เรโวลูชัน X

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรโวลูชัน X
เรโวลูชัน X
ใบปลิวเวอร์ชันอาร์เคดของทวีปอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนามิดเวย์ (อาร์เคด)
เรจซอฟต์แวร์ (พอร์ต)
ซอฟต์แวร์ครีเอชันส์ (พอร์ต)
ผู้จัดจำหน่ายมิดเวย์ (อาร์เคด)
อะเคลม (พอร์ต)
ออกแบบจอร์จ เปโตร
แจ็ก เฮเกอร์
แต่งเพลงคริส แกรนเนอร์
วินเซ ปอนตาเรลลิ (เดี่ยวกีตาร์)
แอโรสมิธ
เครื่องเล่นอาร์เคด, ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, เจเนซิส, เอ็มเอส-ดอส, แซตเทิร์น, เพลย์สเตชัน
วางจำหน่าย23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 (โปรโต 5.0)
16 มิถุนายน ค.ศ. 1994 (การแก้ไข 1.0, ปัจจุบัน)
แนวสนามยิงปืน
รูปแบบผู้เล่นสูงสุด 3 คน
ผู้เล่น 2 คนในระบบคอนโซล
ระบบอาร์เคดมิดเวย์ เอกซ์ ยูนิต

เรโวลูชัน X (อังกฤษ: Revolution X) เป็นวิดีโอเกมยิงปืนที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทมิดเวย์และเปิดตัวในระบบอาร์เคดเมื่อ ค.ศ. 1994 โดยมีรูปแบบการเล่นคล้ายกับเกมเทอร์มิเนเตอร์ 2: จัดจ์เมนต์เดย์ แต่มีธีมเกี่ยวกับวงแอโรสมิธ โดยเป็นเรื่องราวของระบอบการปกครองนิวออร์เดอร์เนชันที่กดขี่ และผู้นำชื่อเฮลกาได้ลักพาตัวแอโรสมิธ โดยผู้เล่นต้องใช้ปืนติดตั้งเพื่อควบคุมเส้นกากบาทบนหน้าจอและยิงศัตรู สมาชิกของแอโรสมิธได้ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่งระหว่างประเทศของเกม และต้องหาให้พบเพื่อได้มาซึ่งฉากจบที่แท้จริงของเกม

เกมอาร์เคดประสบความสำเร็จอย่างมากเกี่ยวกับการวิจารณ์และในเชิงพาณิชย์ แต่พอร์ตทั้งหมดกลับได้รับการตอบรับในทางลบ

โครงเรื่อง[แก้]

ในเรื่องราวชาวดิสโทเปียใน ค.ศ. 1996 พันธมิตรของรัฐบาลที่ทุจริตและกองกำลังทหารขององค์การได้เข้าควบคุมโลกภายใต้หน้ากากของ "นิวออร์เดอร์เนชัน" (NON)[1] นิวออร์เดอร์เนชันพร้อมด้วยผู้บัญชาการซึ่งลวงด้วยเสน่ห์ที่ชื่อเฮลกา (แสดงโดยเคอร์รี ฮอสกินส์)[2] ได้ประกาศสงครามกับวัฒนธรรมของเยาวชน (ผู้ใดก็ตามที่มีอายุระหว่าง 13 ถึง 30 ปี) รวมทั้งได้สั่งห้ามดนตรี, โทรทัศน์, นิตยสาร และวิดีโอเกมทุกรูปแบบ ส่วนผู้เล่นเดินทางไปที่ "คลับ X" ในลอสแอนเจลิสเพื่อดูการแสดงสดของแอโรสมิธ แต่วงนี้ได้ถูกกองทหารของนิวออร์เดอร์เนชันจับตัวไว้ และผลักไล่ออกจากเวทีไประหว่างการแสดง หลังจากหนีออกจากคลับ ผู้เล่นได้ขโมยเฮลิคอปเตอร์และบินไปทั่วเมืองเพื่อค้นหารถของวงดนตรีดังกล่าว จากที่นี่ ผู้เล่นจะต้องทำลายการเข้าประจำตำแหน่งของนิวออร์เดอร์เนชันในตะวันออกกลาง, ป่าแอมะซอน และขอบแปซิฟิก จากนั้นเดินทางไปลอนดอนเพื่อเอาชนะเฮลกา และกองกำลังที่เหลือของเธอที่สนามกีฬาเวมบลีย์[3]

รูปแบบการเล่น[แก้]

เรโวลูชัน X เป็นเกมยิงที่ไม่ต้องเดินที่ผู้เล่นจะต้องยิงเป้าหมายรวมถึงทหารนิวออร์เดอร์เนชันและยานพาหนะ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการช่วยเหลือวงดนตรีดังกล่าว ผู้เล่นเริ่มเกมที่คลับ X ในลอสแอนเจลิส โดยขั้นแรกต้องต่อสู้กับกองทหานิวออร์เดอร์เนชัน จากนั้น จึงขโมยเฮลิคอปเตอร์เพื่อบินข้ามเมือง และค้นหารถของแอโรสมิธ โดยถัดมา พวกเขาจะต้องทำลายโครงสร้างของนิวออร์เดอร์เนชันสามแห่งในป่าแอมะซอน, ตะวันออกกลาง และขอบแปซิฟิก ซึ่งสามด่านนี้สามารถเล่นได้ในลำดับใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม การไม่ผ่านด่านตะวันออกกลางให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดจะส่งผู้เล่นกลับไปสู่จุดเริ่มต้นเพื่อพยายามอีกครั้ง ในที่สุด ผู้เล่นจะได้เข้าสู่สนามกีฬาเวมบลีย์เพื่อการต่อสู้ครั้งสุดท้ายกับกองกำลังนิวออร์เดอร์เนชัน และหัวหน้านายหญิงที่ชื่อเฮลกา ตลอดทั้งเกม ผู้เล่นสามารถยิงวัตถุที่อาจเผยให้เห็นถึงเพาเวอร์-อัป เช่น เชคเติมพลังชีวิต, ซีดี, เลเซอร์ดิสก์อันทรงพลัง และซูเปอร์กัน, ระเบิดหัวกะโหลก รวมถึงโล่ ผู้เล่นยังสามารถหาตัวประกันและปลดปล่อยพวกเธอ เพื่อรับคะแนนพิเศษตลอดทั้งเกม[4]

ในตอนท้ายของแต่ละด่าน ผู้เล่นจะได้รับคะแนนโบนัสตามจำนวนศัตรูที่ถูกฆ่าและตัวประกันที่ได้รับการช่วยเหลือ รวมถึงจำนวนความเสียหายที่ได้ทำ ส่วนสมาชิกทั้งห้าของแอโรสมิธได้ซ่อนอยู่ในสถานที่ลับตลอดทั้งเกม เมื่อพบ สมาชิกแต่ละคนจะมอบชุดปีกของแอโรสมิธแก่ผู้เล่น ซึ่งจะเพิ่มโบนัสเมื่อจบด่าน ผู้เล่นต้องหาสมาชิกทุกคนให้ได้เพื่อปลดล็อกฉากจบและระดับโบนัสที่ดีที่สุด ซึ่งผู้เล่นจะกลับไปหลังเวทีหลังจากถล่มเฮลกา และสามารถเก็บแมมมีอะวอดส์ที่มีมูลค่าสูง รวมทั้งปาร์ตีกับวงดนตรีดังกล่าวได้

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

มอร์ทัลคอมแบต II ได้นำเสนอโฆษณาที่มีเครื่องหมายเรโวลูชัน X แบบเก่าที่ผู้ควบคุมเกมอาร์เคดสามารถเปิดและปิดได้[5] และบางโอกาส หลังจากการระเบิดขนาดใหญ่ในเกม จะสามารถได้ยินสตีเวน ไทเลอร์ พูดว่า "โทสตี!" ด้วยเสียงแหลมสูงในการอ้างอิงถึงสื่อไข่อีสเตอร์ในเกมมอร์ทัลคอมแบต II ทั้งนี้ แรกเริ่มเดิมที เกมนี้ได้รับการพัฒนาในฐานะเกมที่อิงจากภาพยนตร์จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ อย่างไรก็ตาม บริษัทเซกาได้รับสิทธิ์ดังกล่าวแทน และในที่สุดก็เปิดตัวเกมอาร์เคดตามภาพยนตร์ของตัวเอง จากนั้น บริษัทมิดเวย์จึงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้ไปยังแอโรสมิธแทน[6]

ทั้งนี้ รุ่นแรกที่มีป้ายกำกับโพรโต 5.0 (23 พฤษภาคม ค.ศ. 1994) ขาดตัวอย่างคำพูดหลายตัวอย่างที่พูดโดยสมาชิกของแอโรสมิธ ซึ่งสามารถได้ยินได้หลังจากรวบรวมเพาเวอร์-อัป และมีด่านขอบแปซิฟิกที่สั้นกว่า ส่วนการแก้ไข 1.0 (16 มิถุนายน ต.ศ. 1994) ได้กู้คืนตัวอย่างคำพูดที่หายไป และมีด่านขอบแปซิฟิกที่สมบูรณ์ ตลอดจนมีเส้นกากบาทในผู้เล่นคนที่ 2 และผู้เล่นคนที่ 3 โดยเรโวลูชัน X เปิดตัวในรูปแบบผู้เล่นสองคนแบบอาร์เคดตั้งตรง และแบบหรูหราสำหรับผู้เล่นสามคน รวมถึงเป็นชุดแปลงสำหรับเกมปืนที่มีอยู่ เช่น เทอร์มิเนเตอร์ 2: ดิอาร์เคดเกม[7]

เรโวลูชัน X อีกรายการที่มีพับลิกเอเนมีของกลุ่มฮิปฮอปได้รับการพิจารณา แต่มีรายงานว่าถูกยกเลิกหลังจากได้รับการตอบรับเชิงลบที่เรโวลูชัน X รุ่นดั้งเดิมได้รับ[6]

ซาวด์แทร็ก[แก้]

ซาวด์แทร็กประกอบด้วยเพลงของแอโรสมิธหลายเพลงที่วนซ้ำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ "อีตเดอะริช", "สวีตอีโมชัน", "ทอยส์อินดิแอตติก" และ"วอล์กดีสเวย์"[7] ส่วนเวอร์ชันดนตรีในลิฟต์ของ "เลิฟอินแอนอลิเวเตอร์" บรรเลงในส่วนลิฟต์ของด่านป่าแอมะซอน ซาวด์แทร็กดังกล่าวได้รับการนำเสนอในข้อเสนอซีดีหลังจากเล่น หรือระหว่างโหมดดึงดูดความสนใจ

เวอร์ชันคอนโซลประกอบด้วยลูปเพลง "แร็กดอล" สำหรับหน้าจอดึงดูดความสนใจ, เมนูหลัก และคะแนน ส่วนเพลง "ฟีเวอร์" สำหรับด่านตะวันออกกลาง และเพลง "ดู้ด (ลุกส์ไลก์อะเลดี)" สำหรับตอนจบ

พอร์ต[แก้]

เกมดังกล่าวได้รับการพอร์ตโดยบริษัทเรจซอฟต์แวร์ และบริษัทซอฟต์แวร์ครีเอชันส์ รวมทั้งได้รับการเผยแพร่โดยบริษัทอะเคลมสำหรับคอมพิวเตอร์เอ็มเอส-ดอส, ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, เมกาไดรฟ์, เพลย์สเตชัน และเซกา แซตเทิร์น[8] นอกจากนี้ ได้มีการเสนอเวอร์ชัน 32เอกซ์ ที่อิเล็กทรอนิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์เอ็กซ์โป ค.ศ. 1995[9] แต่ไม่เคยมีการเผยแพร่และอาจไม่เสร็จสมบูรณ์ ส่วนการแปลงของอาตาริ จากัวร์ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและมีกำหนดจะเผยแพร่ประมาณไตรมาสที่สี่ของ ค.ศ. 1995[10] แต่ก็ไม่เคยเปิดตัวออกมา

ไม่มีเวอร์ชันที่บ้านใดที่เข้ากันได้กับไลต์กัน พอร์ตซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมและเมกาไดรฟ์ได้ลดระดับเลือด รวมทั้งเหล่านักเต้นยั่วยวน (สวมบทโดยแคร์รี ฮอสกินส์) ที่กำลังอวดกางเกงชั้นในของพวกเธอได้รับการพลิกกลับเพื่อให้พวกเธอหันหน้าเข้าหาหน้าจอ ส่วนเวอร์ชันเครื่องเล่นซีดีมีเลือดมากกว่า แต่เหล่านักเต้นยังคงหันหน้าเข้าหาหน้าจอ

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
ออลเกม4.5/5 stars (อาร์เคด)[3]
2.5/5 stars (ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)[11]
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี4.875/10 (ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)[12]
ไฮเปอร์62/100 (ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม)[13]
ไอจีเอ็น1/10 (เพลย์สเตชัน)[8]
เนกซ์เจเนอเรชัน1/5 stars (เจเนซิส, ซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตม, เพลย์สเตชัน, เซกา แซตเทิร์น)[14][15][16][17]
เพลย์สเตชันแมกกาซีน2/10 (เพลย์สเตชัน)[18]
เซกา แซตเทิร์น แมกกาซีน44 เปอร์เซ็นต์ (เซกา แซตเทิร์น)[19]

ในทวีปอเมริกาเหนือ นิตยสารรีเพลย์รายงานว่าเรโวลูชัน X เป็นเกมอาร์เคดตั้งตรงที่ได้รับความนิยมสูงสุดอันดับห้าในขณะนั้น[20] ส่วนนิตยสารเพลย์มิเตอร์ยังระบุว่าเกมนี้เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสองในขณะนั้น[21] ขณะที่นิตยสารเกมโปรได้ให้คะแนนเวอร์ชันอาร์เคดอย่างล้นหลาม โดยยกย่องความสามารถในการเลือกจากหลายเส้นทาง, ไอเทมลับจำนวนมาก, กราฟิกที่คมชัด และซาวด์แทร็กของแอโรสมิธ พวกเขาสรุปว่า "เรโวลูชัน X ไม่ใช่การปฏิวัติในเกมปืน แต่เป็นเกมที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน"[22] และในบทวิเคราะห์ย้อนหลังของออลเกม ได้กล่าวว่า "ค่อนข้างสนุก" โดยอ้างถึงความโง่เขลาและความสามารถในการเลือกเส้นทางของตัวเองในบางจุด[3]

อย่างไรก็ตาม เกมเวอร์ชันสำหรับใช้ในบ้านได้ถูกตำหนิอย่างเต็มที่จากนักวิจารณ์ ซึ่งนักวิจารณ์ทั้งสี่รายของนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลียกย่องเสียงพูดและดนตรีดิจิทัลของเวอร์ชันซูเปอร์นินเทนโดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมอย่างสูง โดยมีสองคนนที่พูดได้เต็มปากว่าดีที่สุดที่พวกเขาเคยได้ยินบนคอนโซล 16-บิตใด ๆ แต่ถึงกระนั้นก็สรุปว่าเป็นการแปลงใหม่ที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาสังเกตเห็นว่าไม่มีรายละเอียดกราฟิกจำนวนมากจากเวอร์ชันอาร์เคด รวมถึงการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์ควบคุมที่เชื่องช้าและเอื่อยเฉื่อย[12] ส่วนดิแอกซ์ไกรน์เดอร์จากนิตยสารเกมโปรยังติเตียนกราฟิกและส่วนควบคุมโดยกล่าวว่า "การย้ายเป้าหมายของคุณเป็นเรื่องง่าย แต่การระบุเป้าหมายขนาดเล็กอย่างแม่นยำนั้นยาก" เขาไม่เห็นด้วยกับอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีในเรื่องเสียง โดยอธิบายว่าดนตรีนั้นทื่อ รวมถึงเอฟเฟกต์เสียงนั้นมีไม่บ่อยนักและไม่ออกเสียง[23] และในฉบับเดียวกัน แอร์ เฮนดริกซ์ ได้พบปัญหาการกำหนดเป้าหมายแบบเดียวกันในเวอร์ชันเจเนซิส และกล่าวว่า "มีความต้องการอย่างมาก" ต่อการสนับสนุนไลต์กัน นอกจากนี้ เขายังพบว่ากราฟิกมีความหยาบ รวมถึงขาด ๆ หาย ๆ ตลอดจนเสียงที่ไม่กระฉับกระเฉง[24] ขณะที่นักวิจารณ์สำหรับนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันได้เย้ยหยัน "กราฟิกที่น่าหัวเราะ, เสียงดิจิทัลที่แยกไม่ออก และดนตรีที่แย่มาก" รวมทั้งเสริมว่าเกมนี้ซ้ำซากและไม่สนุก[14][15]

สเครี แลร์รี แห่งนิตยสารเกมโปรได้วิจารณ์เวอร์ชันเพลย์สเตชันอย่างรุนแรง เมื่อกล่าวถึงการลดความเร็วอย่างเด่นชัด, กราฟิกปานกลาง และซาวด์แทร็กที่ไร้อารมณ์ เขาประเมินว่า "ด้วยการยิงมาตรฐานที่ไม่ตรงตามเกมอาร์เคด เรโวลูชัน X ดูเหมือนเกมเก่าที่ส่งเสียงหายใจลำบากผ่านชื่อเสียงในอดีต"[25] ส่วนนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันให้ความเห็นว่า "เกมยิงนี้ ... เป็นที่นิยมในเกมอาร์เคด แต่การเปลี่ยนแปลงนี้แย่มาก"[16] และเว็บไซต์ไอจีเอ็นให้คะแนนเวอร์ชันเพลย์สเตชันด้วยคะแนน 1 เต็ม 10 พวกเขาบ่นเรื่องการควบคุมที่ช้าและกราฟิกที่ไม่ดี และสรุปว่า "เรโวลูชัน X ไม่ใช่เกมที่แย่ที่สุดที่เคยมีมา แต่มันก็ใกล้เตียงอย่างแน่นอน"[8]

ส่วนการสะท้อนการประเมินสเครี แลร์รี เวอร์ชันเพลย์สเตชัน บรูซด์ ลี จากนิตยสารเกมโปร ได้แสดงความคิดเห็นว่า "บริษัทอะเคลมได้รับเกมอาร์เคดยอดเยี่ยมของบริษัทมิดเวย์ และเปลี่ยนมันให้กลายเป็นเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับแซตเทิร์น" แต่เขาบ่นเรื่องกราฟิกที่เป็นก้อนเหลี้ยม, ฉากหลังมัว, รูปแบบการเล่นซ้ำ ๆ, การแสดงผลช้าลงมาก และเอฟเฟกต์เสียงแย่[26] ขณะที่นิตยสารเซกา แซตเทิร์น แมกกาซีน สรุปว่า "เป็นเกมที่จืดชืดและซ้ำซากจำเจอย่างเหลือเชื่อ ที่เข้ากับความธรรมดาและความน่าเบื่อของวงดนตรีเท่านั้นที่รับรอง" โดยอ้างถึงการต่อสู้ของบอสที่ยาวนาน และขาดการออกแบบที่ชาญฉลาดในจุดที่ศัตรูปรากฏ[19]

ด้านฌอนเบบีแห่งนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีได้จัดให้เวอร์ชันซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมอยู่ในอันดับที่ 10 ในสารคดีพิเศษ "20 เกมที่แย่ที่สุดตลอดกาล" ของเขา[27]

ในทางกลับกัน นิตยสารซูเปร์ฆูเอโกสของสเปนให้คะแนนเวอร์ชันซูเปอร์นินเท็นโดเอนเตอร์เทนเมนต์ซิสเตมที่ 91 คะแนน เกี่ยวกับการปรับขนาดให้เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดของเกม 16 บิต รวมถึงซาวด์แทร็กในฐานะหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดของเครื่องเล่นดังกล่าว[28] นิตยสารนี้ยังชื่นชมเวอร์ชันเพลย์สเตชันและเซกา แซตเทิร์น ซึ่งให้คะแนนทั้งคู่ที่ 92 ตะแนน เกี่ยวกับการปรับขนาดที่สังเกตได้ดีที่สุดในเครื่องเล่น[29]

อ้างอิง[แก้]

  1. Barnholt, Ray. "Aerosmith Can't Catch a Break". 1up. IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-02. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  2. Covert, Colin (1996-02-09). "She's no mere Mortal; Fridley native Kerri Hoskins puts edge on 'Sonya Blade'". Star Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-25. สืบค้นเมื่อ 2008-09-29.
  3. 3.0 3.1 3.2 Cook, Brad. "Revolution X – Review". Allgame. Rovi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-15. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  4. Weiss, Brett Alan. "Revolution X – Overview". Allgame. Rovi. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-15. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  5. "YouTube: Mortal Kombat II 1 credit clear run". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-03. สืบค้นเมื่อ 2017-09-11.
  6. 6.0 6.1 Ungerleider, Neal (November 15, 2007). "The Rocky History of Rockers in Videogames". Wired. Condé Nast. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  7. 7.0 7.1 เรโวลูชัน X ที่ Killer List of Videogames . Accessed March 5, 2013.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Revolution X". November 25, 1996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-08. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  9. "32X-Pectations". GamePro. IDG (83): 38. August 1995.
  10. "Feature - XT Generation Report - Atari Jaguar". MAN!AC (ภาษาเยอรมัน). No. 20. Cybermedia. June 1995. p. 40.
  11. Weiss, Brett Alan. "Revolution X – Review". Allgame. Rovi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ March 5, 2013.
  12. 12.0 12.1 "Review Crew: Revolution X". Electronic Gaming Monthly. No. 78. Sendai Publishing. January 1996. p. 26.
  13. Wildgoose, David (March 1996). "Revolution X". Hyper. No. 29. pp. 40–41. สืบค้นเมื่อ May 22, 2021.
  14. 14.0 14.1 "Revolution X". Next Generation. No. 14. Imagine Media. February 1996. p. 175.
  15. 15.0 15.1 "Don't Walk This Way". Next Generation. No. 15. Imagine Media. March 1996. p. 96.
  16. 16.0 16.1 "Every PlayStation Game Played, Reviewed, and Rated". Next Generation. No. 25. Imagine Media. January 1997. p. 59.
  17. "Every Sega Saturn Game Played, Reviewed, and Rated". Next Generation. No. 25. Imagine Media. January 1997. p. 65.
  18. Revolution X game review, Official UK PlayStation Magazine, Future Publishing issue 6
  19. 19.0 19.1 Allsetter, Rob (May 1996). "Review: Revolution X". Sega Saturn Magazine. No. 7. Emap International Limited. pp. 78–79.
  20. "Player's Choice - Top Games Now in Operation, Based on Earnings-Opinion Poll of Operators: Best Upright Videos". RePlay. Vol. 19 no. 10. RePlay Publishing, Inc. July 1994. p. 6.
  21. "Equipment Poll - Video & Pinball Combined". Play Meter. Vol. 20 no. 9. Skybird Publishing. August 1994. p. 10.
  22. "Hot at the Arcades". GamePro. No. 62. IDG. September 1994. p. 24.
  23. "ProReview: Revolution X". GamePro. No. 89. IDG. February 1996. p. 74.
  24. "ProReview: Revolution X". GamePro. No. 89. IDG. February 1996. p. 70.
  25. "ProReview: Revolution X". GamePro. No. 91. IDG. April 1996. p. 72.
  26. "ProReview: Revolution X". GamePro. No. 91. IDG. April 1996. p. 81.
  27. "Seanbaby's EGM's Crapstravaganza - #10: Revolution X (SNES)". Seanbaby.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-07. สืบค้นเมื่อ 2019-01-05.
  28. "Superjuegos 046".
  29. "Superjuegos 048".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]