เอนโดเดิร์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนโดเดิร์ม
(Endoderm)
อวัยวะที่เจริญมาจากเอนโดเดิร์ม
Blastodermic vesicle ของเอ็มบริโอค้างคาว (เอนโดเดิร์มอยู่ด้านบนของภาพ)
รายละเอียด
วัน16
คัพภกรรมไฮโปบลาสต์ (hypoblast)
เจริญขึ้นเป็นสแปลงคโนเพลอร์ (splanchnopleure)
ตัวระบุ
MeSHD004707
FMA69071
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เอนโดเดิร์ม (endoderm) เป็นหนึ่งใน germ layer ที่สร้างขึ้นระหว่างการเกิดเอ็มบริโอของสัตว์ เกิดจากเซลล์เดินทางเข้าด้านในผ่านอาร์เคนเทอรอน (archenteron; ส่วนเจริญเป็นทางเดินอาหาร) เกิดเป็นชั้นด้านในของแกสตรูลา ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเอนโดเดิร์ม

ในระยะแรกเอนโดเดิร์มประกอบด้วยชั้นเซลล์แบนๆ ซึ่งต่อมาจะมีรูปทรงกระบอก (columnar) เนื้อเยื่อชั้นนี้จะสร้างเป็นเนื้อเยื่อบุผิวของท่อทางเดินอาหารทั้งหมด ยกเว้นส่วนปาก และคอหอย และส่วนปลายของไส้ตรง (ซึ่งดาดโดยส่วนหวำของเอ็กโทเดิร์ม) นอกจากนี้ยังสร้างเป็นเซลล์บุของต่อมทั้งหมดที่เปิดออกสู่ท่อทางเดินอาหาร รวมทั้งตับและตับอ่อน; เนื้อเยื่อบุผิวของท่อหู (auditory tube) และโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) ; ท่อลม, หลอดลม, และถุงลมภายในปอด, กระเพาะปัสสาวะ, และส่วนของท่อปัสสาวะ; ฟอลลิเคิลของต่อมไทรอยด์และต่อมไทมัส

ภาพอื่นๆ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • Evers, Christine A., Lisa Starr. Biology:Concepts and Applications. 6th ed. United States:Thomson, 2006. ISBN 0-534-46224-3.