ข้ามไปเนื้อหา

กรณีเทร์รี ไชโว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทร์รี ไชโว)
เธรีซา แมรี "เทร์รี" ไชโว
เกิดเธรีซา แมรี ชไนด์เลอร์
3 ธันวาคม ค.ศ. 1963(1963-12-03)
โลเวอร์มอร์แลนด์, มองกอเมอรี, รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐ
เสียชีวิต31 มีนาคม ค.ศ. 2005(2005-03-31) (41 ปี)
สวนพิเนลลาส, ฟลอริดา, สหรัฐ
สัญชาติอเมริกัน
อาชีพพนักงานประกัน
คู่สมรสไมเคิล ไชโว (สมรส 1984)
บิดามารดารอเบิร์ท และ แมรี ชไนด์เลอร์

กรณีเทร์รี ไชโว (อังกฤษ: Terri Schiavo case) เป็นกรณีทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในการเสียชีวิตในสหรัญอเมริกา ตั้งแต่ปี 1998 ถึง 2005 โดยเกี่ยวข้องกับ เธรีซา แมรี ไชโว (Theresa Marie Schiavo; สกุลเดิม ชไนด์เลอร์; Schindler) (/ˈʃv/; 3 ธันวาคม 1963 – 31 มีนาคม 2005) สตรีผู้อยู่ในภาวะสมองตายถาวร สามีและผู้พิทักษ์ทางกฎหมายของเธอระบุว่าไชโวคงไม่ต้องการจะมีชีวิตด้วยการใช้เครื่องช่วยชีวิตไปตลอดภายใต้สภาวะที่ไม่ไม่สามารถกลับคืนสู่การมีชีวิตปกติได้ และในปี 1998 ได้รวมกันยื่นเรื่องเพื่อให้แพทย์ถอดท่อให้อาหารของเธอเสีย ในขณะที่ผู้ปกครองของเธอโต้แย้งความประสงค์ของสามีเธอและให้เหตุผลจากผลวินิจฉัยทางการแพทย์ เพื่อให้ดำรงการให้อาหารและน้ำกับเธอผ่านทางท่อต่อไป[1][2] ข้อโต้แย้งระหว่างทั้งสองกลุ่มคนนำไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมของนักการเมืองระดับรัฐและประเทศ ไปจนถึง จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐในขณะนั้น การถกเถียงดำเนินไปเป็นเวลาเจ็ดปี (1998 ถึง 2005) จนกระทั่งท้ายที่สุดถอดท่อส่งอาหารและน้ำของเธอ เป็นอันสิ้นสุดการมีชีวิตของไชโว

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1990 ไชโววัย 26 ปี เกิดอาการหัวใจหยุดเต้นที่บ้านของเธอในเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก รัฐฟลอริดา การกู้ชีพเธอประสบความสำเร็จ แต่สมองถูกทำลายจากการขาดอากาศ และตกอยู่ในสภาวะคล้ายโคมา หลังเวลาสองเดือนครึ่งที่การรักษาไม่ช่วยให้เธอกลับเป็นปกติ ผลการวินิจฉัยของแพทย์เปลี่ยนเป็นภาวะสมองตายถาวร ตลอดระยะเวลาสองปีนับจากนั้น แพทย์พยายามใช้การรักษาต่าง ๆ รวมถึงการรักษาที่ใช้เป็นการทดลองกับเธอ แต่เธอไม่สามารถกลับสู่สภาวะรับรู้ได้ ในปี 1998 ไมเคิล สามีของไชโว ยื่นคำร้องแต่ศาลเจตรัฐฟลอริดา ให้ดำเนินการถอดสายให้อาหารของเธอภายใต้กฎหมายของรัฐ[3] แต่เขาถูกต่อต้านโดยผู้ปกครองของไชโว ผู้ต้องการให้ยังคงชีวิตของไชโวต่อไป[4] ในวันที่ 24 เมษายน 2001 แพทย์ได้ถอดสายให้อาหารของเธอออกเป็นครั้งแรก แต่ก็ถูกใส่กลับเข้าไปไม่กี่วันหลังจากนั้น จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2005 ตุลาการศาลมณฑลพินเนลลาส (Pinellas County) ได้ออกคำสั่งอีกครั้งให้ถอดสายให้อาหารของไชโวออก ซึ่งตามมาด้วยการอุทธรณ์และการแทรกแซงของรัฐบาลสหรัฐ รวมถึงประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ท้ายที่สุดในวันที่ 18 มีนาคม 2005 เจ้าหน้าที่การแพทย์ของพินเนลลาสพาร์คได้ถอดสายให้อาหารของไชโวออก และไชโวเสียชีวิตในวันที่ 31 มีนาคม 2005[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tbo
  2. "Schiavo Timeline, Part 1". The University of Miami Ethics Programs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2014. สืบค้นเมื่อ December 5, 2014.
  3. "§ 765.401 of Florida Statutes – Health Care Advance Directives – The proxy". State of Florida. พฤศจิกายน 22, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 8, 2008. สืบค้นเมื่อ มกราคม 1, 2007.
  4. William R. Levesque (พฤศจิกายน 8, 2003). "Schiavo's wishes recalled in records". St. Petersburg Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 6, 2006. สืบค้นเมื่อ มกราคม 5, 2006.
  5. "Schiavo autopsyshows irreversiblebrain damage". msnbc.com (ภาษาอังกฤษ). 2005-06-16. สืบค้นเมื่อ 2019-06-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]