เลาดาโมชัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เลาดาโมชั่น)
เลาดา
เลาดาโมชัน
IATA ICAO รหัสเรียก
OE LDM LAUDA MOTION
ก่อตั้งค.ศ. 2004 (20 ปี) ในชื่อ อมิราแอร์
เริ่มดำเนินงาน25 มีนาคม ค.ศ. 2018 (6 ปี) ในชื่อ เลาดาโมชัน
เลิกดำเนินงานตุลาคม ค.ศ. 2020
ท่าหลักปัลมา (มาจอร์กา)
เวียนนา
ขนาดฝูงบิน33
จุดหมาย38
บริษัทแม่ไรอันแอร์โฮลดิ้ง
สำนักงานใหญ่ออสเตรีย ชเวแชต, ออสเตรีย
พนักงาน
~ 910
เว็บไซต์https://www.laudamotion.com/

เลาดาโมชัน หรือรู้จักกันในนาม เลาดา (อังกฤษ: Laudamotion) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติออสเตรีย[1] โดยมีสำนักงานใหญ่ที่เวียนนา ประเทศออสเตรีย[2] โดยสายการบินเป็นหนึ่งในสมาชิกของไรอันแอร์โฮลดิ้งตั้งแต่ปีค.ศ. 2018 นิกิ เลาดา อดีตแชมป์โลกฟอร์มูลาร์วัน ได้ถือหุ้นส่วนหนึ่งของอมิราแอร์ ก่อนถูกซื้อในปีค.ศ. 2016

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 เลาดาเข้าซื้อกิจการของนิกิซึ่งเป็นสายการบินที่ก่อตั้งโดยนิกิ เลาดา จากนั้นอมิราแอร์เปลี่ยนมาให้บริการเที่ยวบินประจำแทน[3] โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 เลาดาแอร์ถูกทดแทนด้วยเลาด้ายุโรป สายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมอลตา[4]

ประวัติ[แก้]

แอร์บัส เอ321-200 ของเลาดา โดยมีลวดลายชั่วคราวของแอร์เบอร์ลินในชื่อเลาดาโมชัน

เลาดาโมชันก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2004 ในชื่ออมิราแอร์ โดยนักลงทุน รอนนี เพคชิค โดยสายการบินเริ่มดำเนินเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำไปยังจุดหมายปลายทางในยุโรปและเที่ยวบินระหว่างประเทศ

ในปีค.ศ. 2016 นิกิ เลาดาได้เข้าซื้อกิจการของสายการบิน แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นเลาดาโมชัน[5] เลาดาให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำจนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 แล้วจึงเปลี่ยนมาให้บริการเที่ยวบินประจำแทน[6]

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2018 นิกิได้ตกลงที่จะขายสายการบินให้แก่เลาดาโมชัน โดยเครื่องบินทกลำของนิกิที่ถูกโอนย้ายเข้าฝูงบินของเลาดา[7][8]

ในวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2018 ไรอันแอร์ได้เข้าถือหุ้นของเลาดาโมชัน 24.9% โดยไรอันแอร์ตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างผลกำไรภายในปีที่สามของการดำเนินงานด้วยเครื่องบิน 30 ลำ[9][10][11]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 เลาดาโมชันเปลี่ยชื่อเป็นเลาดา[12]

ในช่วงปีค.ศ. 2020 เลาดาได้เริ่มปิดทำการฐานหลัก ๆ ของสายการบินเช่น ท่าอากาศยานเวียนนา, ท่าอากาศยานนานาชาติดึสเซิลดอร์ฟเป็นต้น[13][14]

ในวันที่ 31 เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 เลาดาได้เลิกดำเนินงานไปในที่สุด และกิจการทั้งหมดถูกโอนย้ายไปยังเลาดายุโรป[15]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

เลาดาให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลาย 38 แห่งในยุโรป, เอเชีย, และแอฟริกา ณ เดือนมิถุนายน 2020 เที่ยวบินเลาดาทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นการเช่าเครื่องบินภายใต้หมายเลขเที่ยวบินของไรอันแอร์[16]

แอร์บัส เอ320-200

ฝูงบิน[แก้]

ก่อนการเลิกดำเนินงาน เลาดาเคยมีเครื่องบินในฝูงบินดังนี้:[17][18]

ฝูงบินของเลาดา
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 28 180 เครื่องบิน 9 ลำดำเนินงานให้แก่เลาดาโดยมีทะเบียนของมอลตา[19]
รวม 28

อ้างอิง[แก้]

  1. "Laudamotion Airline Profile | CAPA". centreforaviation.com.
  2. https://www.laudamotion.com/en/help-contact/imprint.jsp
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-23. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
  4. "Lauda on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Niki Lauda hat Amira Air in LaudaMotion umbenannt". Austrian Wings (ภาษาเยอรมัน - ออสเตรีย).
  6. "LaudaMotion adds maiden A320, shifts bizav to new unit". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
  7. Welle (www.dw.com), Deutsche. "Niki assets go back to former founder Niki Lauda | DW | 23.01.2018". DW.COM (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  8. Schneid, 23 01 2018 um 10:43 von Hedi (2018-01-23). "Niki Lauda: "Wir starten im März mit Laudamotion"". Die Presse (ภาษาเยอรมัน).
  9. "Partnership With Niki Lauda To Develop Laudamotion Airline In Austria – Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  10. http://atwonline.com/blog/o-leary-s-winning-hand-lauda
  11. "Laudamotion and Ryanair Partnership Takes Off – Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  12. GmbH, Euro Business Communication Verlag (2022-02-14). "News". www.touristik-aktuell.de (ภาษาเยอรมัน).
  13. "Ryanair's Laudamotion unit to close its Vienna base". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ).
  14. "Ryanair schließt Basis in Düsseldorf". aero.de (ภาษาเยอรมัน). 2020-09-10.
  15. "Lauda on ch-aviation". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ).
  16. https://www.austrianaviation.net/detail/lauda-kuendigt-mitarbeiter-vor-der-eingangstuer/
  17. World Economic Outlook, October 2019. World Economic Outlook. Washington, D.C.: International Monetary Fund. 2019-10-15. ISBN 978-1-5135-0821-4.
  18. "Austro Control GmbH - Search Online". www.austrocontrol.at (ภาษาอังกฤษ).
  19. "Ryanair Looks To Scrap Lauda Airbus Fleet In Favour Of Boeing". Simple Flying (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.