เมล์นรก หมวยยกล้อ
เมล์นรก หมวยยกล้อ | |
---|---|
กำกับ | กิตติกร เลียวศิริกุล |
เขียนบท | กิตติกร เลียวศิริกุล |
อำนวยการสร้าง | จันทิมา เลียวศิริกุล กิตติกร เลียวศิริกุล |
นักแสดงนำ | อุดม แต้พานิช เกียรติ กิจเจริญ สุเทพ โพธิ์งาม เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์ อริศรา วงษ์ชาลี อชิตะ ธนาศาสตนันท์ ธีระธร สิริพันธุ์วราภรณ์ คมสัน นันทจิต อดิเรก วัฏลีลา พิมพ์ชนก พลบูรณ์ |
กำกับภาพ | ธรรมเจริญ พรหมพันธุ์ |
ตัดต่อ | Pannapan Songkham |
ผู้จัดจำหน่าย | อาร์เอสฟิล์ม |
วันฉาย | 12 เมษายน พ.ศ. 2550 |
ความยาว | 90 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
เมล์นรก หมวยยกล้อ (ชื่อภาษาอังกฤษ: Bus Lane) ออกฉายเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 กำกับและเขียนบทโดย กิตติกร เลียวศิริกุล นำแสดงโดย อุดม แต้พานิช, สุเทพ โพธิ์งาม, เกียรติ กิจเจริญ, อริศรา วงษ์ชาลี, เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์, อชิตะ ธนาศาสตนันท์, ธีระธร สิริพันธุ์วราภรณ์, คมสัน นันทจิต, พิมพ์ชนก พลบูรณ์, อดิเรก วัฏลีลา (นักแสดงรับเชิญ)
เนื้อเรื่อง
[แก้]ในวันสงกรานต์ โก๋ (อุดม แต้พานิช) กระเป๋ารถเมล์สาย 39 (สนามหลวง-รังสิต) ยังต้องมาทำงาน ซ้ำยังต้องจับคู่ไปกับคนขับขี้บ่นที่ไม่ชอบหน้ากันอย่าง เฮียหลา (สุเทพ โพธิ์งาม) ด้วย เฮียหลานั้นบ่นได้ทุกเรื่องไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องการเมืองหรือสังคม ซึ่งโก๋เองก็ปากร้ายไม่แพ้กัน และยิ่งมาเมื่อต้องมาขับรถในวันสงกรานต์ที่มีคนเล่นสาดน้ำกันข้างถนนด้วยแล้ว เฮียหลายิ่งหงุดหงิดใหญ่ จนกระทั่งเฮียหลาถูกสาดน้ำเข้าให้โดยรถกระบะคันหนึ่ง เฮียหลาขับรถตามไป เลยทำให้คนหนึ่งที่เคยทำงานรปภ.ประจำขสมก.และงานประจำตำรวจชื่อทรัพย์ (เกียรติ กิจเจริญ) ที่นัดหมายกับเพื่อนที่หน้า ธกส. เพื่อจะลงรถเมล์เพื่อไปต่อรถเพื่อนกลับบ้านไปหาลูกสาวที่โคราช แต่เฮียหลาก็แกล้งเหยียบคันเร่งจนทำให้ทรัพย์ล้มลงเลยไม่ได้ลงในรอบแรก ทรัพย์บอกให้เฮียหลาจอดป้ายพร้อมกับขู่ด้วยภาษาปากใส่เฮียหลาว่าจะเอาเรื่องที่เฮียหลาฝ่าฝืนไม่ยอมจอดป้ายให้ผู้โดยสารลง แต่เฮียหลาไม่ยอมรับผิดเฮียหลาก็เลยต้องขับไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอที่จอดแถวป้อมตำรวจ เมื่อถึงป้ายแถวป้อมตำรวจแล้วเฮียหลาก็ขับรถออกไปเพราะจะเอาเรื่องรอบที่2เพื่อจะลักพาตัวผู้โดยสาร ทำให้ทรัพย์ไม่ได้ลงป้ายในป้ายข้างป้อมตำรวจ เลยต้องทำงานตำรวจเพื่อคุมคนขับต่อและโมโหสติแตกหยิบปืนขึ้นมาขู่ให้ขับไปเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้โดยสารที่มีอยู่บนรถขณะนั้นอีก 7 คน ซึ่งประกอบไปด้วย หมอกายภาพบำบัดสาว (อริศรา วงษ์ชาลี) ที่แต่งตัวค่อนข้างโป๊แต่พูดเสียงเหน่อ เลยถูกแม่ค้าปากร้าย (เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์) ว่าอยู่บ่อย ๆ ว่าเป็นหมอนวด หนุ่มใส่แว่นรูปร่างใหญ่ (คมสัน นันทจิต) ติ๊ก สาวท้องใหญ่ใกล้คลอด (ศรีพรรณ ชื่นชมบูรณ์) ที่ทะเลาะกับสามี เฮียซ้ง (ธีระธร สิริพันธุ์วราภรณ์) อยู่ตลอดเวลา สวย (อชิตะ ธนาศาสตนันท์) สาวสวยหน้าตาดีซึ่งกำลังปวดท้องอย่างเต็มที่ ซึ่งมากับเพื่อนทอมบอย (อัญชนา เพ็ชร์จินดา) ตกอกตกใจ ผู้โดยสารที่จู่ ๆ ก็ตกเป็นตัวประกันโดยฝีมือเฮียหลา
ขณะเดียวกัน หมวย (พิมพ์ชนก พลบูรณ์) แฟนสาวของโก๋ ที่กำลังใจจดใจจ่อรอให้โก๋มาพบกับพ่อแม่ของตน (รับบทพ่อโดย อดิเรก วัฏลีลา) แต่โก๋ก็ไม่มาซักที เลยต้องโทรศัพท์มาตามอยู่ตลอด จนในที่สุดต้องบอกว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์พร้อมกับไม่หยุดการเข้าใจโก๋ผิด
รถเมล์ยังคงวิ่งไปเรื่อย ๆ โดยที่ทรัพย์เองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไปทำไม และจะไปลงเอยที่ไหน เพราะถูกตำรวจนอกรถเมล์ตามหาคนขับและคนถือปืนตลอดระยะทาง จนท้ายที่สุด ขณะที่กำลังแย่งปืนกันอยู่นั้น ปืนก็เกิดลั่นไปโดนเฮียหลา รถก็เลยไม่มีคนขับและเฮียหลาก็รับโทษจากตำรวจทรัพย์ โก๋จึงต้องรับภาระมาขับรถให้จนถึงปั๊ม แต่ในที่สุดเรื่องราวก็จบลงได้ด้วยดี เพราะโก๋ที่ขอให้ทุกคนให้อภัยยามทรัพย์ และเกลี้ยกล่อมยามทรัพย์เพื่อห้ามใช้ปืนเตือนคนขับรถที่ฝ่าฝืนและห้ามเอาผู้โดยสารมาเป็นตัวประกันรอบที่ 2 โดยฝีมือยามทรัพย์ สุดท้าย ยามทรัพย์จึงไล่ผู้โดยสารลงรถที่ปั๊มและโยนปืนทิ้งไปในระหว่างทาง เฮียหลาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล โก๋อาสาขับรถส่งยามทรัพย์ให้ถึงบ้านที่โคราชด้วย และโก๋ก็ได้พบกับหมวยอีกครั้งหนึ่งระหว่างที่หมวย, พ่อและแม่ของหมวยเริ่มเข้าใจโก๋อย่างถูกต้อง
คำวิจารณ์
[แก้]เมล์นรก หมวยกล้อ เป็นภาพยนตร์ตลกของบริษัทอาร์.เอส.ฟิล์ม ที่ออกฉายเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2550 ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์เหมือนกับเนื้อเรื่องพอดี ได้รับการวิจารณ์ว่ามีมุขตลกตลอดทั้งเรื่อง แม้จะมีคำหยาบปนอยู่ตลอดก็ตาม แม้เป็นมุขตลกที่ไม่ถึงกับตลกจนน้ำตาเล็ด แต่ก็สามารถดูแก้ขัดไปได้ และแม้จะเป็นภาพยนตร์ตลกแต่ก็เป็นเรียลลิตี้ไปในตัวด้วย เพราะฉากเกือบทั้งเรื่องอยู่บนรถเมล์
นักแสดงแสดงได้ดีทุกคน[ต้องการอ้างอิง] เพียงแต่ว่าตอนจบจบได้ค่อนข้างรวบรัดและเร็วเกินไป ภาพยนตร์ไม่ได้เป็นเพียงภาพยนตร์ตลกธรรมดา ๆ เท่านั้น แต่ยังมีข้อคิดให้ได้คิด ซึ่งบางคนวิจารณ์ว่าเป็นการเสียดสีสังคมและการเมืองในขณะนั้น[ใคร?]
ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงประจำปี พ.ศ. 2550 ถึง 8 รางวัล รวมทั้งรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย แต่ไม่ได้รับเลยแม้สักรางวัลเดียว
ได้รับการฉายทางโทรทัศน์ทางช่อง 3 ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553 และวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ก่อนหน้านี้เคยนำมาฉายบนโทรทัศน์ครั้งแรกทางทรูฟิล์มเอเชียของทรูวิชั่นส์ เมื่อปี พ.ศ. 2552 และครั้งล่าสุดเมื่อวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ได้นำกลับมาฉายอีกครั้งทางช่องทรูไทยฟิล์ม เป็นการนำมาฉายในแบบฉบับรีมาสเตอร์ 4K