ข้ามไปเนื้อหา

เสียงเสี่ยงและอาไฉ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียงเสี่ยง และ อาไฉ
เสียงเสี่ยง
อาไฉ
ฉายาอื่น ๆเสียงเสี่ยง หรือ คุกกี้ และ อาไฉ
สปีชีส์แมว
เพศเมียและผู้
เกิดประเทศไต้หวัน
อาชีพแมวประจำประธานาธิบดี
บทบาทที่โดดเด่นผู้สนับสนุนการเลือกตั้ง
เจ้าของไช่ อิงเหวิน
ที่พำนักบ้านหย่งเหอ ประเทศไต้หวัน

เสียงเสี่ยง (จีน: 想想; พินอิน: Xiǎngxiǎng) และ อาไฉ (阿才; Ācái) ทั้งสองตัวนี้ เป็นแมวของไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีของประเทศไต้หวัน โดย เสียงเสี่ยง เป็นแมวเพศเมียสีเทา ส่วน อาไฉ เป็นแมวเพศผู้สีเหลืองแดง[1][2] ทั้งนี้ไช่ อิงเหวิน ถือเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของประเทศไต้หวัน และเป็นสตรีผู้ปกครองประเทศที่พูดภาษาจีนคนแรก นับตั้งแต่รัชกาลของบูเช็กเทียน จักรพรรดินีคนแรกและคนเดียวของจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 8[3][4]

ประวัติ

[แก้]

เสียงเสี่ยง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2554 ถูกไช่เก็บมาเลี้ยงตั้งแต่ พ.ศ. 2555[2] เดิมเป็นลูกแมวจรจัดที่เซียว เม่ย์ฉิน สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า พบข้างสถานีรถไฟใกล้เมืองฮวาเหลียน ในสภาพเปื้อนโคลน หลังเกิดพายุซาวลาในปีนั้น[5] ส่วน อาไฉ เป็นแมวฟาร์มซึ่งไช่ได้รับเป็นของขวัญจากเพื่อน เมื่อคราวหาเสียงเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[1] แมวตัวนี้ถูกพบในไร่สับปะรด เทศมณฑลไถตง ทางตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน[6]

ก่อนไช่จะขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดี เธออาศัยอยู่ในห้องชุดขนาดเล็กร่วมกับแมวทั้งสองตัว[7] เดิมเสียงเสี่ยงมีสภาพผอมโซ และป่วยเป็นโรคผิวหนังเพราะเนื้อตัวเคยเต็มไปด้วยโคลน แต่เมื่อได้รับการเลี้ยงดูจากไช่ได้ไม่นาน เสียงเสี่ยงก็มีสุขภาพดี[8] ไช่กล่าวว่าแมวสองตัวนี้เข้ากันได้ดี แต่ก็ทะเลาะกันบ้างในบางครั้ง[9]

นอกจาก เสียงเสี่ยง และ อาไฉ แล้ว ไช่ยังรับเลี้ยงหมานำทางที่เกษียณแล้วไปเลี้ยงที่บ้านของเธอ สื่อมวลชนไต้หวันสอบถามไช่ว่าแมวของเธอจะมีปัญหากับหมาที่เธอรับเลี้ยงหรือไม่ ไช่ตอบว่า "[หมาเหล่านี้] ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีแล้วและเข้ากันได้กับแมวแน่นอนค่ะ"[10] ไช่รับหมาสามตัวไปเลี้ยงในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้แก่ เบลลา บันนี และมารุ โดยไช่กล่าวถึงหมาของเธอว่า เบลลา เป็นหมาตัวโปรดของเธอ บันนี เป็นหมาที่สง่างาม และ มารุ เป็นหมาขี้อาย[11] ต่อมาเธอรับเลี้ยงหมาอีกตัวหนึ่งชื่อ เล่อเล่อ (樂樂; Lèlè) เป็นหมาค้นหาและกู้ภัยเกษียณอายุ[12]

การปรากฏในสื่อ

[แก้]

ระหว่างที่ไช่ อิงเหวิน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอมักอัปเดตเรื่องราวต่าง ๆ ลงในสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ โดยเฉพาะแมวของเธอ ซึ่งได้รับความนิยมมาก[13] ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการห้ามไม่ให้ชาวไต้หวันเล่นตลกเกี่ยวกับข่าวลือเรื่องเท็จเกี่ยวกับการแพร่โรคช่วงวันเมษาหน้าโง่ ไช่จึงโพสต์ภาพของตนเองกับแมวตัวหนึ่งว่า "เราแสดงอารมณ์ขันได้...แต่เราไม่สามารถเล่นมุกตลกที่เกี่ยวกับโรคแพร่ระบาดนี้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดกฎหมาย" และ "ฉันขอให้ทุกท่านมีแต่ความสนุกสนาน มีสุขภาพดีและปลอดภัยในวันเมษาหน้าโง่นะคะ"[14]

มีการจัดการแข่งขันเบสบอลระหว่างไชนาทรัสต์บราเดอส์กับยูนิ-เพรซิเดนต์เซเว่นอีเลฟเว่นไลออนส์ หลังยกเลิกการล็อกดาวน์ในไต้หวัน ไช่โพสต์ภาพตนเองรับชมการแข่งขันที่บ้านร่วมกับแมวตัวหนึ่ง[15] ในทวิตเตอร์ มีการตั้งแฮชแท็ก #ThisAttackComeFromTaiwan มีเป้าประสงค์เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้มาเยือนไต้หวันหลังยกเลิกล็อกดาวน์ และลงภาพทิวทัศน์ของไต้หวัน ชานมไข่มุก และแมวของไช่[16]

พ.ศ. 2562 ไช่โพสต์ภาพอาไฉที่กำลังตั้งใจดูโทรทัศน์ลงโซเชียลมีเดีย[17] โดยวันวาเลนไทน์ปีเดียวกันนั้น ไช่ส่งข้อความถึงประชาชนพร้อมกับแมวทั้งสองตัว[6] ก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใน พ.ศ. 2563 ไช่แนะนำกับผู้สนับสนุนของเธอว่าอย่าสนใจ "ข่าวปลอม" เรื่องสุขภาพของแมว และแมวของเธอยังมีสุขภาพดี[18]

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ไช่เยี่ยมชมอุทยานการศึกษาเพื่อคุ้มครองสัตว์ซินจู๋ เธอกล่าวแถลงการณ์เรียกร้องให้ประชาชนผู้ต้องการเลี้ยงสัตว์ นำสัตว์จรจัดไปเลี้ยงแทนการซื้อ[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Taiwan's cat-loving president to adopt retired guide dogs". Bangkok Post. 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 21 June 2016.
  2. 2.0 2.1 "Tsai Ing-wen sworn in as Taiwan's 1st female president". Nikkei Asian Review. 20 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2016. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  3. Phillips, Tom (15 January 2016). "Taiwan elections: the British educated scholar soon to be the most powerful woman in the Chinese-speaking world". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  4. Bland, Ben (22 January 2016). "Tsai Ing-wen, Taiwan's next president". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  5. Lu, Iris (5 February 2016). "Meet the Cats of Taiwan's First Female President". The Vision Times. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  6. 6.0 6.1 姜庚宇 (2019-02-14). "【情人節】蔡英文「曬」愛貓照 與貓共度:只要有愛就是好日子". 香港01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  7. Ryall, Julian; Spencer, Richard (1 January 2016). "China sends warning to Taiwan as it prepares to elect first woman president". The Daily Telegraph.
  8. 风采 (2020-03-17). "《平民女总统蔡英文》2:怀胎得女 她是蔡想想的妈" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  9. 中時電子報. "鄭宏輝搶攻寵物票 蔡英文力挺到底 - 政治". 中時電子報 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  10. "Taiwan's cat-loving President Tsai Ing-wen to adopt 3 retired guide dogs". The Straits Times. 26 May 2016. สืบค้นเมื่อ 18 June 2016.
  11. "獨/蔡英文形容3愛犬:Maru最膽小、Bella最愛吃、Bunny最優雅 | ETtoday新聞雲". www.ettoday.net (ภาษาจีนตัวเต็ม). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  12. "【總統獨「樂樂」/上】明星犬退役現身總統官邸 蔡英文遭質疑特權認養". United Daily News (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 27 April 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. 《中國密報》編輯部 (2016-06-02). 《中國密報》第46期: 江澤民導演習李鬥? (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 中國密報雜誌社. ISBN 978-1-68182-163-4.
  14. Submission, Internal (2020-04-01). "Pandemic pranks off the table on April Fools' Day". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-13. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  15. hermes (2020-04-14). "Taiwan first up to the plate". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  16. Aspinwall, Nick. "Tsai Rejects Accusations Taiwan Attacked WHO Chief, Invites Him to Visit". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.
  17. 三立新聞網 (2019-02-07). "「蔡阿才」看電視遭蔡英文偷拍!不科學身材引網友熱議 | 政治 | 三立新聞網 SETN.COM". www.setn.com (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  18. "蔡英文秀貓活蹦亂跳 稱不要在網路造謠". www.ctwant.com (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-13.
  19. "參訪新竹市動保園區 總統呼籲國人「以認養代替購買」 讓無家可歸的毛小孩重新開始新的生活". www.president.gov.tw (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). สืบค้นเมื่อ 2020-07-24.