เรวัช กลิ่นเกษร
เรวัช กลิ่นเกษร | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโทสุรพล ทวนทอง |
ถัดไป | พลตำรวจโทสมหมาย กองวิสัยสุข |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 มกราคม พ.ศ. 2499 อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ประเทศไทย |
การศึกษา | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด |
ยศ | ![]() |
พลตำรวจโท เรวัช กลิ่นเกษร (เกิด 29 มกราคม พ.ศ. 2499) เป็นอดีตนายตำรวจชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เป็นอดีตรักษาการผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และอดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรี เจ้าของฉายา มือปราบขุนดง และ มือปราบศยามล
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโท เรวัช กลิ่นเกษร เกิดปี 2499 ที่อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ในครอบครัวที่เป็นเจ้าของโรงสี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล[1]
ชีวิตในวัยเด็กของท่านเรวัช ที่บ้านได้โดนปล้นคุณตาถูกโจรฆ่าตาย ทางบ้านจึงให้เงินกับตำรวจเพื่อเป็นรางวัลนำจับรายละ 5,000 บาท โดยคุณลุงของท่านเรวัชซึ่งเป็นตำรวจได้ให้ท่านเรวัชซึ่งเป็นเด็กไปเป็นพยานเพื่อชี้ตัวคนร้าย ทำให้คนร้ายแค้นใจมากนำมาซึ่งการตามฆ่าท่านเรวัช ทำให้คุณลุงของท่านเรวัชได้ฝึกให้ท่านเรวัชได้ใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตัว
หลังจากที่โดนโจรปล้นบ้าน ทำให้ท่านเรวัชอยากไปเป็นตำรวจเพื่อล้างแค้นให้กับคุณตา แต่เงินทองก็หมดไปแล้วทำให้ไม่มีเงินไปเรียนโรงเรียนเตรียมทหาร จึงต้องไปเรียนต่อมัธยมศึกษาก่อนเพื่อหาลู่ทางต่อไป
ขณะที่เรียนมัธยมศึกษาก็ได้เป็นดรัมเมเยอร์ของโรงเรียน และได้มีปัญหากับครูฝึกสอน จนถูกไล่ออกจากโรงเรียน จึงได้หันไปเรียนโรงเรียนเกษตร แต่เมื่อได้เข้าไปสมัครที่โรงเรียนเกษตรนั้นมีการรับน้อง และได้เกิดการปะทะกันระหว่างการรับน้องกับรุ่นพี่และท่านเรวัชมีการใช้อาวุธทำร้ายรุ่นพี่ จึงได้หลบหนีออกมาแล้วไม่ได้เรียนที่โรงเรียนเกษตร
หลังจากนั้นท่านเรวัชได้มาเรียนที่วิทยาลัยครูเรียนได้ 2 ปี ใกล้จะจบได้เกิดเรื่อง ซึ่งตอนนั้นท่านเรวัชได้ยืนสูบบุหรี่อยู่และได้มีกลุ่มรุ่นพี่มาขอต่อบุหรี่ ซึ่งท่านเรวัชก็ให้ต่อบุหรี่ หลังจากต่อบุหรี่เสร็จรุ่นพี่กลุ่มนั้นก็โยนบุหรี่ท่านเรวัชทิ้ง ท่านเรวัชไม่คิดอะไรก็ก้มลงไปเก็บแต่โดนกลุ่มรุ่นพี่นั้นเตะทำร้ายอย่างรุนแรง ท่านเรวัชจึงได้ควักอาวุธปืนออกมายิงกลุ่มรุ่นพี่นั้นเพื่อป้องกันตัว หลังจากยิงก็หลบหนีออกไปจึงเป็นเหตุให้เรียนไม่จบวิทยาลัยครู
หลังจากหลบหนีไปได้ไปทำไร่ทานตะวันและเก็บเงินได้ประมาณ 8,000 บาท ได้นำเงินไปซื้อหนังสือสนามหลวงมาอ่านเพื่อไปสอบไล่ มศ.8 และได้ไปเป็นครูฝึกสอนและสอบไล่วุฒิครูได้ หลังจากนั้นก็สอบบรรจุครูและเสมียนได้อันดับที่ 1 ทั้งคู่ ของจังหวัดชัยนาท และได้มีคนสอบครูที่ได้อันดับที่ 4 ได้มาจ้างท่านเรวัชให้สละสิทธิ์โดยให้มอเตอร์ไซค์ 1 คัน ท่านเรวัชจึงสละสิทธิ์ให้และได้มาเป็นเสมียนอำเภอที่จังหวัดชัยนาท
รับราชการ[แก้]
พลตำรวจโท เรวัช เริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนที่จังหวัดชัยนาท ก่อนขยับขึ้นมาเป็นปลัดอำเภอ และตัดสินใจสมัครเป็นตำรวจ เพราะเป็นความชอบส่วนตัว[2] กระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2522 รุ่นเดียวกับพลตำรวจโทอำนวย นิ่มมะโน อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลและอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1, พลตำรวจโทจุตติ ธรรมมโนวานิช, พลตำรวจตรีประสพโชค พร้อมมูล, พลตำรวจเอกปัญญา มาเม่น, พลตำรวจโทเทศา ศิริวาโท อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8, พลตำรวจเอกเดชา ชวยบุญชุม อดีตที่ปรึกษา สบ.10, พันตำรวจเอกสีหนาท ประยูรรัตน์ อดีตเลขาธิการ ป.ป.ง., พลตำรวจโทสกลเขต จันทรา ประจำสำนักพระราชวัง, พลตำรวจโทพิสัณห์ จุลดิลก สมาชิกวุฒิสภาและอดีตเลขาธิการสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย, พลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลตำรวจโทวิสุทธิ์ วานิชบุตร, และพลตำรวจโทวินัย ทองสอง อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[3]
กระทั่งได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาตามลำดับจนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557 สืบต่อจาก พลตำรวจโทสุรพล ทวนทอง ที่ขยับขึ้นไปดำรงตำแหน่ง จเรตำรวจ (สบ 8)[4] พร้อมกับรับพระราชทานยศพลตำรวจโท ก่อนจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน 2559
โดยในระหว่างรับราชการได้สร้างผลงานไว้มากมาย เช่น คลี่คลายคดีฆาตกรรมศยามล จนได้รับฉายา มือปราบศยามล แต่ระหว่างที่ไปรับราชการอยู่ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และมียศร้อยตำรวจเอก เกิดไปมีเรื่องจนโดนสั่งย้ายห้ามเข้าลพบุรีและสระบุรี
ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งพลตำรวจโทเรวัชเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ แทนพลตำรวจเอกปัญญา มาเม่น ที่ลาออกไป[5]
ประวัติการรับราชการ[แก้]

พลตำรวจโท เรวัช กลิ่นเกษร ติดยศ “นายพล” ขึ้นเป็นผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดกาญจนบุรีเมื่อปี 2550[6] โดยขยับมาจากตำแหน่ง รองผู้บังคับการศูนย์สืบสวนตำรวจภูธรภาค 7 แล้วย้ายเป็นผู้บังคับการประจำสำนักงานจเรตำรวจ เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 รองจเรตำรวจ (สบ 7) รักษาการผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล และนั่งเก้าอี้ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด กระทั่งเกษียณอายุราชการในปี 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2554 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2553 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)
- พ.ศ. 2555 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2560 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ประวัติ “พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร” มือปราบเจ้าของ “คดีศยามล” และไสยเวทประจำตัว
- ↑ เปิดประวัติ "พล.ต.ท.เรวัช กลิ่นเกษร" เจ้าของวลีเด็ด “ไอ้พวกนี้มันขี้ตีนเรา”
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 85)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ แต่งตั้ง พล.ต.ท.เรวัช เป็น กก.พิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ แทน พล.ต.อ.ปัญญา
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ (หน้า 45)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๖๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๖ ข หน้า ๕, ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐