-4 ขนาด 7.1 และเวลา 14:55 UTC-4 ขนาด 7.8 แผ่นดินไหวเหล่านี้เป็นแผ่นดินไหวนำ เกิดก่อนแผ่นดินไหวในบัลดิเบียขนาด 9.5 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวหลักเพียง 15 นาที[8]

แผ่นดินไหวได้ส่งผลกระทบต่อการเดินขบวนของคนงานเหมืองถ่านหินในเมืองกอนเซปซิออน ที่กำลังเดินขบวนเรียกร้องเงินเดือนให้มากขึ้น[9]

แผ่นดินไหวหลัก[แก้]

แผ่นดินไหวหลัก

แผ่นดินไหวหลักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960 เวลา 15:11 UTC-4 แรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลกระทบต่อชิลีทั้งหมด มากกว่า 400,000 ตารางกิโลเมตร (150,000 ตารางไมล์) ในหมู่บ้านโตลเตนและท่าเรือกอร์รัลซึ่งเป็นท่าเรือหลักของเมืองบัลดิเบีย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 4 เมตร (13 ฟุต) ก่อนที่จะเริ่มลดลงในเวลาต่อมา แต่กระนั้นเมื่อเวลา 16:20 UTC-4 เกิดคลื่นสึนามิสูง 8 ม. (26 ฟุต) ซัดเข้าชายฝั่งชิลีระหว่างเมืองกอนเซปซิออนและกลุ่มเกาะชิโลเอ มีรายงานคลื่นลูกที่สองมีขนาด 10 ม. (33 ฟุต) ในอีกสิบนาทีต่อมา

มีรายงานผู้เสียชีวิตลายร้อยคนเมื่อเกิดสึนามิ มีเรือลำหนึ่งลอยอยู่บริเวณปากแม่น้ำบัลดิเบียแต่ไม่นานก็จมลงหลังจากเคลื่อนที่ไปข้างหน้าตามกระแสน้ำ 1.5 กม. (0.93 ไมล์)[10]

แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวก่อให้เกิดดินทรุดตัวเกิดความเสียหายต่ออาคาร ทำให้แม่น้ำในท้องถิ่นมีความลึกมากขึ้น และเกิดพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น แม่น้ำกรูเซสและอีกหลายแหล่ง แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดน้ำท่วม ระบบไฟฟ้าและน้ำประปาของบัลดิเบียถูกทำลายทั้งหมด มีคนในเหตุการณ์รายงานว่าพบการเกิดแผ่นดินเหลวมีน้ำไหลซึมตามชั้นดิน ต่อมาในวันที่ 21 พฤษภาคม ได้เกิดฝนตกหนักขึ้นแต่เมืองนี้ก็ไม่มีน้ำประปาใช้อยู่ดี แม่น้ำหลายสายเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลจากตะกอนดินถล่ม บางสายเต็มไปด้วยเศษขยะและซากอาคารที่ลอยอยู่ ทำให้การขาดแคลนน้ำดื่มกลายเป็นปัญหาสำคัญที่ร้ายแรงในภูมิภาคที่มีฝนตกชุกที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศชิลี [ต้องการอ้างอิง]

แผ่นดินไหวไม่ได้ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือนทุกพื้นที่เท่ากัน เมื่อวัดด้วยมาตราส่วนเมอร์กัลลีแล้วพบว่าพื้นที่ที่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกจะได้รับผลกระทบมากที่สุด เช่น บัลดิเบีย และปวยร์โตโอกเตย์[11]

หลังจากแผ่นดินไหวสองวันภูเขาไฟปูเยอวยได้เกิดการปะทุขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ภูเขาไฟลูกอื่นอาจปะทุเช่นกันแต่ไม่มีการบันทึกเนื่องจากการติดต่อสื่อสารในชิลีมีปัญหาในขณะนั้น ในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตค่อนข้างต่ำเพียง 5,700 ราย เมื่อเทียบกับเหตุการณ์อื่น อันเนื่องจากความหนาแน่นของประชากรในภูมิภาคนี้ต่ำ และมีการสร้างแนวทางปฏิบัติในการก่อสร้างที่คงทนทานต่อแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวตาม[แก้]

เกิดแผ่นดินไหวตาม (อาฟเตอร์ช็อก) ขนาดใหญ่ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1960 ในแคว้นไอเซน มีขนาด 7.7 เป็นผลมาจากการเคลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนลิกิญเญ-โอฟกิ หมายความว่ารอยเลื่อนจะเคลื่อนได้เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวหลักที่กระทำขึ้น[12]

เปลือกโลก[แก้]

แผ่นดินไหวในบัลดิเบีย (สีฟ้าอ่อนในกราฟล่างซ้าย) ปลดปล่อยพลังงานเกือบหนึ่งในสี่ของแผ่นดินไหวทั่วโลกระหว่างปี 1906 ถึง 2005

แผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวเมกะทรัสต์ที่เกิดจากการปลดปล่อยความเค้นในเชิงกลระหว่างแผ่นนัซกาที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ก่อให้เกิดร่องลึกเปรู-ชิลีที่ค่อนข้างตื้นเพียง 33 กม. (21 ไมล์) มีการพิจราณาว่าหากเกิดผ่นดินไหวทางตอนเหนือของชิลีและอาร์เจนตินาอาจลึกถึง 70 กม. (43 ไมล์)

ในงานวิจัยล่าสุดใน ค.ศ. 2019 ระบุว่า รอยเลื่อนลิกิญเญ-โอฟกิที่เกิดจากกิจกรรมการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอาจเป็นต้นกำเนิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่สมมติฐานนี้ก็ถูกปัดตกเพราะรอยเลื่อนภายในเปลือกโลกไม่น่าจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ใหญ่ขนาดนี้ และปัจจุบันได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เกี่ยวข้องกับร่องลึกเปรู - ชิลี[13][14]

เป็นที่ทราบทั่วไปว่าเขตมุดตัวของเปลือกโลกจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เนื่องจากโครงสร้างเฉพาะของเขตดังกล่าวจะทำให้เกิดความเครียดสะสมจำนวนมากก่อนที่จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างฉับพลัน เขตมุดตัวมีความยาว 800 กม. (500 ไมล์) ทอดยาวจากอาเราโกไปถึงกลุ่มเกาะชิโลเอ[15][16]

ภัยธรรมชาติ[แก้]

สึนามิ[แก้]

ระยะเวลาเดินทางของสึนามิเมื่อข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกในทุก ๆ หนึ่งชั่วโมง

คลื่นสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหวส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทางตอนใต้ของชิลี ฮาวาย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน[17] ชายฝั่งตะวันออกของนิวซีแลนด์ ชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย และหมู่เกาะอะลูเชียน สึนามิที่ซัดชายฝั่งชิลีบางลูกสูงถึง 25 เมตร (82 ฟุต) คลื่นยังข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงไปทำลายเมืองฮิโลในฮาวายมีผู้เสียชีวิต 61 คน[18] และคลื่นยังเดินทางไปถล่มญี่ปุ่นทำให้มีผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในภูมิภาคซันริกุทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮนชู[19]

ชายฝั่งของชิลีได้รับความเสียหายจากสึนามิตั้งแต่เกาะมอคาไปจนถึงแคว้นไอเซน คลื่นสึนามิที่พัดถล่มภาคใต้ของชิลี ทำให้การสูญเสียต่อชีวิตเป็นอย่างมาก และยังสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ ทำให้เรือขนาดเล็กจมสูญหายจำนวนมาก แต่กลับกันในท่าเรือเมืองตัลกาวาโนแทบไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ มีเพียงน้ำท่วมบางส่วนเท่านั้น [20]

ความเสียหาย[แก้]

ความเสียหายในประเทศญี่ปุ่น[แก้]

อ้างจากบทความ ภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิที่ชิลี พ.ศ. 2503 (การสำรวจภาคสนามปีที่ 50 กุมภาพันธ์ 2010)
บุคคลที่เสียชีวิต
หรือสูญหาย (คน)
บาดเจ็บ (คน) ได้รับผลกระทบ (ครัวเรือน) ผู้ได้รับผลกระทบ (คน) อาคารเสียหาย (หลัง) เรือเสียหาย (ลำ) เขื่อนแตก ถนนเสียหาย สะพานเสียหาย ผลกระทบต่อต้นไม้
142 855 31,120 147,898 46,000 2,534 34 45 14 19,290

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Satake, K.; Atwater, B. (2007), "Long-Term Perspectives on Giant Earthquakes and Tsunamis at Subduction Zones" (PDF), Annual Review of Earth and Planetary Sciences, 35 (1): 355, Bibcode:2007AREPS..35..349S, doi:10.1146/annurev.earth.35.031306.140302, เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2016, สืบค้นเมื่อ 21 March 2016
  2. "Significant Earthquake Database". U.S. Geological Survey. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2016.
  3. 3.0 3.1 "M 9.5 - 1960 Great Chilean Earthquake (Valdivia Earthquake)". USGS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 22 October 2021.
  4. 4.0 4.1 USGS (4 September 2009), PAGER-CAT Earthquake Catalog, Version 2008_06.1, United States Geological Survey, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2020
  5. "แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เกิดขึ้นเมื่อสี่พันปีก่อน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 23 March 2023.
  6. Video: Cataclysm. Volcano, Tidal Waves, Devastate Pacific Area, 1960/05/27 (1960). Universal Newsreel. 1960. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2013. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  7. "The Largest Earthquake in the World – Articles". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2007. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
  8. Barrientos S.E.; Ward S.N. (1990). "The 1960 Chile earthquake: inversion for slip distribution from surface deformation". Geophysical Journal International. 103 (3): 589–598. Bibcode:1990GeoJI.103..589B. doi:10.1111/j.1365-246X.1990.tb05673.x.
  9. Reyes Herrera, Sonia E.; Rodríguez Torrent, Juan Carlos; Medina Hernández, Patricio (2014). "El sufrimiento colectivo de una ciudad minera en declinación. El caso de Lota, Chile". Horizontes Antropológicos (ภาษาสเปน). 20 (42). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 9 February 2017.
  10. Barría, Sandra (1 February 2005). "El domingo en que Valdivia sufrió el terremoto más violento del mundo". La Tercera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2008. สืบค้นเมื่อ 18 July 2012.
  11. Weischet, W.; Von Huene, R. (December 1963). "Further observations of geologic and geomorphic changes resulting from the catastrophic earthquake of May 1960, in Chile". Bulletin of the Seismological Society of America. 53 (6): 1237–1257. Bibcode:1963BuSSA..53.1237W. doi:10.1785/BSSA0530061237. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 May 2015. สืบค้นเมื่อ 15 March 2013.
  12. Kanamori, Hiroo; Rivera, Luis (2017). "An Mw =7.7 slow earthquake in 1960 near the Aysén Fjord region, Chile" (PDF). Geophysical Journal International. 211: 93–106. doi:10.1093/gji/ggx292. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
  13. Kanamori, Hiroo (July 2019). "Evidence for a large strike-slip component during the 1960 Chilean earthquake". Geophysical Journal International. 218 (1): 1–32. doi:10.1093/gji/ggz113. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
  14. Cisternas, M.; Carvajal, M.; Wesson, R.; Ely, L. L.; Gorigoitia, N. (1 November 2017). "Exploring the Historical Earthquakes Preceding the Giant 1960 Chile Earthquake in a Time‐Dependent Seismogenic Zone". Bulletin of the Seismological Society of America. 107 (6): 2664–2675. Bibcode:2017BuSSA.107.2664C. doi:10.1785/0120170103. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
  15. Fujii, Yushiro; Satake, Kenji (1 September 2013). "Slip Distribution and Seismic Moment of the 2010 and 1960 Chilean Earthquakes Inferred from Tsunami Waveforms and Coastal Geodetic Data". Pure and Applied Geophysics (ภาษาอังกฤษ). 170 (9): 1493–1509. Bibcode:2013PApGe.170.1493F. doi:10.1007/s00024-012-0524-2. ISSN 1420-9136.
  16. Kanamori, Hiroo; Cipar, John J. (1974). "Focal Process of the Great Chilean Earthquake May 22, 1960" (PDF). Physics of the Earth and Planetary Interiors. 9 (2): 128. Bibcode:1974PEPI....9..128K. doi:10.1016/0031-9201(74)90029-6. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2016. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  17. "Tsunami Monitoring in Hong Kong". www.weather.gov.hk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2013. สืบค้นเมื่อ 1 February 2018.
  18. Gates, Alexander E.; Ritchie, David. (2009). Encyclopedia of Earthquakes and Volcanoes เก็บถาวร 24 เมษายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Ed. Infobase Publishing. ISBN 9780816072705. p. 49
  19. Cisternas, M.; Carvajal, M.; Wesson, R.; Ely, L.L.; Gorigoitia, N. (2018). "Exploring the Historical Earthquakes Preceding the Giant 1960 Chile Earthquake in a Time-Dependent Seismogenic Zone". Bulletin of the Seismological Society of America. 107 (6): 2664–2675. Bibcode:2017BuSSA.107.2664C. doi:10.1785/0120170103. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2020. สืบค้นเมื่อ 30 August 2020.
  20. Vargas Sáez, Juan Francisco (2000). Historial del Mar de Chile: Algunos Siniestros Marítimos Acaecidos en el Siglo XX (ภาษาสเปน). Valparaíso, Chile. pp. 391–398. ISBN 978-956-288-739-7.