ข้ามไปเนื้อหา

อารีรัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อารีรัง คีตกานท์พื้นบ้านในสาธารณรัฐเกาหลี *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ซง โซ-ฮี ขับร้องเพลง "อารีรัง"
ประเทศ เกาหลีใต้
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00445
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2012/2555 (คณะกรรมการสมัยที่ 7)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
เพลงพื้นบ้านอารีรังในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
หญิงคนหนึ่งกำลังบอกลาชายคนหนึ่งที่กำลังจะออกเดินทางผ่านช่องเขา เป็นฉากหนึ่งจากเทศกาลอารีรัง ในเกาหลีเหนือ
ประเทศ เกาหลีเหนือ
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00914
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2014/2557 (คณะกรรมการสมัยที่ 9)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
อารีรัง
ฮันกึล
아리랑
อาร์อาร์Arirang
เอ็มอาร์Arirang
IPAa.ɾi.ɾaŋ

อารีรัง (เกาหลี아리랑)[1] เป็นเพลงพื้นบ้านของชาวเกาหลี[2] โดยเนื้อหาของเพลงนั้น จะเกี่ยวกับการเดินทางผ่านช่องเขา และมักจะเกี่ยวกับการจากลาจากคนรัก หรือสงคราม หากจะเทียบอารีรังกับร้อยแก้วแบบไทยแล้ว อาจเทียบได้กับนิราศ มีการประมาณว่าเพลงนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี[3]

อารีรังถูกรวมอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกสองครั้ง เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อรวมอยู่ในรายชื่อของยูเนสโกใน ค.ศ. 2012[3][4] นอกจากนี้เกาหลีเหนือยังประสบความสำเร็จในการเสนอเพลงเพื่อเข้าร่วมใน ค.ศ. 2014[2][5] และใน ค.ศ. 2015 คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ ได้เพิ่มเพลงนี้ลงในรายการสมบัติทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญ[6]

ในปัจจุบันเพลงนี้มีการร้องทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ โดยเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีของประเทศที่แบ่งแยกกันตั้งแต่สงครามเกาหลี

ประวัติ

[แก้]

ต้นกำเนิดและศัพทมูลวิทยา

[แก้]

เชื่อกันว่า "อารีรัง" มีต้นกำเนิดที่ช็องซ็อน จังหวัดคังว็อน ศัพท์ "อารีรัง" ในปัจจุบันมีความหมายกำกวม แต่นักภาษาศาสตร์บางส่วนตั้งสันนิษฐานว่า "อารี" (아리) หมายถึง "สวยงาม" และ "รัง" (랑) สื่อถึง "ผู้เป็นที่รัก" หรือ "เจ้าบ่าว" ในภาษาเกาหลีโบราณ เมื่อนำสองคำมารวมกัน คำว่าอารีรังจึงมีความหมายว่า "ผู้เป็นที่รักของฉัน"[7] ทฤษฎีนี้สนับสนุนตำนานของเพลง โดยได้รับเสียงสนับสนุนจากนักวิชาการอย่าง Shin Yong-ha[8] ตามตำนานระบุง่า ชื่อเพลงมาจากเรื่องราวของชายโสดกับหญิงสาวที่ตกหลุมรักขณะเก็บดอก Camellia ใกล้ท่าเรือที่ Auraji (아우라지) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ได้ชื่อมาจากศัพท์ภาษาเกาหลีว่า "eoureojida" (어우러지다) ที่ความหมายใกล้เคียงสุดคือ "กลมเกลียว" หรือ "พบปะ" เช่น จุดที่แหล่งน้ำเชื่อมน้ำจากอำเภอพย็องชังกับSamcheokในแม่น้ำฮันมีชื่อเรียกว่า Auraji[9] เนื้อเรื่องมีสองรูปแบบ:

  • ในรูปแบบแรก ชายโสดไม่สามารถข้าม Auraji เพื่อพบกับหญิงสาวได้เนื่องจากน้ำสูงเกิน จึงร่วมร้องเพลงแสดงความเศร้าโศก
  • ในรูปแบบที่สอง ชายโสดพยายามข้าม Auraji และจมน้ำ โดยร้องเพลงโศกเศร้าหลังสิ้นใจ[10]

ศาสตราจารย์ Keith Howard รายงานว่า อารีรังมีต้นกำเนิดจากภูมิภาคภูเขาของช็องซ็อน จังหวัดคังว็อน และมีการกล่าวถึงเพลงนี้ครั้งแรกพบในเอกสารตัวเขียนใน ค.ศ. 1756[11] Academy of Korean Studies ก็มีมุมมองเดียวกันว่าเดิมทีอารีรังเป็นเพลงพื้นบ้านของช็องซ็อน ชาวเมืองช็องซ็อนบางส่วนสืบต้นตอเพลงพื้นบ้านของตนย้อนกลับไปในยุคโคกูรยอ[12]

Yang Ju-dong (1903-1977) นักวิชาการวรรณกรรมชาวเกาหลีใต้ ตั้งสันนิษฐานว่า ศัพท์ "อารีรัง" มาจากการประสมระหว่างคำว่า "Ari" (아리) ในศัพท์เกาหลีเก่าดั้งเดิมที่มีอีกความหมายว่า "ยาว" กับ "ryeong" (領) อักษรฮันจาที่หมายถึง "เนินเขา"[13]

ข้อมูล

[แก้]

เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้น เริ่มต้นด้วยการพรรณนาการเดินทาง โดยเนื้อหาของเพลงนั้นเกี่ยวกับตอนที่เดินทางผ่านช่องเขา อารีรังนั้นเป็นชื่อของช่องเขาแห่งหนึ่ง จึงถูกใช้เป็นชื่อเพลงด้วย อารีรังบางเวอร์ชันได้กล่าวถึงช่องเขามุนกย็องแซแจ ซึ่งเป็นช่องเขาหลักที่สำคัญสมัยราชวงศ์โชซ็อน อยู่ระหว่างถนนจากโซลไปยังจังหวัดคย็องซังทางตะวันออกเฉียงใต้

ช่องเขาหลายแห่งในเกาหลีนั้นมีชื่อว่าช่องเขาอารีรัง ช่องเขาอารีรังแห่งหนึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาทางภาคกลางของเกาหลี ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโซล เดิมมีชื่อว่าช่องเขาจช็องนึง และถูกเปลี่ยนชื่อในปี 1926 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการฉายภาพยนตร์อารีรัง ซึ่งเป็นภาพยนตร์เงียบที่ดีที่สุดของเกาหลี แต่เพลงอารีรังหลาย ๆ เวอร์ชันนั้นมีอายุเก่าแก่กว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อีก

โน้ตเพลง

[แก้]

\relative f' { \key f \major \time 9/8  \tempo "Lento" 4 = 140 \set Staff.midiInstrument = #"violin"
c4. ~ c4 d8  c4 ( d8 ) | f4. ~ f4 g8  f4 ( g8 ) | a4. g8( a g) f4 ( d8 ) | c4. ~ ( c4 d8 c d ) r8 |\break
f4. ~ f4 g8  f4 ( g8 ) | a4 ( g8 ) f4 ( d8 ) c4 ( d8 ) | f4. ~ f4 g8 f4.| f4. ~ f4. r4. |\break
c'4. ~ c c | c4. a4. g4. | a4. g4 a8 f4 ( d8 ) | c4. ~ ( c4  d8 c d ) r8 |\break
f4. ~ f4 g8  f4 ( g8 ) | a4 ( g8 ) f4 ( d8 ) c4 ( d8 ) | f4. ~ f4 g8 f4.| f4. ~ f4. r4. \bar "|."}
\addlyrics {
아 리 랑 아 리 랑 아 라 리 요
아 리 랑 고 개 로 넘 어 간 다
나 를 버 리 고 가 시 는 님 은
십 리 도 못 가 서 발 병 난 다}
\addlyrics {
아 리 랑 아 리 랑 아 라 리 요
아 리 랑 고 개 로 넘 어 간 다
청 천 하 늘 엔 별 도 - 많 고
우 리 네 가 슴 엔 꿈 도 많 다}
\addlyrics {
아 리 랑 아 리 랑 아 라 리 요
아 리 랑 고 개 로 넘 어 간 다
저 기 저 산 이 백 두 산 이라 지
동 지 섣 달 에 도 꽃 만 핀 다}

เนื้อเพลง

[แก้]

"อารีรัง" ทุกแบบจะมีสร้อยคล้ายกับ "อารีรัง, อารีรัง, อารารีโย (아리랑, 아리랑, 아라리요)"[4] คำว่า "อารีรัง" เป็นแค่ทำนองและไม่มีความหมายที่ชัดเจนในภาษาเกาหลี[14] แม้ว่าในรูปแบบต่าง ๆ จะมีเนื้อเพลงต่างกัน เนื้อเพลงส่วนใหญ่มีรูปแบบของความเศร้าโศก การพลัดพราก การพบกันใหม่ และความรัก[5][15]

ตารางข้างล่างแสดงเนื้อเพลง "อารีรังมาตรฐาน" จากโซล สองแถวแรกคือสร้อย หลังจากนั้นจึงตามด้วยเนื้อร้องสามกลุ่ม ในตัวอักษรฮันกึล ถอดเป็นอักษรโรมันกับอักษรไทย และคำแปลทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย

ฮันกึล/โชซ็อนกึล ฮันจา ถอดเป็นอักษรโรมัน แปลอังกฤษ[15][16]

아리랑, 아리랑, 아라리요...
아리랑 고개로 넘어간다.

아리랑, 아리랑, 아라리요...
아리랑 고개로 넘어간다.

Arirang, arirang, arariyo...
Arirang gogaero neomeoganda.

Arirang, arirang, arariyo...
You are going over Arirang hill.

나를 버리고 가시는 님은
십리도 못가서 발병난다.

나를 버리고 가시는 님은
十里도 못가서 발病난다.

Nareul beorigo gasineun nimeun
Simnido motgaseo balbyeongnanda.

My love, if you abandon me
Your feet will be sore before you go ten ri.

청천하늘엔 잔별도 많고,
우리네 가슴엔 희망도 많다.

晴天하늘엔 잔별도 많고,
우리네 가슴엔 希望도 많다.

Cheongcheonhaneuren janbyeoldo manko,
Urine gaseumen huimangdo manta.

Just as there are many stars in the clear sky,
There are also many dreams in our heart.

저기 저 산이 백두산이라지,
동지 섣달에도 꽃만 핀다.

저기 저 山이 白頭山이라지,
冬至 섣달에도 꽃萬 핀다.

Jeogi jeo sani baekdusaniraji,
Dongji seotdaredo kkonman pinda.

There, over there, that mountain is Baekdu Mountain,
Where, even in the middle of winter days, flowers bloom.

ถอดเป็นอักษรไทย แปลไทย

อารีรัง อารีรัง อารารีโย...
อารีรัง โคแกโร นอมอกันดา

อารีรัง อารีรัง อารารีโย...
ฉันกำลังข้ามผ่านช่องเขาอารีรัง

นารึล พอรีโก คาชีนึน นีมึน
ชิมนีโด มดกาซอ พัลบย็องนันดา

เขาคนนั้น ที่ทิ้งฉันไว้(ที่นี่)
จะไม่เดินแม้ระยะทางเพียง 10 ลี้ ก่อนที่เท้าของเขาจะเจ็บ

ช็องช็องฮานือเรน พย็อลโด มันโค
อูรีเน คาซือเมน กุมโด มันทา

เช่นเดียวกับดาวมากมายในท้องฟ้า
หัวใจฉันก็มีความเศร้าโศกมากมายเช่นกัน

ชอกี ชอ ซานี แพ็กตูซานีราจี
ทงจี ซ็อดตาเรโด กนมัน พินดา

ภูเขาลูกนั้นคือภูเขาแพ็กดู
ที่ซึ่งมีดอกไม้ผลิบาน แม้ในวันสุดท้ายของฤดูหนาว

รูปแบบต่าง ๆ

[แก้]

มี"อารีรัง"รูปแบบต่าง ๆ ประมาณ 3,600 แบบใน 60 ฉบับ[4] ชื่อ"อารีรัง"ในรูปแบบที่ต่างกันส่วนใหญ่มักนำหน้าด้วยสถานที่กำเนิด[17]

ในขณะที่ "ช็องซ็อนอารีรัง" โดยทั่วไปถือเป็นต้นฉบับของเพลงนี้ "บนโจอารีรัง" (แปลว่า อารีรังมาตรฐาน) จากโซลเป็นหนึ่งในฉบับยอดนิยมสุด โดยฉบับนี้มีชื่อเสียงจากการที่นำไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์อารีรังใน ค.ศ. 1926[17]

อารีรังฉบับที่มีชื่อเสียงอันอื่น ๆ ได้แก่ "ชินโดอารีรัง" จากจังหวัดช็อลลาใต้ ภูมิภาคที่รู้จักกันในฐานะที่กำเนิดดนตรีพื้นเมืองเกาหลีอย่างpansoriกับsinawi และ "มีรยังอารีรัง" จากจังหวัดคย็องซังใต้[18][19]

สถานะเป็นทางการ

[แก้]
"อารีรัง"แบบสตริง บรรเลงวงดุริยางค์กองทัพบกสหรัฐ

จีน

[แก้]

ยูเนสโก

[แก้]

อารีรังบรรจุในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ซึ่งได้รับการเสนอจากทั้งเกาหลีใต้ใน ค.ศ. 2012[3][4] และเกาหลีเหนือในปี ค.ศ. 2014[2][5]

เกาหลีใต้

[แก้]

คณะบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติของเกาหลีใต้ได้เพิ่มอารีรัง ลงในรายการทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ที่สำคัญในปี ค.ศ. 2015[6]

"อารีรัง"แบบหมู่ บรรเลงวงดุริยางค์กองทัพบกสหรัฐ

กองทัพสหรัฐ

[แก้]

กองทหารราบที่ 7 ของกองทัพสหรัฐนำเพลงอารีรัง มาใช้เป็นเพลงมาร์ชอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1956 หลังจากได้รับอนุญาตจากอี ซึง-มัน ประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ กองกำลังนี้ได้ประจำการในเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1953 ในระหว่างช่วงสงครามเกาหลี[20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "아리랑". 한국민족문화대백과 [Encyclopedia of Korean National Culture] (ภาษาเกาหลี). aks.ac.kr. สืบค้นเมื่อ 2020-03-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 "N. Korea's Arirang wins UNESCO intangible heritage status" (ภาษาอังกฤษ). Yonhap News Agency. 2014-11-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  3. 3.0 3.1 3.2 Chung, Ah-young (2012-12-12). "'Arirang' makes it to UNESCO heritage". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Arirang, lyrical folk song in the Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Arirang folk song in the Democratic People's Republic of Korea". Intangible Cultural Heritage. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  6. 6.0 6.1 "'Arirang' Listed as National Intangible Asset". The Chosun Ilbo (ภาษาอังกฤษ). 2015-07-15. สืบค้นเมื่อ 2017-12-05.
  7. "Singing". Korean Folk Song, Arirang. สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  8. "[신용하의 새로 쓰는 한국문화]아리랑(下)". Segye Ilbo (ภาษาเกาหลี). Segye Ilbo. 2003-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  9. "Auraji Lake (아우라지) - Sightseeing - Korea travel and tourism information". www.koreatriptips.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-09.
  10. The National Folk Museum of Korea (2014). Encyclopedia of Korean Folk Literature. Vol. Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture Vol. III. 길잡이미디어. pp. 95–96. ISBN 978-8928900848.
  11. Howard, Keith (15 May 2017). Perspectives on Korean Music: Preserving Korean Music: Intangible Cultural Properties as Icons of Identity. Vol. I. Taylor & Francis. ISBN 978-1-351-91168-9.
  12. "아리랑". Academy of Korean Studies. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  13. "아리령 설". Korea Creative Content Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-12-19.
  14. "Arirang (아리랑)". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  15. 15.0 15.1 Kim Yoon, Keumsil; Williams, Bruce (2015). Two Lenses on the Korean Ethos: Key Cultural Concepts and Their Appearance in Cinema. McFarland. p. 39. ISBN 978-0786496822.
  16. Damodaran, Ramu (Winter 2017). "UNAI Impacts Scholarship, Research for Greater Good". SangSaeng. APCEIU. 49: 23.
  17. 17.0 17.1 "From lyrical folk song to cheering song: variations of 'Arirang' in Korean history". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). Yonhap News Agency. 2012-12-06. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  18. "Jindo Arirang". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  19. "Milyang Arirang". Sejong Cultural Society. 2015. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
  20. "Chronological History 7th Infantry Division". 7th Infantry Division Association. 2012-05-25. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]