เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือป้องกันชายฝั่งรัสเซียเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน ซึ่งต่อมากลายเป็นโอกิโนชิมะของญี่ปุ่น
ประวัติ
จักรวรรดิรัสเซีย
ชื่อเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน
อู่เรือนิวแอดมิแรลทีเวิกส์ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย
ปล่อยเรือ24 ตุลาคม ค.ศ. 1894
เดินเรือแรก12 พฤษภาคม ค.ศ. 1896
เข้าประจำการค.ศ. 1899
Stricken28 พฤษภาคม ค.ศ. 1905
ความเป็นไปตกเป็นทรัพย์เชลยของญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น
ชื่อโอกิโนชิมะ
ส่งมอบเสร็จค.ศ. 1905
เข้าประจำการ6 มิถุนายน ค.ศ. 1905
ปลดระวาง1 เมษายน ค.ศ. 1922
ความเป็นไปขาย ค.ศ. 1924 เป็นเรืออนุสรณ์
สถานะทำให้เป็นเศษ เดือนกันยายน ค.ศ. 1939
ลักษณะเฉพาะ
ชั้น: เรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 4,165 ตัน (ปกติ); 4,270 ตัน (สูงสุด)
ความยาว: 80.62 ม. (264.5 ฟุต) ที่เส้นน้ำลึกของเรือ
ความกว้าง: 15.85 ม. (52.0 ฟุต)
กินน้ำลึก: 5.18 ม. (17 ฟุต)
ระบบขับเคลื่อน: เครื่องจักรไอน้ำทูชาฟต์ วีทีอี, 6,000 แรงม้าเพลา (4,470 กิโลวัตต์); หม้อไอน้ำ 4 ตัว
ความเร็ว: 15 นอต (28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง:
  • 313 ตันเทียบเท่าถ่านหิน;
  • 3,000 ไมล์ทะเล (6,000 กิโลเมตร) ที่ 10 นอต (19 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 406 นาย
ยุทโธปกรณ์:

ตามที่สร้างขึ้น:

ปืนขนาด 254 มม. (10 นิ้ว) จำนวน 3 กระบอก
ปืนขนาด 120 มม. (4.7 นิ้ว) จำนวน 4 กระบอก
ปืนขนาด 47 มม. (1.9 นิ้ว) จำนวน 10 กระบอก
ปืนขนาด 37 มม. (1.5 นิ้ว) จำนวน 12 กระบอก
ท่อยิงตอร์ปิโดขนาด 450 มม. (18 นิ้ว) จำนวน 4 ท่อ

ในฐานะโอกิโนชิมะ:

ปืนขนาด 254 มม. (10 นิ้ว) จำนวน 3 กระบอก
ปืนขนาด 152 มม. (6 นิ้ว) จำนวน 6 กระบอก
ปืนฮอท์ชคิส 47 มม. (1.9 นิ้ว) จำนวน 2 กระบอก
สิ่งป้องกัน:

เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน (รัสเซีย: Генералъ-Адмиралъ Апраксинъ; อังกฤษ: General-Admiral Apraksin บางครั้งทับศัพท์ว่า Apraxin) เป็นสมาชิกเรือป้องกันชายฝั่งชั้นแอดมิรัลอูชาคอฟแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย มันได้รับการตั้งชื่อตามพลเรือเอกอาวุโส ฟิโอดอร์ มาตเวเยวิช อะพรักซิน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการคนแรกของกองเรือบอลติกรัสเซีย มันเป็นหนึ่งในแปดเรือประจัญบานก่อนเดรดนอตรัสเซียที่ถูกเข้ายึดโดยกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น ค.ศ. 1904–1905 ต่อมามันได้ประจำการในกองทัพเรือญี่ปุ่นในฐานะโอกิโนชิมะ (沖ノ島) จนกระทั่งถูกปลดระวางในปี ค.ศ. 1922

มันมีปืนเพียงสามกระบอกเท่านั้น (ป้อมปืนทางส่วนท้ายเรือกระบอกเดียว ดังที่แสดงในรูป) แทนที่จะเหมือนเรือพี่น้องของมัน ซึ่งติดตั้งปืนสี่กระบอก

ประจำการรัสเซีย[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1899 ไม่นานหลังจากเข้าประจำการกับกองเรือบอลติก เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้แล่นเกยฝั่งบนเกาะฮอกแลนด์ในอ่าวฟินแลนด์ มันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการกู้เรือ เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในปี ค.ศ. 1897 มีเรือประจัญบานของกองทัพเรือรัสเซียได้รับความเสียหายอีกลำ นั่นคือแกงกุต พวกลูกเรือเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้รับคำสั่งให้อยู่บนเรือเพื่อประคับประคองเรือให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เมื่ออ่าวแข็งตัวในช่วงฤดูหนาว

ตามคำแนะนำของผู้บุกเบิกวิทยุ เอ.เอฟ. โพพอฟ ลูกเรือของเรือได้จัดตั้งสถานีวิทยุบนเกาะเพื่อประคับประคองการสื่อสารกับสำนักงานใหญ่ของกองเรือที่โครนชตัดท์ (ผ่านสถานีที่คีมิ) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1900 หลังจากล่าช้าหลายสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน พลเรือตรี ซิโนวี รอเชสทเวนสกี ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำในการปฏิบัติการกู้เรือ ผลของการลงดินเป็นสิ่งที่พยายามชักลากเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินให้เป็นอิสระไม่สามารถแก้ไขได้ รวมถึงตกอยู่ในอันตรายจากการอัปปาง และได้แทนที่วิธีของรอเชสทเวนสกีด้วยการจ้างบริษัทเหมืองแร่พลเรือนเพื่อเอาก้อนหินที่ยึดเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินออกด้วยระเบิดเล็ก ๆ ความช่วยเหลือในการกอบกู้คือเรือตัดน้ำแข็งยิร์มาก ในตอนแรกรอเชสทเวนสกีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประโยชน์ของยิร์มาก แต่มันได้พิสูจน์คุณค่าของมันในระหว่างปฏิบัติการ ซึ่งได้ข้อสรุปที่ประสบความสำเร็จในช่วงแรกของเดือนพฤษภาคม หลังจากเจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซินได้เป็นอิสระ มันก็ถูกลากกลับไปที่โครนชตัดท์เพื่อทำการซ่อมแซมที่จำเป็น[1]

ต่อมา เจเนอรัลแอดมิรัลอะพรักซิน และสองเรือพี่น้องของมัน แอดมิรัลอูชาคอฟ และแอดมิรัลเซเนียวิน ได้รับการจัดชั้นใหม่ในฐานะเรือป้องกันชายฝั่ง

หมายเหตุ[แก้]

  1. Constantine Pleshakov, The Tsar's Last Armada, pp. 50-51.

อ้างอิง[แก้]

  • Burt, R.A. Japanese Battleships, 1897–1945.
  • Gibbons, Tony. The Complete Encyclopedia of Battleships and Battlecruisers.
  • Grove, Eric (1998). Big Fleet Actions. London: Brockhampton Press.
  • Hore, Peter (2005). Battleships. Anness Publishing Ltd. ISBN 0-7548-1407-6.
  • Jentsura, Hansgeorg (1976). Warships of the Imperial Japanese Navy, 1869-1945. Naval Institute Press. ISBN 0-87021-893-X.
  • Pleshakov, Constantine (2002). The Tsar's Last Armada: The Epic Voyage to the Battle of Tsushima. New York: Basic Books. ISBN 0-465-05792-6.
  • Schencking, J. Charles (2005). Making Waves: Politics, Propaganda, And The Emergence Of The Imperial Japanese Navy, 1868-1922. Stanford University Press. ISBN 0-8047-4977-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]