เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส
เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส | |
---|---|
![]() | |
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | Daimler-Benz (1993–1998) DaimlerChrysler (1998–2007) Daimler AG (2007–2022) Mercedes-Benz AG (2022–ปัจจุบัน) Magna Steyr (4MATIC models only, 1996–2009) |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2478–ปัจจุบัน (E-Class nomenclature adopted since 1993) |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถผู้บริหาร (E) |
โครงสร้าง | Front engine, rear-wheel drive/All wheel drive |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | Mercedes-Benz W124 (pre-facelift models, 1984–1993) |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส(Mercedes-Benz E-Class) เป็นรถยนต์นั่งประเภทหรูหราขนาดกลางที่ผลิตโดยบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ชื่อ E-Class ย่อมาจาก Einspritzung-Class ซึ่งเป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า รถยนต์เครื่องหัวฉีด
ในบรรดารถยี่ห้อเบนซ์ อี-คลาส จัดเป็นรถซีดานระดับหรูหรารองจาก เอส-คลาส แต่ก็ยังจัดเป็นรถขนาดใหญ่และหรูหรามากรุ่นหนึ่ง(เอส-คลาส เป็นรถซีดานที่ใหญ่และหรูหรากว่าอี-คลาส ,และเอส-คลาส เป็นซีดานรุ่นที่ใหญ่และหรูหราที่สุดของเมอร์เซเดส เบนซ์)
ชื่อรุ่นอี-คลาส เริ่มผลิตขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2478 แต่ในช่วงแรกจะไม่ใช้ชื่อ อี-คลาส จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 มีการเปลี่ยนแปลงระบบเครื่องยนต์เป็นแบบหัวฉีด รถในรุ่นปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา จึงเรียกว่า อี-คลาส อย่างเป็นทางการ ส่วนรถในรุ่นก่อนนั้น ก็ถือเป็นรถในตระกูลอี-คลาสด้วย (แต่จะไม่เรียกว่า อี-คลาส)
รถในตระกูลนี้ มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ดังนี้
W136 (พ.ศ. 2478 - 2498)[แก้]
โฉมแรกนี้ ผลิตเป็นเวลารวม 20 ปีเต็ม เป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จมากในช่วงแรก แต่หลังจากเริ่มผลิตได้ 4 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็อุบัติขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมในหลายด้านได้รับผลกระทบจากสงคราม รวมทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์ ด้วย ผลจากสงครามทำให้ทางบริษัทต้องหยุดการผลิตไปในช่วงหนึ่ง
แต่หลังจากสงครามสิ้นสุดลง บริษัท ได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างค่อนข้างหนัก แต่ไม่ได้รับความเสียหายทางโรงงานสถานที่มากนัก ส่วนประกอบ เครื่องมือประกอบต่างๆ ยังอยู่ครบ จึงสามารถเริ่มผลิตรถได้อีกครั้ง โดย W136 นี้เองที่ก็ยังได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าช่วงก่อนสงคราม เป็นกำลังสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของบริษัท
W120 (พ.ศ. 2496 - 2505)[แก้]
โฉมนี้ รถมีขนาดเล็กลง จนประชาชนเข้าใจผิดว่ามันเป็นรถขนาดเล็ก (ทั้งๆที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ ตั้งใจให้มันเป็นรถขนาดกลาง) และนอกจากนี้ มันยังมีรายละเอียดลักษณะต่างๆ คล้ายคลึงกันกับ W180 ในเอส-คลาส ประชาชนที่ไม่รู้เรื่องรถดีพอ จะไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่าง W180 กับ W120 ได้เลย นอกจากจะให้สองรุ่นนี้มาจอดเทียบกันให้เห็นขนาดที่ต่างกัน
ในระหว่าง พ.ศ. 2499-2504 ได้มีการผลิต W121 ควบคู่กับ W120 และลักษณะรายละเอียดต่างๆ ก็ไม่ได้ต่างจาก W120 จึงถูกจัดเป็นรถรุ่นแฝดกับ W120 แต่จะมีเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่า (W121 ใช้เครื่องยนต์ 1900 ซีซี ในขณะที่ W120 ใช้เครื่องยนต์ 1800 ซีซี) ซึ่งลักษณะในโฉมนี้ ก็ไปใกล้เคียงกับ W128 ซึ่งเป็นแฝดของ W180 ใน เอส-คลาส อีก ดังนั้น ประชาชนทั่วไปก็ไม่สามารถแยก W128 กับ W121 ได้อีกเช่นกัน (นอกจากจะมาจอดเทียบขนาด)
ด้วยลักษณะที่เหมือนกันนี้ W120 และ W121 จึงได้รับชื่อเล่นว่า Ponton เช่นเดียวกับ W180 และ W128 ในเอส-คลาส ซึ่งคำว่า Ponton มาจากคำว่า Pontoon แปลว่า เรือท้องแบน โดยใช้เรียกลักษณะที่แบนของรถสี่รุ่นนี้
W110 (พ.ศ. 2504 - 2511)[แก้]
โฉมนี้ ได้รับชื่อเล่นว่า Fintail เช่นเดียวกับ W111 ในเอส-คลาส โดยฉายานี้มากจากคำว่า Tailfins ซึ่งแปลว่าครีบข้าง เพราะ W110 มี "ครีบ" ทางข้างของกระโปรงหลังรถ ในไทยเรียกว่า "โฉมหางปลา" หรือ "เบนซ์หางปลาสลิด"
W114 (พ.ศ. 2511 - 2519)[แก้]
โฉมนี้ ออกแบบโดยนักออกแบบชาวฝรั่งเศสชื่อนาย Paul Bracq ซึ่งเป็นผู้ออกแบบรถยนต์เปิดประทุนรุ่น SL โฉม W113 (Pagoda) ด้วย ซึ่งรถยนต์รุ่น W114 นี้มีชื่อเรียกกันติดปากว่า ทับแปด หรือ ตาตั้ง ,ตาตั๊กแตน ซึ่งเมื่อเอ่ยจะรู้ได้ทันทีเลยว่าคือ W114 นั่นเอง
ในช่วง W114 นี้ จะผลิตเป็นรถแฝดควบคู่กับ W115 โดยที่ W114 จะเป็นเครื่องยนต์แบบเบนซิน 6 สูบแถวเรียงทั้งหมด ส่วน W115 จะเน้นไปที่เบนซิน 4 สูบแถวเรียง แต่ก็มีรุ่น 5 สูบ และ 6 สูบ และรุ่นเครื่องดีเซลให้เลือกอยู่บ้าง
ในช่วงเปิดตัว บริษัท ได้โฆษณารถรุ่นนี้โดยใช้สโลแกน " รถยนต์สายพันธุ์ใหม่ ( New Generation Models) "
W123 (พ.ศ. 2519 - 2528)[แก้]
โฉมนี้ เป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ในช่วง 9 ปีที่ผลิต โฉมนี้ขายได้ถึง 2.7 ล้านคัน ทั้งๆ ที่เป็นรถที่มีราคาแพง ด้วยเพราะขนาดที่ใหญ่ขึ้น และรูปทรงที่ทันสมัย โฉบเฉี่ยวที่สุดในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ โฉมนี้ ก็เป็นโฉมแรกที่เริ่มมีการผลิตเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด ควบคู่ไปกับเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์แบบเก่า ซึ่งเครื่องยนต์หัวฉีดแบบใหม่นี้ จะใช้เชื้อเพลิงอย่างประหยัดกว่าและให้กำลังดีกว่าเครื่องคาร์บูเรเตอร์ แต่หัวฉีดในช่วงแรกนั้นยังไม่เป็นที่นิยมนัก ผู้ซื้อส่วนใหญ่ยังซื้อเครื่องยนต์คาร์บูเรเตอร์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประชาชนเริ่มมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์หัวฉีดมากขึ้น ทำให้หัวฉีดเริ่มเป็นที่นิยม และคาร์บูเรเตอร์เริ่มหายไป
W124 (พ.ศ. 2527 – 2538)[แก้]
โฉมนี้ ไม่ใช่รถแฝดของ W123 โฉมนี้จัดเป็นโฉมแรกที่ใช้ชื่อ E-Class อย่างเป็นทางการ ด้วยเพราะในโฉมนี้ เครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ได้เลือนหายไป คงเหลือไว้แต่แบบหัวฉีด ซึ่งภาษาเยอรมันคำว่าหัวฉีด ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร E เบนซ์จึงนำมาใช้ในรุ่นนี้โดยให้นิยามใหม่ว่า Elegance ซึ่งแปลว่า ความสง่า งาม โก้เก๋ สละสลวย งดงาม สะโอดสะอง
ในประเทศไทย W124 เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในชื่อ "โฉมโลงจำปา" ซึ่งมาจากลักษณะของกระโปรงหลังของตัวรถ เมื่อดูโดยรวมแล้ว ท้ายรถ W124 จะคล้ายโลงศพชาวจีน ซึ่งทำด้วยไม้จำปา เมื่อถูกตั้งชื่อในประเทศไทยว่าโฉมโลงจำปา มีชาวจีนจำนวนหนึ่งได้ซื้อรถรุ่นนี้ ด้วยเหตุผลทางความเชื่อส่วนบุคคล ในเรื่องการแก้เคล็ด (ได้ซื้อและอยู่ใน "โลงศพ" ปลอมไปแล้ว ดังนั้นระยะเวลาที่จะอยู่ใน "โลงศพ" จริง จะถูกเลื่อนออกไป เป็นการต่ออายุทางหนึ่ง)
W124 นับเป็นโฉมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเช่นกัน เพราะจากการสำรวจใน พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 14 ปีหลังเลิกผลิต ยังสามารถพบ W124 ได้ในจำนวนมากบนท้องถนนทุกหนทุกแห่ง เพราะ W124 คือรถที่ถูกสร้างมาให้วิ่งได้ตลอดไปเหมือนเบนซ์รุ่นก่อนๆอย่าง W123 นั่นเอง
แกลอรี่ (W124 ก่อนปรับโฉม; พ.ศ. 2528 – 2536)[แก้]
V 124 Limousine (1989–1993)
แกลอรี่ (W124 หลังปรับโฉม; พ.ศ. 2537 – 2539)[แก้]
W210 (พ.ศ. 2538 - 2545)[แก้]
โฉมนี้ มีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ครั้งใหญ่ โดยที่รถเริ่มมีความโค้งมนแบบสมัยใหม่ และได้เปลี่ยนไฟหน้าแบบกลม 4 ตาจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกกันว่า "ตากลม" นั่นเอง และได้มีการเริ่มใช้ระบบแอร์แบ็คข้างประตูเป็นรุ่นแรกของอี-คลาสด้วย ในช่วงหลังประมาณปี 2541 ได้มีการ Minor Change ใหม่อีกโดยใช้เครื่องแบบ 6 สูบเรียงเป็นแบบวี 6 และยังมีเครื่องดีเซลคอมมอนเรล ไดเรค อินเจคชั่น หรือเรียกกันว่า CDI เป็นเทคโนโลยีเครื่องดีเซลรุ่นแรกของค่ายเมอร์ซีเดส
W211 (พ.ศ. 2545 - 2552)[แก้]
โฉมนี้ ตัวถังมีให้เลือกคือ 4 ประตูและ5 ประตูวากอน เกียร์มีให้เลือก คือ 5สปีดและ7สปีด อัตโนมัติ ส่วนเกียร์ธรรมดา เป็น6สปีดเครื่องยนต์มีให้เลือก คือ เบนซิน1.8 I4 Kompressor,2.6 V6,3.0 V6,3.2 V6,3.5 V6,5.0 V8,5.5 V8 Kompressor,6.2 V8 ดีเซล มี คือ2.2 I4,2.7 I5,3.0 V6,4.0 V8 ผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ถึงพ.ศ. 2552
ไฮไลต์สำคัญในงานนี้ก็คือการเปิดตัวก็คือ Mercedes-Benz E 200 NGT BlueEFFICIENCY รถยนต์พลังงานน้ำมันเบนซินและแก๊ซ NGV หรือ CNG ตามแต่ใครจะเรียกซึ่งถือเป็นการสืบสานความสำเร็จของการบุกเบิกตลาดรถยนต์สองพลังงานทั้งน้ำมันและแก๊ซธรรมชาติเมื่อ 6 ปีที่แล้ว
Mercedes-Benz E 200 NGT BlueEFFICIENCY ติดตั้งเครื่องยนต์ 4 สูบแบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ขนาด 1.8 ลิตร (1,796 ซีซี; M271 KE18ML) ให้กำลังถึง 120 กิโลวัตต์ 163 แรงม้าที่ 5,500 รอบ/นาที ให้แรงบิดสูงสุด 240 นิวตันเมตร ที่ 3,000-4,000 รอบต่อนาที มีอัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. โดยใช้เวลา 10.4 วินาที ให้ความเร็วสูงสุด 224 กม./ชม. อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน 8.1-8.5 ลิตรต่อระยะทาง 100 กม.อัตราสิ้นเปลืองแก๊ส 5.5 กก.ต่อระยะทาง 100 กม. ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงจากเดิมถึง 20% หรือคิดเป็นอัตราเพียง 149 กรัม/กม. สนนราคา Mercedes-Benz E 200 NGT BlueEFFICIENCY ที่ 3,699,000 บาท
W212 (พ.ศ. 2552 – 2558 / C207/A207; พ.ศ. 2552 – 2560)[แก้]
อี-คลาส รุ่น W212 เปิดตัวครั้งแรกในงาน 2009 North American International Auto Show ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 และเริ่มเปิดขายทั่วไปในยุโรปในเดือนมีนาคม และกำลังอยู่ในช่วงการตีตลาดเข้าไปแทนที่ W211 ตามประเทศต่างๆ ตัวถังมีให้เลือกหลายแบบคือ 2ประตู (C207), รถเก๋ง 4ประตู (W212), Estate 5ประตู (S212) และ2 ประตูเปิดประทุน (A207) และ เมื่อปีพ.ศ. 2556 ได้มีการปรับโฉมโดยเปิดครั้งแรกในอาเซียนที่ประเทศไทยและเพิ่มความสปอร์ตขึ้นด้วย
โฉมนี้ มีการใส่เทคโนโลยีใหม่เข้ามามากมาย เช่น เทคโนโลยีควบคุมความเร็ว เพื่อความปลอดภัย เป็นต้น
W212 ปรับปรุงใหม่ (พ.ศ. 2556 – 2559)[แก้]
C207/A207 ปรับปรุงใหม่ (พ.ศ. 2556 – 2560)[แก้]
W213 (พ.ศ. 2559 - 2565)[แก้]
Mercedes-Benz W213 | |
---|---|
![]() Mercedes-Benz E 225 (W213) | |
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2559 – 2566 |
รุ่นปี | 2017–2023 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
รูปแบบตัวถัง | 4-door sedan 5-door station wagon 2-door คูเป้ (C238) 2-door เปิดประทุน (A238) |
แพลตฟอร์ม | MRA Platform |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ อี-คลาส (W213) ถือเป็นดาวเด่นรุ่นหนึ่ง ในงาน “บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล” มอเตอร์โชว์ ที่จัดขึ้น ณ ขณะนี้ ทั้งความสด ใหม่ รูปลักษณ์ที่สวยสะดุดตาในทุกรายละเอียดแล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยความทันสมัยของเทคโนโลยีมากมาย และถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในไทยโดยใช้เวที มอเตอร์โชว์ อวดโฉมและให้ลูกค้าสัมผัสตัวเป็น ๆ แต่ก่อนที่จะมาเมืองไทย อี-คลาส ใหม่รุ่นนี้ถูกเปิดตัวครั้งแรกเมื่อต้นเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ในงานดีทรอยต์ มอเตอร์โชว์ 2016 โดยในช่วงแรกการทำตลาดของเครื่องยนต์ยังไม่เยอะเท่าไร แต่สำหรับเมืองไทยเมอร์เซเดส-เบนซ์ จะนำเข้ามาจำหน่ายก่อน 2 รุ่น คือ อี 220 d Exclusive และ อี 220 d AMG Dynamic ส่วนรุ่นประกอบภายในประเทศคงต้องรออีกสักพัก คาดว่าน่าจะเป็นช่วงปลายปีนี้ อาจได้เห็นกัน แน่นอนเมื่อ อี-คลาส เป็นโมเดล ใหม่ สด ซิง ขนาดนี้ ทางเมอร์เซเดส-เบนซ์ จึงได้เชื้อเชิญสื่อมวลชนจากไทยกว่า 10 ชีวิต บินไปทดสอบรถถึงประเทศโปรตุเกสกันเลยทีเดียว แม้ว่าที่โน้นจะมีรถให้เลือกหลายรุ่นในการลองขับ แต่ผู้เขียนเลือกรุ่น อี220 d ในการทดสอบ เพราะเป็นรุ่นที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในไทย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รถที่ขับในต่างประเทศกับที่ขายในเมืองไทย จะมีสเป็กที่แตกต่างกันเพราะบางเทคโนโลยีไม่สามารถนำมาใช้ในไทยได้ ทุกรุ่นติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ ความจุ 2.0 ลิตร (1,995 ซีซี) รุ่น OM654 เทอร์โบ รหัส E 220d ให้กำลังสูงสุด 194 แรงม้า มีให้เลือก 2 รุ่นย่อย คือ Exclusive 3,990,000 บาท และ AMG Dynamic 4,790,000 บาท เริ่มประกอบในประเทศสำหรับตัวถัง W213 เมื่อเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 คราวนี้แบ่งออกเป็น 3 รุ่น โดยรุ่น Avantgarde option เทียบเท่า Exclusive ตัวนำเข้า เปิดราคาถูกลง 600,000 บาท เหลือ 3,390,000 บาท / รุ่น Exclusive 3,690,000 บาท ถูกลงกว่าเดิม 300,000 บาท / รุ่น AMG Dynamic 3,990,000 บาท ถูกลงกว่าเดิม 800,000 บาท ทั้งหมดยังคงใช้เครื่องยนต์ดีเซลบล็อกใหม่ล่าสุด รหัส OM654 เช่นเคย
พฤษภาคม พ.ศ. 2560 หรือเพียง 4 เดือน ก็แทนที่ด้วย E 350e เบนซิน Plug-in Hybrid แทน มีให้เลือก 3 รุ่นย่อย เช่นเคย Avantgarde / Exclusive / AMG Dynamic ราคาเพิ่มจากตัวดีเซล 100,000 บาท ทุกรุ่นย่อย จากนั้นก็มีการปรับอุปกรณ์ยิบย่อยตามรายปีมาเรื่อยๆ และ เสริมทัพการกลับมาของ E 220d Sport ในเดือน มิถุนายน 2019 ราคา 3,330,000 บาท (Spec – Option เหมือน E 220d Avantgarde ราคาปรับลดลง 60,000 บาท จากเดิม 3,390,000 บาท เพิ่มเติมระบบ Mercedes me connect มาให้) ขายควบคู่ไปกับ E 350e Plug-in Hybrid
ราคารุ่นก่อนปรับปรุง
- เครื่องยนต์ดีเซล (E 220d)
- E 220d Sport 3,330,000 บาท
- E 220d Avantgarde 3,390,000 บาท
- E 220d Exclusive 3,690,000 บาท
- E 220d AMG Dynamic 3,990,000 บาท
- เครื่องยนต์ Plug-in Hybrid (E 350e PHEV)
- E 350e Avantgarde 3,540,000 บาท
- E 350e Exclusive 3,790,000 บาท
- E 350e AMG Dynamic 4,190,000 บาท
ต่อมา Mercedes-Benz ประเทศไทย จัดแคมเปญส่งเสริมการขาย “ Final Price ” ต้อนรับวันแม่ จากเดิม Mercedes-Benz E 350e Avantgarde ราคา 3,540,000 บาท ส่วนลดพิเศษ 550,000 บาท เหลือ 2,990,000 บาท หรือ เลือกการผ่อนชำระเริ่มต้นที่ 23,500 บาท พร้อมรับฟรีประกันภัยชั้นหนึ่งเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้น Mercedes-Benz ประเทศไทย ส่งท้าย E 350e Final Edition ด้วยราคาพิเศษ ส่วนลดตั้งแต่ 640,000 – 800,000 บาท ก่อนเปลี่ยนเป็น E 300e ด้วยราคาเริ่มต้นที่ 2,780,000 บาท (หมายเหตุ: ระบบ Mercedes Me Connect เพิ่มเงิน 120,000 บาท สำหรับรุ่น Avantgarde / 110,000 บาท สำหรับรุ่น Exclusive และ 100,000 บาท สำหรับรุ่น AMG Dynamic)
เมื่อตลาดโลกมีการขยับรหัสใหม่ ประเทศไทยก็ไม่รอช้า เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 เปิดตัว E 300e Plug-in Hybrid แทนที่ E 350e โดยใช้เครื่องยนต์เดิม แต่มีการปรับปรุงอัพเกรดระบบ Hybrid ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยน มอเตอร์ไฟฟ้า พละกำลัง 122 แรงม้า 440 นิวตันเมตร และ เพิ่มแบตเตอรี่เป็นความจุ 13.5 kW จับคู่กับเกียร์อัตโนมัติ 9 จังหวะ 9G-Tronic ขับเคลื่อนล้อหลัง ทำให้มีพละกำลังรวมเป็น 320 แรงม้า 700 นิวตันเมตร หรือ เพิ่มจากเดิม 41 แรงม้า 100 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ความจุเพิ่มขึ้น 7.1 kWh
ล่าสุด Mercedes-Benz ประเทศไทย เตรียมเปิดตัว E-Class Facelift ในบ้านเรา ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ นี้ หลังจากเลื่อนมาจากช่วงปลายปีที่แล้ว เพราะ สถานการณ์ COVID-19 รอบนี้ E-Class W213 เป็นการเปลี่ยนแปลงงานดีไซน์ภายนอกครั้งใหญ่ คาดว่ามีด้วยกัน 2 รหัส เหมือนเช่นเคย คือ ดีเซล E 220d และ เบนซิน E 300e Plug-in Hybrid
Mercedes-Benz E-Class Facelift เวอร์ชันไทย จะมีให้เลือกด้วยกัน 3 รุ่นย่อย
- ดีเซล
- E 220d AMG Sport
- เบนซิน Plug-in Hybrid
- E 300e Avantgarde
- E 300e AMG Dynamic
โดยรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล มีการอัพเกรดรุ่นย่อยใหม่ จาก Avantgarde / Sport ซึ่งเป็นรุ่นเริ่มต้น ขึ้นมาเป็น AMG Sport เพื่อชนกับคู่แข่งโดยตรง BMW 520d M Sport นอกจากนี้ในรุ่น E 300e Plug-in Hybrid ก็จัดทัพชนโดยตรง มีทั้งรุ่นเริ่มต้น Avantgarde และ รุ่นท้อปอย่าง AMG Dynamic เพื่อมาชนโดยตรงกับ BMW 530e Elite และ 530e M Sport ด้วยเช่นกัน
Mercedes-Benz E-Class Facelift เวอร์ชันไทย ติดตามได้ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นี้
- E 300e Avantgarde 3,190,000 บาท
- E 300e Exclusive 3,440,000 บาท
- E 300e AMG Dynamic 3,770,000 บาท
* ราคาถูกลงกว่า E 350e Plug-in Hybrid : 350,000 – 420,000 บาท
- E 220d AMG Sport 3,540,000 บาท
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นเดิม
E 220d AMG Sport
- อัพเกรด รุ่นย่อยจาก Sport เป็น AMG Sport
- เปลี่ยน กระจังหน้า ดีไซน์ใหม่ แบบ Diamond Radiator Grille, กันชนหน้า ดีไซน์ใหม่ แบบ AMG Bodystyling, ไฟหน้า, ไฟท้าย, ฝากระโปรงท้าย ดีไซน์ใหม่ กันชนท้าย ดีไซน์ใหม่ แบบ AMG Bodystyling, ล้ออัลลอย จาก 18 นิ้ว เป็น 19 นิ้ว AMG 5 ก้านคู่ ดีไซน์ใหม่, ยาง MICHELIN Primacy 3 ZP Runflat คู่หน้า ขนาด 245/40 R19 คู่หลัง ขนาด 275/35 R19 และ พวงมาลัย ดีไซน์ใหม่ หุ้มด้วยหนัง Nappa
- เพิ่ม ระบบกุญแจ KEYLESS-GO, ฝาท้าย เปิด-ปิด ด้วยระบบไฟฟ้า, มาตรวัดแบบ Full Digital Widescreen Cockpit ขนาด 12.3 นิ้ว, การรองรับ Apple CarPlay / Android Auto และ ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในมุมอับสายตา Blind Spot Assist
- ราคาปรับเพิ่ม 210,000 บาท (จากเดิม 3,330,000 บาท)
E 300e Avantgarde
- เปลี่ยน กระจังหน้า, กันชนหน้า, กันชนท้าย, ล้ออัลลอย 18 นิ้ว ดีไซน์ใหม่ และ พวงมาลัย ดีไซน์ใหม่ หุ้มด้วยหนัง Nappa
- เพิ่ม ระบบกุญแจ KEYLESS-GO, ฝาท้าย เปิด-ปิด ด้วยระบบไฟฟ้า และ ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในมุมอับสายตา Blind Spot Assist
- ตัด ระบบปรับไฟสูงอัตโนมัติ Adaptive High Beam Assist Plus
E 300e AMG Dynamic
- เปลี่ยน กระจังหน้า ดีไซน์ใหม่ แบบ Diamond Radiator Grille, กันชนหน้า, กันชนท้าย ดีไซน์ใหม่ แบบ AMG Bodystyling และ ล้ออัลลอย AMG 10-Spoke ขนาด 19 นิ้ว ดีไซน์ใหม่
- ตัด ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติรักษาระยะห่าง Distance PILOT DISTRONIC
เฉพาะ E 300e
- เปลี่ยน ไฟหน้า, ไฟท้าย และ ฝากระโปรงท้าย ดีไซน์ใหม่
- ราคาเท่าเดิม
Mercedes-AMG E 63 S Final Edition[แก้]
เนื่องจากตัวแรงของ E-Class รุ่นถัดไปจากค่ายดาวสามแฉก จะปลดระวางขุมพลัง V8 และแทนที่ด้วยขุมพลัง 2.0 ลิตร E-Performance Plug-in Hybrid รุ่นปัจจุบัน จึงกลายเป็นรุ่นสุดท้ายที่จะได้ใช้เครื่องยนต์ 8 สูบ เพื่อให้พิเศษยิ่งขึ้นและเป็นการสั่งลา จึงมีการเปิดตัวรุ่นพิเศษในชื่อ Mercedes-AMG E 63 S Final Edition ที่มาพร้อมกับการตกแต่งเฉพาะรุ่นทั้งภายนอกและภายใน
Mercedes-AMG E 63 S Final Edition มากับตัวถังสีพิเศษเทาด้าน Matt Graphite Grey Magno เสริมด้วยล้อ AMG ลาย cross-spoke หน้าดำเงา ขนาด 20 นิ้ว นอกจากนั้น ยังเพิ่ม AMG Night Package มาให้ โดยเป็นการนำสีดำเงามาตกแต่งรอบคัน ทั้งช่องลมกันชน, คิ้วกระจกหน้าต่าง และ กระจกมองข้าง ปิดท้ายด้วยโลโก้พิเศษบนเสาหลังคา C-Pillar
ขุมพลังของ Mercedes-AMG E 63 S Final Edition ยังคงเดิมกับ เครื่องยนต์เบนซิน แบบ V8 ขนาด 4.0 ลิตร เทอร์โบคู่ กำลังสูงสุด 612 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 850 นิวตันเมตร ส่งกำลังผ่านระบบขับเคลื่อนสี่ล้อแปรผัน 4Matic+ สำหรับจำนวนการผลิตจำกัดไว้ที่ 999 คัน โดยทุกคันจะมีเพลทบ่งบอกความพิเศษซึ่งระบุว่า AMG FINAL EDITION และ 1 of 999 ติดตั้งบนคอลโซลกลาง
W214 (พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)[แก้]
Mercedes-Benz E-Class เจเนอเรชันใหม่! คาดดีไซน์ใกล้เคียงคันจริง พร้อมเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรใหม่
จากภาพจะเห็นได้ว่า Mercedes-Benz E-Class รุ่นใหม่ ได้รับการสืบทอดการออกแบบมาจาก Mercedes-Benz S-Class (W223) ในส่วนของไฟหน้า-ไฟท้ายใหม่ กระจังหน้าขนาดใหญ่ขึ้น และมือจับเปิด-ปิดประตูแบบฝังเรียบ สื่อต่างประเทศจึงคาดการณ์ว่า Mercedes-Benz E-Class (W214) เจเนอเรชันที่ 6 ใหม่ จะเปิดตัวในปี 2023
นอกจากนั้นยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น Digital Light และ MBUX Hyperscreen ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเปิดตัวพร้อมกับ Mercedes-Benz E-Class รุ่นใหม่ ด้วยการติดตั้งหน้าจอคู่ขนาด 12.3 นิ้ว และหน้าจอ OLED ระบบสัมผัสขนาดใหญ่ 17.7 นิ้ว
ส่วนขุมพลังคาดว่าจะใช้พลังงานไฟฟ้าเหมือนกับ Mercedes-Benz C-Class (W206) ด้วยการเปิดตัวระบบไฮบริด EQ Boost 48V และเครื่องยนต์ 4 สูบ 1.5 ลิตร เทอร์โบชาร์จเจอร์ และคาดว่าในรุ่น PHEV จะสามารถวิ่งด้วยกำลังไฟฟ้าเพียว ๆ ได้ 100 กม.