เครื่องร่อนกิมลี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ 143
เที่ยวบินที่ 143 หลังลงจอดที่สนามบินเมืองกิมลี ในรัฐแมนิโทบา
สรุปอุบัติการณ์
วันที่23 กรกฎาคม 2526
สรุปน้ำมันหมดกลางอากาศเนื่องจากเติมน้ำมันผิดหน่วย ทำให้นักบินตัดสินใจนำเครื่องลงจอดฉุกเฉิน
จุดเกิดเหตุสนามบินกิมลี่ มานิโตบา ประเทศแคนาดา
ประเภทอากาศยานโบอิง 767-233
ดําเนินการโดยแอร์แคนาดา
ทะเบียนC-GAUN
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด มอลทรีอัล ประเทศแคนาดา
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติเอ็ดมอนตัน เอ็ดมอนตัน ประเทศแคนาดา
ผู้โดยสาร61
ลูกเรือ8
เสียชีวิต0
บาดเจ็บ10
รอดชีวิต69

แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ 143 หรือที่เรียกกันว่า เครื่องร่อนกิมลี่ (อังกฤษ: Gimli Glider) เป็นเที่ยวบินภายในประเทศแคนาดาในเส้นทางมอนทรีอัลสู่เอ็ดมอนตัน เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2526 แต่หลังจากบินได้เพียงไม่กี่นาที น้ำมันของเครื่องเกิดหมดขณะที่กำลังบินอยู่ ทำให้เครื่องยนต์ดับทั้ง 2 ตัว จนนักบินตัดสินใจขับเครื่องบินแบบเครื่องร่อน และลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินกิมลี่ในเมืองมานิโตบาได้สำเร็จ ทั้ง 69 คนบนเครื่องรอดชีวิตทั้งหมด

เหตุการณ์[แก้]

บ่ายวันที่ 23 กรกฎาคม 2526 เครื่องบิน โบอิง 767-200 ของสายการบิน แอร์แคนาดา เที่ยวบินที่ 143 พร้อมผู้โดยสาร 61 คน และลูกเรือ 8 คน บินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติมอนทรีอัล ปิแอร์ อิลเลียต ทรูโด ในมอนทรีอัลไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเอ็ดมินตันเมืองเอ็ดมอนตัน ขณะที่บินไปได้ครึ่งทาง ที่ความสูง 41,000 ฟุต น้ำมันก็เกิดหมดกลางอากาศ ท่ามกลางความงงงวยของเหล่านักบิน เมื่อเครื่องยนต์ค่อยๆ ดับไปทีละตัว นักบินจึงตัดสินใจว่าจะลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินเมืองวินนิเพกซึ่งใกล้ที่สุด โดยหวังว่าเครื่องยนต์ที่เหลืออยู่คงพอช่วยพยุงให้ไปถึงสนามบินได้ มิหนำซ้ำ เครื่องยนต์ทั้งหมดเกิดดับสนิท ถึงตอนนี้สนามบินวินนิเพกอยู่ไกลเกินเกินกว่าจะไปถึงเสียแล้ว เวลาก็เหลือน้อยนิด เครื่องบินใหม่เอี่ยมหนัก 120 ตัน ราคา 40 ล้านดอลลาร์ กำลังร่วงลงด้วยความเร็ว 600 เมตร/นาที กัปตันโรเบิร์ต (บ๊อบ) เพียร์สัน และนักบินที่หนึ่ง เมาริซ ควินทอล ต่างพากันหาสถานที่ที่พอจะลงจอดได้ใกล้ที่สุด จนพบสนามบินเก่าแห่งหนึ่งในเมืองกิมลี่ ซึ่งตอนนี้แปลงร่างไปเป็นสนามแข่งรถ ถึงมันจะอยู่ห่างออกไปเป็นร้อยไมล์ แต่พวกเขาก็ไม่มีทางเลือกอื่น จำต้องลองเสี่ยงดวงสักครั้ง แม้กัปตันเพียร์สันจะเป็นนักเล่นเครื่องร่อนมือฉมัง จึงมีทักษะที่จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้ได้ ทว่า ขณะนั้นในสนามแข่งรถกำลังจัดงานวันครอบครัว ผู้คนกำลังตั้งโต๊ะปิคนิคกันอย่างสนุกสนาน ชาวบ้านตาดำๆ หารู้ไม่ว่า อีกไม่กี่อึดใจกำลังจะเกิดเรื่องลุ้นระทึกเกิดขึ้นในระยะประชิดตัว กัปตันเพียร์สันบังคับเครื่องบินที่ตอนนี้กลายสภาพเป็นเครื่องร่อนไร้เครื่องยนต์ร่อนลงสนามบินกิมลี่อย่างทุลักทุเล ท่ามกลางผู้มาปิคนิคที่แตกฮือหนีตายกันจ้าละหวั่น แต่ถึงกระนั้นก็มีเพียงผู้ได้รับบาดเจ็บ 10 คน

สาเหตุ[แก้]

ผลจากการสอบสวนพบว่า เครื่องบินใหม่เอี่ยมนี้เป็นลำแรกของแอร์แคนาดา ที่เปลี่ยนหน่วยเติมน้ำมันจาก “แกลลอน/ปอนด์” มาเป็น “ลิตร/กิโลกรัม” และตอนที่มาตรคำนวณระดับน้ำมันด้วยคอมพิวเตอร์ก็เกิดเสีย แถมยังเป็นเครื่องรุ่นแรกที่ไม่ต้องมีวิศวกรประจำขึ้นบินไปกับเครื่องด้วย ทำให้นักบินและช่างซ่อมบำรุงต้องช่วยกันจิ้มเครื่องคิดเลขเพื่อคำนวณเปลี่ยนหน่วยน้ำมันกันเอง ด้วยความงงจึงคำนวณผิดด้วยกันทั้งคู่ นี่ยังนับว่าโชคดีมากที่ไม่มีใครต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้

เครื่องบินและกัปตันเพียร์สัน[แก้]

แต่หลังจากนั้นมา เครื่องบินเครื่องนี้ก็เลยมีชื่อเล่นว่า “เครื่องร่อนกิมลี่” มาจนทุกวันนี้ และยังถูกใช้ต่อมาจนถึงปี 2551 และปี 2556 เพิ่งนำออกมาประมูลขาย กัปตันเพียร์สันได้รับการยกย่องในฝีมือร่อนเครื่องบิน เพราะหลังจากนั้น มีนักบินหลายคนลองจำลองสถานการณ์นี้กับคอมพิวเตอร์ฝึกบิน พบว่า ไม่มีใครลงจอดได้อย่างปลอดภัยเหมือนกับที่เขาทำได้เลย