โยนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยนี
(Vulva)
โยนี
รายละเอียด
คัพภกรรมปุ่มอวัยวะเพศ (genital tubercle), สันอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital folds)
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงอวัยวะเพศภายนอกภายใน (internal pudendal artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำอวัยวะเพศภายนอกภายใน (internal pudendal vein)
ประสาทเส้นประสาทอวัยวะเพศภายนอก (pudendal nerve)
น้ำเหลืองปุ่มน้ำเหลืองขาหนีบผิว (superficial inguinal lymph nodes)
ตัวระบุ
ภาษาละตินpudendum femininum
MeSHD014844
TA98A09.2.01.001
TA23547
FMA20462
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

โยนี (อังกฤษ: vulva) ประกอบด้วยแคม ทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก, ปุ่มกระสัน, ปากของท่อปัสสาวะ (urethra), และปากช่องคลอด

กายวิภาค[แก้]

ภาพจำลองโยนีที่แสดงมุมมองภายนอกและภายใน
ภาพจำลองโยนีซึ่งในส่วนที่มองเห็นได้ของปุ่มกระสัน และส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนัง

เนินอ่อนนุ่มด้านหน้าของโยนี (เกิดจากเนื้อเยื่อไขมันปกคลุมกระดูกหัวหน่าว) คือ เนินหัวหน่าว (mons pubis) โดยเฉพาะในมนุษย์เพศหญิงเรียก มอนส์เวเนริส (mons veneris) หรือ "โคกวีนัส" (mound of Venus) ภายหลังวัยแรกรุ่น จะปกคลุมด้วยขนหัวหน่าว ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นกับพันธุกรรม

  • แคมใหญ่ ขึงแต่ละข้างของโยนี และปกคลุมด้วยขนหัวหน่าว ห่อหุ้มส่วนอื่น ๆ ของโยนีอย่างมิดชิด
  • แคมเล็ก เป็นกลีบผิวหนังอ่อนนุ่มสองกลีบ ภายในแคมใหญ่ ในแต่ละข้างของปากช่องคลอด ตรงกลางคือโพรงปากช่องคลอด
  • ปุ่มกระสัน อยู่ที่ด้านหน้าของโยนี ตรงจุดที่แคมเล็กสบกัน ยอดที่เห็นได้ของคลิตอริส หรือ ปุ่มกระสัน (คลิตอรัล แกลน) ถูกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ (เรียกว่า "กลีบคลุมปุ่มกระสัน") ใต้คลิตอริส ด้านหน้าของช่องคลอด คือปากของท่อปัสสาวะ (urethral opening) ที่ซึ่งปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย
  • ปากช่องคลอด อยู่ใกล้ส่วนท้ายด้านหลัง (หรือใต้) ของโยนี

ในผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีการร่วมเพศ ปากช่องคลอดบางครั้งจะปกคลุมด้วยเยื่อที่เรียกว่า "เยื่อพรหมจรรย์" (hymen)

ถัดลงด้านล่างเล็กน้อย ด้านซ้ายและขวาของช่องเปิดช่องคลอดคือ "ต่อมบาร์โทลิน" (ต่อมสร้างน้ำหล่อลื่น: Bartholin glands); เมื่อผู้หญิงถูกปลุกอารมณ์เพศจะหลั่งสารหล่อลื่น ทำให้สอดใส่ได้ง่ายขึ้น (ช่องคลอดก็มีสารหล่อลื่นไหลซึมเช่นกัน) ถ้าขาดสารหล่อลื่น อาจใช้สารหล่อลื่นสังเคราะห์ช่วยให้การร่วมเพศสะดวกขึ้น

พื้นที่ระหว่างโยนีกับทวารหนักคือ ฝีเย็บ (perineum) ฝีเย็บอาจฉีกขาดระหว่างคลอดบุตรได้ เพื่อป้องกันกรณีนี้ แพทย์อาจกรีด ซึ่งเชื่อว่าลดการติดเชื้อมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีบางคนเชื่อว่า การฉีกขาดตามธรรมชาติมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่า และหายเร็วกว่า

ลักษณะโยนีและขนาดของส่วนต่าง ๆ แตกต่างกันไป ในผู้หญิงต่างคนกัน และเป็นเรื่องปกติที่ ซีกซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน ในผู้หญิงคนเดียวกัน

กำเนิดเดียวกันของอวัยวะเพศ[แก้]

ภาพลายเส้นกายวิภาคภายในแสดงโยนีของมนุษย์ พร้อมกับกลีบคลุมปุ่มกระสัน (clitoral hood) และแคมเล็ก

คือส่วนของอวัยวะเพศ ที่วิวัฒนาการมาจากเนื้อเยื่อเดียวกัน ในมนุษย์ กายวิภาคของโยนี สอดคล้องกับ กายวิภาคขององคชาตในเพศชาย ในวิชาชีววิทยาพัฒนาการทั่วไป อวัยวะที่มีต้นกำเนิดพัฒนาการจากโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า กำเนิดเดียวกัน (โครงสร้างซึ่งมีที่มาเดียวกัน)

ปุ่มกระสันมีกำเนิดเดียวกันเทียบได้กับองคชาตของผู้ชาย, และ ลำปุ่มกระสัน (clitoral body) กับ ขาปุ่มกระสัน (clitoral crura) มีกำเนิดเดียวกันกับ คอร์พอรา เคฟเวอโนซา (corpora cavernosa) ขององคชาต

แคมใหญ่, แคมเล็กและกลีบคลุมปุ่มกระสัน (clitoral hood) เป็นกำเนิดเดียวกันกับถุงอัณฑะ (scrotum), ผิวหนังรอบองคชาต (shaft skin of the penis) และหนังหุ้มปลายองคชาต (foreskin) ตามลำดับ

เวสทิบูลาร์ บัลบ์ (กระเปาะโพรง: vestibular bulbs) ใต้ผิวของแคมเล็ก เป็นกำเนิดเดียวกันกับ คอร์ปัส สปองจิโอซัม (corpus spongiosum) หรือเนื้อเยื่อรอบหลอดปัสสาวะในองคชาต (คอร์ปัส สปองจิโอซัม เป็นเนื้อเยื่อที่ทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต

ส่วน เวสทิบูลาร์ บัลบ์ เป็นบริเวณที่มีโลหิตมาหล่อเลี้ยง เมื่อถูกกระตุ้นให้มีอารมณ์หรือเมื่อภายหลังคลอด อวัยวะเพศจะขยายขึ้นเพราะแคมเล็กขยายแล้วแยกจากกัน)

ต่อมบาร์โทลิน (bartholin glands) เป็นกำเนิดเดียวกันกับ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's glands) ในเพศชาย

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]