เภลปุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เภลปุรี
เภลปุรี
ประเภทขนมขบเคี้ยว, จาต
แหล่งกำเนิดประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล
ภูมิภาครัฐมหาราษฏระ, คุชราจ, โอฑิศา, เบงกอล, กรณาฏกะ
ส่วนผสมหลักข้าวพอง, เสวะ
รูปแบบอื่นเสวะปุรี, ดาฮีเภลปุรี, ปาปดีจาต

เภลปุรี, เภฬปุรี หรือ เบลปูรี (อักษรโรมัน: Bhelpuri หรือ Bhel Puri) เป็นขนมขบเคี้ยวที่มีที่มาจากประเทศอินเดีย จัดเป็นจาตประเภทหนึ่ง ทำมาจากข้าวพอง, ผัก และน้ำจิ้มมะขามเปรี้ยว เภลปุรีมีลักษณะรสสัมผัสกรอบ[1][2]

บ่อยครั้งมักเรียกเภลปุรีว่าเป็น “ขนมริมหาด” ('beach snack') เนื่องมาด้วยอาหารจานนี้มีความสัมพันธ์อย่างมากกับชายหาดของนครมุมไบ เช่น หาดจาวปตี หรือ จูฮู[3] มีทฤษฎีหนึ่งเสนอว่าที่มาของเภลปุรีมาจากภัตตาคาร วิถัล (Vithal) ตั้งอยู่ในละแวกของสถานีปลายทางวิกตอเรียในมุมไบ ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่ามีที่มาจากชุมชนชาวคุชราตในมุมไบ ซึ่งสร้างสรรค์อาหาาจานนี้ขึ้นมาด้วยการเพิ่มรสชาติให้กับจาตที่มีรสธรรมดาของอินเดียเหนือ ก่อนที่จะแพร่กระจายจากชุมชนชาวคุชราตไปทั่วประเทศจนเกิดรูปแบบพื้นถิ่นขึ้นมากมาย[4]

เภลปุรีตำรับมุมไบแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดีย ตลอดจนมีการปรับรสให้เข้ากับท้องถิ่น เภลแห้งทำมาจากภทัง (bhadang) ซึ่งเป็นนัมกีนรสเผ็ดของมหาราษฏระ โรยหน้าด้วยหอมใหญ่ ผักชี และน้ำมะนาว[5] ส่วนในตำรับอาหารเบงกอลมีรูปแบบที่เรียกว่า ฌาฬมุรี (แปลว่า “ข้าวพองเผ็ด”)[6] รูปแบบท้องถิ่นในรัฐกรณาฏกะ เรียกว่า จูรูมูรี (churumuri หรือ churmuri)[7]

เภลปุรีทำมาจากข้าวพองและเสวะ (ซึ่งคิอขนมขบเคี้ยวทอด รูปลักษณะเหมือนเส้นบะหมี่เส้นเล็ก ทำมาจากแป้งเบซาน) ผสมกับมันฝรั่ง หอมใหญ่ จาตมสาลา และ ชัตนี ตลอดจนขนมทอดอื่น ๆ[8] เภลปุรีให้รสที่สมดุลระหว่างรสหวาน เค็ม เปรี้ยว และเผ็ด รวมถึงมีรสสัมผัสหลากหลายโดยเฉพาะรสสัมผัสกรอบ ส่วนผสมอื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไป เช่น มะเขือเทศ และพริก ส่วนในอินเดียเหรือยังนิยมใส่มันฝรั่งต้มหั่นเต๋า[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Price, Jane (2007). Gourmet Vegetarian: The Vegetarian Recipes You Must Have. Murdoch Books. p. 256. ISBN 978-1-921259-09-8.
  2. Gupta, Niru. "Bhel Puri". The Bhel Junction. สืบค้นเมื่อ 2 September 2015.
  3. Doshi, Malvi Doshi with Neil; Quayle, Bella Doshi; foreword by Michele Anna Jordan; illustrations by Sonya (2002). Cooking along the Ganges: the vegetarian heritage of India. New York: Writer's Showcase. ISBN 0-595-24422-X.
  4. Vir Sanghvi (2004). Rude Food: The Collected Food Writings of Vir Sanghvi. Penguin Books India. pp. 100–102. ISBN 978-0-14-303139-0.
  5. "Buy Bhadang bhel, Order Bhadang bhel Online in India at Hariom Sweets Shop". www.hariomsweets.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  6. "Jhal Muri Recipe: How to Make Jhal Muri Recipe | Homemade Jhal Muri Recipe". recipes.timesofindia.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-12.
  7. "What is churumuri". Churumuri. สืบค้นเมื่อ 18 December 2013.
  8. Bhel puri
  9. Harpham, [editor Zoë (2004). The essential rice cookbook. Sydney (N.S.W.): Murdoch Books. ISBN 1-74045-540-1. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)