เหวิน ซู่ฉิน
เหวิน ซู่ฉิน 文素勤 | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 อำเภอเซียงเซียง มณฑลหูหนาน จักรวรรดิชิง |
เสียชีวิต | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2462 (52 ปี) อำเภอเฉาชาน มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐจีน |
อาชีพ | เกษตรกร |
คู่สมรส | เหมา อี๋ชาง |
บุตร | เหมา เจ๋อตง เหมา เจ๋อหมิน เหมา เจ๋อถาน เหมา เจ๋อเจี้ยน (บุตรบุญธรรม) |
เหวิน ซู่ฉิน | |||||||
ภาษาจีน | 文素勤 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | 文 (Wén, surname) | ||||||
| |||||||
เหวิน ชีเม่ย์ | |||||||
ภาษาจีน | 文七妹 | ||||||
| |||||||
เหวิน ฉีเหม่ย์ | |||||||
ภาษาจีน | 文其美 | ||||||
|
เหวิน ซู่ฉิน (จีน: 文素勤; พินอิน: Wén Sùqín; 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 – 5 ตุลาคม พ.ศ. 2462;[1] ชื่อลำลอง ชีเม่ย์ หรือ ฉีเหม่ย์) เป็นมารดาของเหมา เจ๋อตง
ประวัติ
[แก้]เหวิน ซู่ฉิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 (ถงจื้อปีที่ 6) ที่หมู่บ้านถังเจียถัว ในตำบลไท่ผิงอ้าว อำเภอเซียงเซียง จังหวัดเซียงถาน มณฑลหูหนาน (ปัจจุบันคือหมู่บ้านต้าผิง ตำบลต้าผิง) บิดาของเธอชื่อ เหวิน จืออี๋ เป็นช่างทำรองเท้าที่ยากจนและติดสุรา มารดาของเธอชื่อ เหวิน เฮ่อชื่อ เป็นภรรยาน้อยคนที่ 14 ของจืออี๋ เธอมีพี่ชาย 2 คนและน้องสาว 2 คน เธอเข้าเรียนที่วัดพุทธในท้องถิ่นจนถึงอายุ 10 ปี
บิดามักจะทำร้ายมารดาของเธอ ดังนั้นนางจึงหนีไปที่อำเภอเฉาชาน ที่นั่น นางก็แต่งงานใหม่กับเจ้าของที่ดินวัย 60 ปี ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกประหลาดในจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลานั้น ซู่ฉินเข้าเรียนที่โรงเรียนแบ๊บติสต์ที่นั่นและสอบได้เป็นอันดับต้น ๆ เมื่ออายุได้ 13 ปี พ่อเลี้ยงก็จัดการแต่งงานให้เธอกับเหมา อี๋ชาง วัย 10 ปี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวนาเป็นเวลายาวนาน เมื่ออายุ 26 ปี ซู่ฉินก็ได้ให้กำเนิดเหมา เจ๋อตง
หลังจากเหมา เจ๋อตง เกิด เธอและสามีก็ได้รับไก่ตัวผู้เป็นของขวัญตามธรรมเนียมท้องถิ่น[2] เหวินรู้สึกเป็นห่วงสุขภาพของเหมา เนื่องจากเธอเคยมีลูกชายสองคนที่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก เธอจึงพาเขาไปพบพระสงฆ์รูปหนึ่งที่อาศัยอยู่บนภูเขา และขอให้พระสงฆ์รูปนั้นช่วยดูแล แต่พระสงฆ์รูปนั้นปฏิเสธ เพราะเชื่อว่าเหมามีสุขภาพแข็งแรงดี[2] จากนั้นเธอได้เดินทางไปยังบ้านของบิดาของเธอในเขตใกล้เคียง ระหว่างทางได้แวะที่วัดแห่งหนึ่งซึ่งอุทิศให้กับพระโพธิสัตว์กวนอิม โดยนางได้อธิษฐานขอให้องค์พระโพธิสัตว์นี้มาเป็นแม่บุญธรรมของเจ๋อตง[2]
เธอเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2462[1][3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Zhang, Chunhou; Vaughan, C. Edwin (2002). Mao Zedong as Poet and Revolutionary Leader: Social and Historical Perspectives (ภาษาอังกฤษ). Lexington Books. p. 9. ISBN 978-0-7391-0406-4.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Pantsov & Levine 2012, p. 14
- ↑ Michael J. Lynch (2004). Mao. Psychology Press. ISBN 9780415215770.