แนปาตา
เสาหลักสุดท้ายของวิหารแห่งอามุนที่เชิงเจเบล บาร์คาล | |
พิกัด | 18°32′N 31°50′E / 18.53°N 31.84°E |
---|
| ||||||
npy แนปาตา[1] ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
แนปาตา /ˈnæpətə/[2] (อียิปต์โบราณ Npt, Npy; เมโรอิติก Napa; กรีกโบราณ: Νάπατα[3] และ Ναπάται[4]) เป็นเมืองของราชอาณาจักรคูชโบราณ ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณแก่งน้ำตกที่สี่ของแม่น้ำไนล์ โดยตั้งอยู่ประมาณ 1.5 กิโลเมตรจากฝั่งตะวันออกของแม่น้ำที่ที่ตั้งของเมืองการิมาในประเทศซูดานปัจจุบัน เมืองแนปาตาเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานถาวรทางตอนใต้สุดของราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์ (ระหว่างศตวรรษที่ 16-11 ก่อนคริสตกาล) และเป็นที่ตั้งของเจเบล บาร์คาล ซึ่งเป็นศูนย์กลางชองลัทธิบูชาเทพอามุนในราชอาณาจักรคูช และเมืองแนปนาตาเคยเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ และหลังจากราชอาณาจักรคูชล่มสลายใน 663 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อ 593 ปีก่อนคริสตกาล เมืองแนปาตาถูกชาวอียิปต์บุกเข้าและได้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรคูชไปยังที่เมืองเมโรวี ถึงแม้หลังจากการย้ายเมืองหลวงในครั้งดังกล่าว เมืองแนปาตาก็ยังคงเป็นศูนย์กลางทางศาสนาหลักของราชอาณาจักรต่อไป[5] เมืองนี้ถูกบุกเข้ายึดเป็นครั้งที่สองโดยชาวโรมันเมื่อ 23 ปีก่อนคริสตกาล แต่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์และยังคงเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของลัทธิบูชาเทพอามุน[6]
คำว่า "แนปาตา" หรือ "สมัยแนปาตา" ยังสามารถหมายถึงการปกครองของชาวคูชตั้งแต่ช่วง 750 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 270 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อแนปาตาสูญเสียความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ในฐานะสถานที่ฝังพระศพของราชวงศ์ ซึ่งราชวงศ์ได้ย้ายไปฝังพระศพที่เมโรวีแทน โดยช่วงเวลาต่อมาของประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรคูชเรียกว่า สมัยเมโรวี ซึ่งจะดำเนินต่อไปจนถึงการล่มสลายของราชอาณาจักร[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Gauthier, Henri (1926). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques. Vol. 3. p. 86-87.
- ↑ "Napata" in the American Heritage Dictionary of the English Language (2020).
- ↑ Strabo, Geography, §17.1.54
- ↑ Stephanus of Byzantium, Ethnica, §N469.1
- ↑ Kendall, Timothy (2016). A Visitor's Guide to The Jebel Barkal Temples. Khartoum. p. 7.
- ↑ Timothy Kendall (2001), "Napata", in Donald B. Redford, The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Oxford University Press.
- ↑ Richard A. Lobban, "Napata", Historical Dictionary of Ancient and Medieval Nubia (Scarecrow, 2004), pp. 274–276.