เมย์เดย์ (สารคดี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมย์เดย์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ
  • แอร์แครชอินเวสติเกชัน
  • แอร์อีเมอร์เจนซี (แนท จีโอ, สหรัฐ)
  • แอร์ดีแซสเตอร์ (สมิธโซเนียนแชนแนล, สหรัฐ)
  • เมย์เดย์: แอร์ดีแซสเตอร์ (เดอะเวเธอร์แชนแนล, สหรัฐ)
ประเภท
สร้างโดยAndré Barro
บรรยายโดย
ประเทศแหล่งกำเนิดแคนาดา
ภาษาต้นฉบับอังกฤษ
จำนวนฤดูกาล23
จำนวนตอน240 (รายชื่อตอน)
การผลิต
ความยาวตอน45 นาที
บริษัทผู้ผลิตซีนีฟลิกซ์โปรดักชัน
ออกอากาศ
เครือข่ายดิสคัฟเวอรีแชนแนล แคนาดา
ออกอากาศ3 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-03) –
ปัจจุบัน

เมย์เดย์ หรือ แอร์แครชอินเวสติเกชั่น เป็นรายการโทรทัศน์เชิงสารคดีของแคนาดาเกี่ยวกับเหตุการณ์อุบัติเหตุและอุบัติการณ์ทางการบิน เมย์เดย์ใช้ภาพจำลองที่สร้างจากคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างลำดับเหตุการณ์ที่นำไปสู่ภัยพิบัติแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ยังมีการสัมภาษณ์ผู้รอดชีวิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน นักบินที่เกษียณแล้ว และผู้ตรวจสอบเหตุขัดข้อง เพื่ออธิบายว่าเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้อย่างไร มีการสอบสวนอย่างไร และป้องกันได้อย่างไร

ซินีฟลิกซ์เริ่มการผลิตรายการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ด้วยงบประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแคนาดาเอง รายการนี้ออกอากาศครั้งแรกทาง ดิสคอฟเวอร์รีแชนแนล แคนาดา เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2003 ซินีฟลิกซ์ได้ทำสัญญากับฟรานซ์ 5, ดิสคอฟเวอร์รีแชนแนล, คานัล ดี, TVNZ, เซเว่นเน็ตเวิร์ก, ฮอแลนด์มีเดียกรุ๊ป และ เนชั่นแนล จีโอกราฟิก แชนแนล เพื่อฉายเมย์เดย์ใน 144 ประเทศและ 26 ภาษา สารคดีชุดนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลมากมาย

การถ่ายทำและออกอากาศ[แก้]

ซีนีฟลิกซ์เริ่มถ่ายทำเมย์เดย์ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ด้วยงบประมาณ 2.5 ล้านดอลลาร์แคนาดา หลังจากที่แชนแนลไฟว์รับหน้าที่สร้างซีรีส์หกตอนความยาวหนึ่งชั่วโมง[2] ในขั้นตอนการลดต้นทุน การถ่ายทำส่วนมากจะทำในที่สำนักงานของซีนีฟลิกซ์ในเมืองโทรอนโต รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา[3] ในระหว่างการถ่ายทำ ซีนีฟลิกซ์ได้ขายรายการให้กับฟรานซ์ 5, ดิสคอฟเวอร์รีแชนแนล และ คานัล ดี[4] เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2003 ซีนีฟลิกซ์ยังขายรายการให้กับ TVNZ, เซเว่นเน็ตเวิร์ก, ฮอแลนด์มีเดียกรุ๊ป[4] ต่อมาในปีนั้นในวันที่ 10 ตุลาคม หนึ่งเดือนก่อนการออกอากาศฤดูกาลแรก ซีนีฟลิกซ์ประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญกับ เนชั่นแนล จีโอกราฟิก แชนแนล เพื่อออกอากาศเมย์เดย์ใน 144 ประเทศและ 26 ภาษา[5]

ในปี 2011 สมิธโซเนียนเน็ตเวิร์กได้ออกอากาศฤดูกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อเป็น แอร์ดีแซสเตอร์ ทำให้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ เมย์เดย์ออกอากาศในช่องอื่นที่ไม่ใช่เนชั่นแนลจีโอกราฟิก ในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2012 ซีนีฟลิกซ์ ไรตส์ได้ประกาศว่าจะมีการจำหน่ายฤดูกาลที่ 8, 9 และ 11 (23 ตอน) ให้กับสมิธโซเนียนเน็ตเวิร์ก[6] เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ.2014 ซีนีฟลิกซ์ ไรตส์ได้ประกาศข้อตกลงกับสมิธโซเนียนเน็ตเวิร์กเพื่อออกอากาศฤดูกาลที่ 3, 4 และ 13 (34 ตอน)[7]

ในปี 2020 เดอะเวเธอร์แชนแนลในสหรัฐเริ่มออกอากาศซีรีส์หลายตอนภายใต้ชื่อเมย์เดย์: แอร์ดีแซสเตอร์[8]

ตั้งแต่ปี 2021 ช่องยูทูปของ วอนเดอร์ และ ออนเดอะมูฟ ได้อัปโหลดเก้าฤดูกาลแรกของเมย์เดย์ และตอนพิเศษ "ความผิดพลาดของศตวรรษ" ("Crash of the Century") พร้อมตอนต่างๆ แบบเต็มที่มีให้บริการในทุกประเทศ ยกเว้นสหราชอาณาจักร ซึ่งมีการปิดกั้นทางภูมิศาสตร์[9][10]

ในสหรัฐ ฤดูกาลที่ 10 และ 12 ของรายการได้มีการสตรีมออนไลน์บนบริการสตรีมของ Tubi และ Freevee ที่สนับสนุนโดยผู้ลงโฆษณาฟรี ภายใต้ชื่อ เมย์เดย์: แอร์ดีแซสเตอร์ ในขณะที่ฤดูกาลแรกของรายการเปิดให้สตรีมออนไลน์บนแอมะซอนไพร์มด้วย วิดีโอ[11][12][13]

ตอน[แก้]

ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 เมย์เดย์ได้มีการออกอากาศทั้งหมด 240 ตอนใน 23 ฤดูกาล[14][15] ซึ่งรวมถึงตอนพิเศษของซายเอนซ์ออฟดีแซสเตอร์ 5 ตอน, แครชซีนอินเวสติเกชัน 3 ตอน ซึ่งไม่ได้ตรวจสอบการตกของเครื่องบิน และซีรีส์ย่อย เดอะแอคซิเดนไฟล์ ซึ่งออกอากาศ 4 ฤดูกาล

รางวัล[แก้]

โดยรวมแล้ว สารคดีเมย์เดย์นี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเก้ารางวัล ซึ่งสามารถคว้าสองรางวัล โดยทั้งหมดอยู่ในสาขาการตัดต่อภาพยนตร์[16]

รางวัล ปี สาขา ผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผล
รางวัลสมาคมนักถ่ายภาพยนตร์แห่งแคนาดา 2004 การกำกับภาพสารคดียอดเยี่ยม "Flying Blind" เสนอชื่อเข้าชิง
2008 "Final Approach" เสนอชื่อเข้าชิง
"Gimli Glider" เสนอชื่อเข้าชิง
2009 "Air India: Explosive Evidence" เสนอชื่อเข้าชิง
"Fatal Distraction" เสนอชื่อเข้าชิง
เจมีไนน์อวาร์ด 2009 ภาพยนตร์ชุดเรื่องทั่วไปที่ดีที่สุด เมย์เดย์: ฤดูกาล 5 เสนอชื่อเข้าชิง
2010 การตัดต่อภาพสารคดียอดเยี่ยม "Lockerbie Disaster" ได้รับรางวัล
แคนาเดียนสกรีนอวาร์ด 2014 เสียงประกอบสารคดียอดเยี่ยม "Focused on Failure" เสนอชื่อเข้าชิง
2015 การตัดต่อภาพสารคดียอดเยี่ยม "Into the Eye of the Storm" ได้รับรางวัล
2017 การเขียนที่ดีที่สุดในสารคดีชุด "Fatal Delivery" เสนอชื่อเข้าชิง
2018 สารคดียอดเยี่ยม เมย์เดย์ ได้รับรางวัล
การตัดต่อภาพสารคดียอดเยี่ยม "Explosive Proof" เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง[แก้]

  1. Daingerfield, Michael (14 November 2022). "Michael Daingerfield — Voice Over".
  2. www.cineflixrights.com https://www.cineflixrights.com/home/article/61. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. "No Borders".
  4. 4.0 4.1 "Cineflix Productions". web.archive.org. 2010-10-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "Cineflix Productions". web.archive.org. 2010-10-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-27. สืบค้นเมื่อ 2023-02-02.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. "Cineflix Productions – Cineflix". cineflix.com.
  7. www.cineflixrights.com https://www.cineflixrights.com/home/article/299-Cineflix-Rights-seals-multiple-deals-in-advance-of-MIPTV-2014. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  8. "Michael Daingerfield - Voice Over". Michael Daingerfield (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Wonder - YouTube". www.youtube.com.
  10. "On The Move - YouTube". www.youtube.com.
  11. "Mayday: Air Disasters". Tubi (ภาษาอังกฤษ).
  12. "Watch MayDay: Air Disaster Investigations | Prime Video". www.amazon.com.
  13. "Watch Mayday - Air Disasters | Prime Video". www.amazon.com.
  14. "Mayday: Air Disaster - Program Overview". Cineflix Rights. Retrieved 1 February 2023.
  15. "Air Disasters". Smithsonian Channel. Archived from the original on 8 March 2021. Retrieved 8 November 2018.
  16. Mayday - IMDb, สืบค้นเมื่อ 2023-02-01