เปนูเอล

พิกัด: 32°11′N 35°42′E / 32.183°N 35.700°E / 32.183; 35.700
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดยาโคบปล้ำสู้กับทูตสวรรค์ที่เปนูเอล วาดโดยเออแฌน เดอลาครัว

เปนูเอล (ฮีบรู: פְּנוּאֵלPənūʾēl) เป็นสถานที่ที่กล่าวถึงคัมภีร์ฮีบรูว่าไม่ห่างจากสุคคท โดยอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนและทางใต้ของแม่น้ำยับบอก ในบริเวณที่ปัจจุบันคือประเทศจอร์แดน

ในหนังสือปฐมกาลกล่าวถึงเปนูเอลเป็นสถานที่ที่ยาโคบปล้ำสู้กับทูตสวรรค์ ส่วนใน 1 พงศ์กษัตริย์กล่าวถึงเปนูเอลเป็นเมืองหลวงของเยโรโบอัม กษัตริย์องค์แรกแห่งราชอาณาจักรอิสราเอลทางตอนเหนือที่พระองค์ป้องกัน

รายงานจากพระคัมภีร์[แก้]

รายงานจากคัมภีร์ไบเบิล ยาโคบเป็นผู้ตั้งชื่อบริเวณว่า เปนูเอล ("พระพักตร์​พระเจ้า"):

เพราะข้าพเจ้าได้​เห​็นพระพักตร์​พระเจ้า แล​้วยั​งม​ี​ชี​วิตอยู่

— ปฐมกาล 32:30 KJV

ณ บริเวณนี้ยาโคบปล้ำสู้ (ปฐมกาล 32:24–32) "กับทูตสวรรค์" (โฮเซอา 12:4) "จนเวลารุ่งสาง" นั่นทำให้พระผู้เป็นเจ้า (หรือทูตสวรรค์) เปลี่ยนชื่อยาโคบเป็น "อิสราเอล" (ปฐมกาล 32:28) ซึ่งตีความตามความหมายที่แท้จริงว่า "เขาผู้สู้กับพระเจ้า"[1] (แปลตรงตัว "พระเจ้ามีความพยายาม")

ต่อมามีการกล่าวถึงเปนูเอลในหนังสือผู้วินิจฉัย ชายผู้หนึ่งในสถานที่นี้ไม่ให้ขนมปังแก่กิเดียนและชาย 300 คนขณะรุกไล่ชาวมีเดียน (ผู้วินิจฉัย 8:1-21) เมื่อกิเดโอนกลับมา เขาก็พังหอคอยที่นั่นและสังหารคนในเมืองทั้งหมด

‘Pnuel’ เป็นชื่อสามัญของชายในวัฒนธรรมอัสซีเรีย

นักวิชาการบางส่วนพิจารณาว่าเนื้อหาในปฐมกาล 32–35 รวมถึงรายงานยาโคบได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นอิสราเอลที่เปนูเอล อาจเพิ่มในภายหลังเพื่อนำเสนอโครงสร้างอำนาจใหม่ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสถาปนาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในภาคเหนือ (เปนูเอล, เชเคม และเบธเอล)[2]

การระบุสถานที่[แก้]

นักวิชาการพระคัมภีร์เคยระบุที่ตั้งเปนูเอลด้วยยอดเขาสองยอดของตุลูลุษษะฮับในบริเวณที่ปัจจุบันคือจอร์แดนจนกระทั่ง ค.ศ. 1970 เมื่ออิงจากรายงานในหนังสือปฐมกาล นักวิชาการเชื่อว่าเปนูเอลเป็นที่ตั้งของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์[3] และคาดว่าต้องมีวิหารจากสมัยยุคเหล็ก 1 หรือยุคก่อนหน้าบนยอดเขาใดยอดเขาหนึ่ง[4] เนื่องจากไม่มีผู้ค้นพบโครงสร้างนั้น จึงเริ่มมีคนตั้งคำถามถึงสิ่งนี้

ตุลูลุษษะฮับ อัชชัรกี สถานที่ได้รับการเสนอว่าเป็นเปนูเอลโบราณ

Israel Finkelstein นักโบราณคดีชาวอิสราเอลร่วมสมัย เสนอแนะว่าตนมองยอดเขาสองแห่งเป็นสองสถานที่ต่างหากที่น่าจะมีชื่อเฉพาะในสมัยโบราณ เขาเสนอแนะว่าเนินขนาดใหญ่ทางตะวันตก (ตุลูลุษษะฮับ อัลฆ็อรบี) เป็นมาหะนาอิม และเนินทางตะวันออก (ตุลูลุษษะฮับ อัชชัรกี) เป็นเปนูเอล[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kierkegaard, Søren (20 July 2006). Fear and Trembling. Cambridge University Press. p. 13. ISBN 9781107268821.
  2. Carr, David M. (January 1996). Reading the Fractures of Genesis: Historical and Literary Approaches. Westminster John Knox Press. p. 298. ISBN 9780664220716.
  3. Klein, Lillian R. (1998). "Reading the Fractures of Genesis: Historical and Literary Approaches (review)". Hebrew Studies. 39 (1): 213–216. doi:10.1353/hbr.1998.0034. ISSN 2158-1681. S2CID 170758324.
  4. Reinhard, Jochen; Rasink, Bernd. "A preliminary report of the Tulul adh-Dhahab (Wadi az-Zarqa) survey and excavation seasons 2005 - 2011": 85. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Finkelstein, Israel; Lipschits, Oded; Koch, Ido (2012). "The Biblical Gilead: Observations on Identifications, Geographic Divisions and Territorial History.". Ugarit-Forschungen ; Band 43 (2011). [Erscheinungsort nicht ermittelbar]. p. 146. ISBN 978-3-86835-086-9. OCLC 1101929531.

32°11′N 35°42′E / 32.183°N 35.700°E / 32.183; 35.700