เรื่องอื้อฉาวข้อมูลเคมบริดจ์แอนะลิติกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 2010 ปรากฎว่ามีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายล้านคนโดยไม่ได้รับความยินยอมโดยเคมบริดจ์แอนะลิติกา บริษัทที่ปรึกษาสัญชาติอังกฤษ โดยหลักมุ่งประสงค์เพื่อใช้ในการโฆษณาทางการเมือง[1]

ข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บรวบรวมโดยแอปพลิเคชันที่ชื่อ "ดิสอีสยัวร์ดิจิทัลไลฟ์" (This Is Your Digital Life) ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลชื่ออเล็กซานดรา โคแกน และบริษัทของโคแกนที่ชื่อโกลบอล ไซแอนซ์ รีเสิร์ช ในปี 2556[2] แอปพลิเคชันดังกล่าวประกอบไปด้วยชุดคำถามเพื่อสร้างโปรไฟล์ทางจิตวิทยาของผู้ใช้ และเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเพื่อนบนเฟซบุ๊กของผู้ใช้โดยอาศัยแพลตฟอร์มโอเพนกราฟ (Open Graph) ของเฟซบุ๊ก[2] แอปพลิเคชันดังกล่าวเก็บรวบรวมข้อมูลโปรไฟล์ผู้ใช้ไปถึง 87 ล้านราย[2] เคมบริดจ์แอนะลิติกาใช้ข้อมูลในส่วนดังกล่าวเพื่อให้ความช่วยเหลือเชิงวิเคราะห์ต่อแคมเปญหาเสียงเพื่อรับเลือกเป็นประธานาธิบดีของเท็ด ครูซ และดอนัลด์ ทรัมป์[3][4] นอกจากนี้ยังมีการกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่าเคมบริดจ์แอนะลิติกามีส่วนในการเข้าแทรกแซงการลงประชามติว่าด้วยสมาชิกภาพสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร แต่จากการสืบสวนอย่างเป็นทางการ พบว่าบริษัทดังกล่าวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง "เกินไปกว่าการเก็บข้อมูลเบื้องต้น" และไม่พบว่ามี "การรั่วไหลอย่างมีนัยสำคัญ" เกิดขึ้นแต่ประการใด[5][6]

ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลโดยมิชอบมีการเปิดเผยในปี 2561 โดยคริสโตเฟอร์ ไวลีย์ อดีตพนักงานของเคมบริดจ์แอนะลิติกาที่ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน และเดอะนิวยอร์กไทมส์[7] ทำให้เฟซบุ๊กต้องออกมาขอโทษกับการก่อให้เกิดการเก็บข้อมูลดังกล่าว และทำให้มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเฟซบุ๊ก ต้องเข้าให้การต่อรัฐสภาสหรัฐ[7] ในเดือนกรกฎาคม 2562 คณะกรรมาธิการทางการค้าสหรัฐ (Federal Trade Commission) ได้ลงโทษปรับเฟซบุ๊กจำนวน 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากกรณีละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล[8] และในเดือนตุลาคม 2562 เฟซบุ๊กตกลงชำระค่าปรับจำนวน 500,000 ปอนด์ให้แก่สำนักผู้ตรวจการข้อมูลแห่งสหราชอาณาจักร (Information Commissioner's Office) เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลของผู้ใช้ที่ก่อให้เกิด "ความเสี่ยงต่อภยันตรายอย่างร้ายแรง"[9] ในเดือนพฤษภาคม 2561 เคมบริดจ์แอนะลิติกาได้ยื่นขอล้มละลายตามความในหมวด 7 ของกฎหมายล้มละลายสหรัฐ[10]

หน่วยงานที่ทำการโฆษณาแห่งอื่น ๆ ได้ใช้วิธีการกำหนดเป้าหมายทางจิตวิทยาในรูปแบบต่าง ๆ มาหลายปี และเฟซบุ๊กเองก็ได้จดสิทธิบัตรเทคโนโลยีทำนองเดียวกันในปี 2555[11] อย่างไรก็ดี การเปิดเผยวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและลักษณะของลูกค้าของเคมบริดจ์แอนะลิติกา ซึ่งรวมถึงแคมเปญหาเสียงเพื่อเป็นประธานาธิบดีของดอนัลด์ ทรัมป์ และแคมเปญโวทลีฟ (Vote Leave) ในกรณีเบร็กซิต ทำให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ถึงความท้าทายเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายทางจิตวิทยาที่นักวิชาการได้เคยเตือนไว้[11] เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวทำให้ประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคลและอิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ในแวดวงการเมืองมากขึ้น และก่อให้เกิดการพูดถึงการ #DeleteFacebook (ลบ[บัญชี]เฟซบุ๊ก) อย่างมากในทวิตเตอร์[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Chan, Rosalie. "The Cambridge Analytica whistleblower explains how the firm used Facebook data to sway elections". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
  2. 2.0 2.1 2.2 Meredith, Sam (2018-04-10). "Facebook-Cambridge Analytica: A timeline of the data hijacking scandal". CNBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2018. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  3. Confessore, Nicholas (2018-04-04). "Cambridge Analytica and Facebook: The Scandal and the Fallout So Far". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 11, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  4. Smith, Allan. "There's an open secret about Cambridge Analytica in the political world: It doesn't have the 'secret sauce' it claims". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 31, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  5. Kaminska, Izabella (2020-10-07). "Cambridge Analytica probe finds no evidence it misused data to influence Brexit". The Financial Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  6. "Cambridge Analytica 'not involved' in Brexit referendum, says watchdog". BBC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-10-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  7. 7.0 7.1 Gilbert, Alexandra Ma, Ben. "Facebook understood how dangerous the Trump-linked data firm Cambridge Analytica could be much earlier than it previously said. Here's everything that's happened up until now". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 26, 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  8. "Facebook to be fined $5bn for Cambridge Analytica privacy violations – reports | Facebook | The Guardian". amp.theguardian.com. July 12, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-07-13.
  9. "Facebook agrees to pay Cambridge Analytica fine to UK". BBC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-30. สืบค้นเมื่อ 2020-10-21.
  10. "Cambridge Analytica files for bankruptcy in U.S. following Facebook debacle". Reuters. 18 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2021.
  11. 11.0 11.1 Matz, Sandra; Appel, Ruth; Kosinski, Michal (February 2020). John, Leslie; Slepian, Michael; Tamir, Diana (บ.ก.). "Privacy in the age of psychological targeting". Current Opinion in Psychology (ภาษาอังกฤษ). 31: 116–121. doi:10.1016/j.copsyc.2019.08.010. PMID 31563799. S2CID 202255877.
  12. Chen, Brian X. (2018-03-21). "Want to #DeleteFacebook? You Can Try". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2021. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]