เหตุระเบิดรถไฟฟ้าใต้ดินมินสค์ พ.ศ. 2554
เหตุระเบิดรถไฟฟ้าใต้ดินมินสค์ พ.ศ. 2554 | |
---|---|
![]() เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินที่ | |
สถานที่ | สถานีออคต์ยาเบอร์สคายา, มินสค์, ประเทศเบลารุส |
วันที่ | 11 เมษายน 2011 17:56 น. (UTC+3) |
เป้าหมาย | รถไฟใต้ดินมินสค์ |
อาวุธ | Nail bomb[1] with 5-7 kg TNT equivalent strength[2] |
ตาย | 15[3] |
ผู้เสียหาย | ได้รับบาดเจ็บ 204 คน[3][4] |
ผู้ก่อเหตุ | Lone wolves: Dzimitry Kanavalau and Vlad Kavalyou |
เหตุระเบิดรถไฟฟ้าใต้ดินมินสค์ พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้มีอย่างน้อย 12 คนเสียชีวิต[5] และอีก 204 คนได้รับบาดเจ็บ[4] หลังเกิดเหตุระเบิดแรงดันสูงในรถไฟฟ้าใต้ดินมินสค์ ประเทศเบลารุส[6] เหตุระเบิดเกิดขึ้นที่สถานีกลาง ออคต์ยาเบอร์สคายา เมื่อเวลา 17.55 น. ตามเวลาท้องถิ่น[7]
แต่เดิมสาเหตุของการระเบิดนี้ยังไม่แน่ชัด แต่มีการพบระเบิดบรรจุตะปูและตลับลูกปืน[8] ประธานาธิบดีเบลารุส อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ยืนยันว่าเหตุระเบิดดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะบ่อนทำลายสันติภาพและเสถียรภาพและพูดเป็นนัยว่าต่างชาติอาจเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุระเบิดดังกล่าวด้วย แต่ก็ออกคำสั่งให้มีการสืบสวนฉุกเฉินในคลังเก็บอาวุธภายในประเทศ[9] สำนักงานอัยการได้เริ่มการสืบสวนทางอาญาและจัดเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็นเหตุก่อการร้าย[10][11][12]
ผู้ต้องสงสัยสองคนถูกจับกุมเมื่อวันที่ 13 เมษายน[13] ซึ่งยอมรับสารภาพว่าเป็นผู้วางระเบิด แต่ยังไม่ได้รับการระบุเอกลักษณ์จากทางการ ด้านแรงจูงใจยังไม่ปรากฏชัดเจน[14] ตามผลการสืบสวน ระเบิดที่ใช้นั้นมีลักษณะเฉพาะตัวและเจ้าหน้าที่สืบสวนต่างชาติก็ได้แสดงความสนใจในระเบิดอย่างมาก[15]
สถานการณ์[แก้]
เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น.[4] ระหว่างช่วงเวลาเร่งด่วนที่สถานีออคต์ยาเบอร์สคายา ซึ่งทำหน้าที่เป็นสถานีเดียวที่เปลี่ยนเส้นทางระหว่างสองเส้นทางในรถไฟฟ้าใต้ดินมินสค์ สถานีออคต์ยาเบอร์สคายา เช่นเดียวกับเกือบทุกสถานีในมินสค์ มีชานชาลาเกาะกลาง และระหว่างเกิดเหตุระเบิดขึ้นนั้น รถไฟนั้นตั้งอยู่บนรางรถไฟทั้งสองด้าน[16] ตามผลการสืบสวนเบื้องต้น ระเบิดถูกพบใต้ม้านั่งที่ติดกับรางรถไฟข้าเข้า[17] ระเบิดเกิดระเบิดขึ้นติดกับโบกี้คันที่สองของรถไฟขาเข้า[17] ขณะที่เกิดระเบิดขึ้นนั้น มีประชาชนอย่างน้อย 300 คนอยู่ในพื้นที่ และรถไฟขาออกเดินทางออกจากสถานีโดยไม่มีการหยุด พยานระบุว่า มี "แสงวาบและเสียงระเบิด" ขณะที่ผู้โดยสารออกจากรถไฟซึ่งเพิ่งจะมาถึงสถานี[9] มีรายงานว่าระเบิดถูกห่อด้วยตะปูและตลับลูกปืนซึ่งเทียบเท่ากับทีเอ็นทีหนัก 5 กิโลกรัม[8]
เหยื่อ[แก้]
เหยื่อที่ได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลห้าแห่งในมินสค์[17] ในหมู่ผู้ได้รับบาดเจ็บนั้น 22 คนมีอาการสาหัส[17][3] และอีก 30 คนได้รับบาดเจ็บปานกลาง[18]
สัญชาติ | เสียชีวิต | ได้รับบาดเจ็บ |
---|---|---|
![]() |
12 | 196 |
![]() |
0 | 5 |
![]() |
0 | 1 |
![]() |
0 | 1 |
![]() |
0 | 1 |
รวม | 12 | 204 |
ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตในเหตุระเบิดจะได้รับเงินช่วยเหลือเทียบเท่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากการชดเชยเป็นตัวเงินแล้ว ครอบครัวจะได้รับการปรึกษาจากนักสังคมสงเคราะห์และจิตแพทย์ [19]
วันไว้อาลัยแห่งชาติได้รับการประกาศไว้เมื่อวันที่ 13 เมษายน[20]
ปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์[แก้]
- องค์การระหว่างประเทศ
สหประชาชาติ โดยเลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี มูน ได้กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ทราบเกี่ยวกับแรงจูงใจในสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ข้าพเจ้าได้รับรายงานว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นการกระทำโดยเจตนาถ้ารู้อย่างนี้แล้วมันคือสิ่งที่ยอมรับไม่ได้แล้วจะต้องถูกลงโทษ อะไรก็ตามถ้าเราใช้ความรุนแรง มันคือสิ่งที่ไม่เหมาะสมเลย"[21]
สหภาพยุโรป ประธานรัฐสภายุโรป ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[22]
- องค์การความร่วมมือและความมั่นคงในยุโรป (The Organization for Security and Co-operation in Europe- OSCE) ประธานองค์การ OSCE ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[23]
- องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security Treaty Organization- CSTO) ประธานองค์การ CSTO ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[24]
- เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเทศอาร์มีเนีย นายเซอร์จ ซาร์คสยัน ประธานาธิบดีอาร์มีเนีย ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาผู้บาดเจ็บโดยให้การรักษาในโรงพยาบาลที่กรุงเยเรวาน เมืองหลวงของประเทศ[25]
ประเทศจีน โฆษกกระทรวงต่างประเทศ (ประเทศจีน) กล่าวว่า "จีนขอประณามการกระทำดังกล่าวและจีนสนับสนุนความพยายามของผู้นำของเบลารุสเพื่อต่อสู้กับการก่อการร้าย"[26]
ประเทศเอสโตเนีย นายโทมัส เฮนดริค อิลเวส ประธานาธิบดีเอสโตเนีย ได้ส่งจดหมายแสดงความเสียใจไปถึงไปถึงประธานาธิบดีลูคาเชนโก ผู้นำเบลารุส[27]
ประเทศจอร์เจีย เลขานุการด้านข่าวสารของประธานาธิบดีจอร์เจีย ได้กล่าวว่า "ประธานาธิบดีจอร์เจียและประชาชนชาวจอร์เจียรู้สึกเห็นใจอย่างสุดซึ้งกับญาติและเพื่อนที่ถูกฆาตกรรมในการโจมตีของผู้ก่อการร้าย[28]
ประเทศอิสราเอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ประเทศอิสราเอล) ได้แสดงความเสียใจและจะส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการต่อต้านการก่อการร้ายของสำนักงานด้านความปลอดภัยอิสราเอล[29]
ประเทศคาซัคสถาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ประเทศคาซัคสถาน) ได้แสดงความเสียใจและแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถหาผู้ที่กระทำความผิดในคราวนี้มาลงโทษตามกฎหมายได้[30]
ประเทศคีร์กีซสถาน รองนายกรัฐมนตรีคีร์กีซสถานกล่าวว่า "การก่อการร้ายในเบลารุสจะไม่มีผลต่อการตัดสินใจของคีร์กีซสถานในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพศุลกากร ของประเทศรัสเซีย เบลารุส และคาซัคสถาน[31]
ประเทศลัตเวีย นายวาลดีส ซาตเลอร์ส ประธานาธิบดีลัตเวีย ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสำหรับชาวเบลารุสในเหตุการณ์นี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีได้แสดงความกังวลสำหรับบรรดาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตและได้หวังว่าผู้บาดเจ็บในครั้งนี้จะหายโดยเร็ว[32]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Взорвавшаяся в Минске бомба была начинена поражающими элементами". Segodnya.ua. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Мощность взрыва в Минске составила 5-7 кг в тротиловом эквиваленте". Rian.ru. 31 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "В Беларуси умерла еще одна жертва теракта". podrobnosti.ua. 25 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2011. สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Belarusians struggle to explain metro station blast". BBC. 12 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2011. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
- ↑ "Число погибших при теракте в минском метро возросло до 12". Kp.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-17. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Dead, wounded in Minsk metro blast - emergencies ministry". RIA Novosti. 11 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-13. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ "Eleven dead in Minsk metro blast". RT. 11 April 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ 8.0 8.1 "Belarus arrests several over Minsk metro bomb blast", BBC News, 12 April 2011
- ↑ 9.0 9.1 "Belarus: Blast rocks Minsk metro near Lukashenko office". BBC News. 11 April 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ "Deadly metro blast shocks Belarus capital Minsk". Baltic-review.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-18. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Генпрокуратура квалифицировала взрыв в минском метро как теракт". Rian.ru. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ Meyer, Henry. "Belarus Subway Explosion Kills 11, Injures 120 Near Lukashenko Residence". Bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Belarus arrests Minsk bombing suspects", The Australian, 13 April 2011
- ↑ Michael Schwirtz "Belarus Says Suspects Confessed to Subway Bombing", The New York Times, 13 April 2011
- ↑ "Для взрыва в минском метро использована не имеющая аналогов в мире взрывчатка". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
- ↑ Фото: Антон Мотолько/Коммерсантъ. "Ъ-Газета - Минск рвануло по линии метро". Kommersant.ru. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 "Вести.Ru: Власти Минска предлагают объявить днем траура 14 апреля". Vesti.ru. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
- ↑ "Belarus seeks answers over deadly metro bombing". AFP. 12 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-15. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Семьи погибших при теракте в Минске получат по 10 тысяч долларов". Lenta.ru. 29 March 2011. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ в ответ на комментарий читателя Алесь. "В Минске 13 апреля объявили днем траура". Telegraf.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-30. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ © РИА Новости. Сергей Самохин (31 March 2011). "Генсек ООН соболезнует жертвам взрыва в Минске". Rian.ru. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-13.
- ↑ "Старшыня АБСЕ выказаў спачуванні народу Беларусі". Euroradio.fm. 11 April 2011. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Жестокий теракт в Минске требует коллективного отпора, заявляет генсек ОДКБ". Interfax.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Армения готова лечить пострадавших от взрыва в Минске". Interfax.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Китай поддерживает усилия белорусского руководства по противодействию терроризму - МИД". Interfax.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
- ↑ "Грузия соболезнует в связи с терактом в Минске". Interfax.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Окружение Либермана и МВБ подтверждают: в Минск вылетят израильские специалисты". Newsru.co.il. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "Новый глава МИД Казахстана выразил соболезнование в связи с терактом в Белоруссии" (ภาษารัสเซีย). Zakon.kz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
- ↑ "О.Бабанов: Теракт в Минске не скажется на решении Киргизии вступить в ТС". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
- ↑ "President Zatlers Expresses Condolences to Belarus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-07. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
พิกัดภูมิศาสตร์: 53°54′6.84″N 27°33′41.04″E / 53.9019000°N 27.5614000°E