ปุ่มกระสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แตด)


คลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน[1] (อังกฤษ: clitoris) เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์หญิงภายนอกของมนุษย์ ซึ่งเป็นปุ่มที่อยู่ใกล้ด้านหน้าจุดบรรจบของแคมเล็ก เหนือปากช่องคลอด ส่วนที่อยู่ภายนอกของคลิตอริสคือปุ่มกระสัน (clitoral glans) ภาษาทั่วไปเรียก "แตด" และภาษาปากเรียก "เม็ดละมุด"

คลิตอริสต่างจากอวัยวะเพศชายที่เป็นโฮโมโลกัส คือองคชาต คลิตอริสไม่ได้บรรจุส่วนของท่อปัสสาวะเหมือนกับองคชาต และมีหน้าที่ประการเดียวคือนำความรู้สึกทางเพศ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้หญิงปวดปัสสาวะ หรือเมื่อกำลังมีเพศสัมพันธ์ หรือกำลังจะคลอดบุตร ช่องผ่านจะขยายตัวขึ้น ทำให้คลิตอริสตั้งขึ้น

พัฒนาการ[แก้]

ภาพลายเส้น กายวิภาคภายใน แสดงช่องสังวาสของมนุษย์ พร้อมกับกลีบคลุมปุ่มกระสัน และ แคมเล็ก

คลิตอริสของผู้หญิงมีลักษณะเช่นเดียวกับส่วนที่เป็นโฮโมโลกัส (โครงสร้างซึ่งมีที่มาเดียวกัน) คือองคชาตของผู้ชาย กล่าวคือ ในการเจริญครรภ์ คลิตอริสเกิดมาจากเนื้อเยื่อเดียวกับที่เจริญไปเป็นองคชาต กลไกการก่อรูปร่างเป็นองคชาต แทนที่การเปลี่ยนเป็นคลิตอริส เป็นการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) อวัยวะถูกก่อรูปร่างออกเป็น คอร์ปัส คาเวอโนซัม (corpus cavernosum) ซึ่งสะสมตัวอย่างเต็มแน่นของเนื้อเยื่อพรุน (capillary tissue) พร้อมกับเกิด เนื้อเยื่อประสาท คลิตอริสบรรจุอย่างหยาบๆ มีจำนวนเส้นประสาทเช่นเดียวกับองคชาต และตอบสนองทางเพศโดยเฉพาะ

ส่วนภายนอกของคลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (clitoral glans) ถูกปกปิดโดย กลีบคลุมปุ่มกระสัน (clitoral hood) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่เป็นโฮโมโลกัสกับ หนังหุ้มปลายองคชาตของผู้ชาย ลำคลิตอริส (clitoral body) ยาวขึ้นไปด้านหลังหลายเซนติเมตร ก่อนจะแยกเป็นสองขา คือ ขาคลิตอริส (clitoral crura) รูปร่างคล้ายตัว V ขาเหล่านี้ขยายไปรอบ และอยู่ภายในแคมใหญ่ เมื่อรวมความยาวทั้งส่วนที่อยู่ภายในและภายนอก ประมาณได้ว่าคลิตอริสมีขนาดเท่ากับองคชาต โดยเกือบทั้งหมดของคลิตอริสถูกซ่อนอยู่ และการกระตุ้นจากภายนอกต่อคลิตอริสทั้งหมด สามารถส่งผลให้เกิดการตอบสนองทางเพศอย่างลึกล้ำยิ่งกว่า มีการแปรผันแตกต่างกันไประหว่างผู้หญิงแต่ละคน ในแง่ว่า คลิตอริสยื่นออกจากกลีบคลุมหรือถูกห่อหุ้มมากเท่าใด, เป็นแนวสมบูรณ์หรือไม่, ถูกปิดจนมองไม่เห็นทั้งหมด หรือถลนออกมาอย่างเห็นได้ชัด

ขนาดของคลิตอริสภายนอกมีความหลากหลายอย่างมาก อาจจะเล็กกว่ายางลบดินสอ หรือใหญ่กว่าองุ่น นักวิทยาศาสตร์ระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะ ดร. เฮเลน โอ-คอนเนลล์ พบว่า เนื้อเยื่อในการตั้งตรงวางตัวแผ่อยู่ข้างใต้ปุ่มภายนอก แยกออกเป็นสองขาที่ยาว 11 เซนติเมตร พร้อมกับเนื้อเยื่อสาขามากกว่านั้นลึกลงไปใกล้ปากของช่องคลอด ซึ่งขยายความได้ว่า การสำเร็จความใคร่ทางช่องคลอด ได้รับผลจากการกระตุ้นโดยส่วนที่อยู่ภายในของคลิตอริส ระหว่างการสอดใส่ในช่องคลอด

กระนั้น ผู้หญิงบางคนมีประสบการณ์ทั้งการสำเร็จความใคร่ทางคลิตอริสและภายในช่องคลอด และแยกแยะได้ถึงแต่ละอย่างที่ปนกัน ทั้งในแง่กายภาพและความรู้สึกทั่วไป และโครงสร้างของ จี-สปอต ซึ่งอยู่ภายในช่องคลอด ก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ระหว่างถูกกระตุ้นทางเพศ คลิตอริสจะขยายเป็นเนื้อเยื่อตั้งตรงที่เติมเต็มด้วยเลือดในระยะสั้นก่อนการสำเร็จความใคร่ การตั้งตรงนี้มักเพิ่มขึ้นจนทำให้คลิตอริสดันสูงขึ้นไป ซึ่งมองดูจากภายนอกตามความเป็นจริง จะปรากฏว่าหดเข้าไป

ประวัติการค้นพบ[แก้]

ในบทความทางการแพทย์ ได้รับรองการมีอยู่จริงของคลิตอริสเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 โดยเรอัลโด โคลอมโบ (Realdo Colombo) อาจารย์ด้านศัลยกรรมแห่งมหาวิทยาลัยพาดัว (University of Padua) ประเทศอิตาลี โดยเขาได้เขียนหนังสือชื่อ De re anatomica ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1559 ซึ่งได้อ้างถึง "ที่ตั้งแห่งสำราญของหญิง" (seat of woman's delight)

โคลอมโบลงความเห็นว่า "ตั้งแต่ไม่มีใครได้มองไปถึงการทำงานเหล่านี้ ถ้าอาจจะมีชื่อของสิ่งที่ข้าค้นพบ ขอเรียกว่า ความรักหรือความงามแห่งวีนัส" คำอ้างนี้ถูกค้านโดยกาเบรียล ฟอลลอพพิโอ ผู้ค้นพบท่อนำไข่ ซึ่งเป็นศิษย์ของโคลัมโบที่พาดัว โดยอ้างว่าเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบคลิตอริส

แคสปาร์ บาร์ธอลิน (นักกายวิภาคชาวเดนมาร์ก ในศตวรรษที่ 17) ได้แก้คำอ้างของทั้งสองว่าในทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้น รู้จักคลิตอริสเป็นอย่างดีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 แล้ว ในชื่อภาษาโรมันว่า ลันดิกา (landica)

ทีมวิจัยมาสเตอส์แอนด์จอห์นสัน ของสหรัฐอเมริกา ได้ชักนำการศึกษาคลิตอริสขึ้นอย่างกว้างขวางในทศวรรษ 1970 คำว่าคลิตอริสถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งมากขึ้นในการสนทนาภาษาอังกฤษ แต่ยังคงเป็นคำต้องห้ามสำหรับคนอีกมากเช่นกัน

การใช้คำว่าคลิตอริสครั้งแรกทางโทรทัศน์ คือที่สหรัฐอเมริกา โดย ดร. ริช โอ-เบรียน แห่งวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแห่งการาเบเดียน (Harvard colleague of Garabedian) ในรายการของดอกเตอร์รุธ เวสธิเมอร์ (Dr. Ruth Westheimer)

อ้างอิง[แก้]

  • Chalker, Rebecca (2002). The Clitoral Truth: The secret world at your fingertips. New York: Seven Stories. (Google Books)

ดูเพิ่ม[แก้]