ข้ามไปเนื้อหา

การทดลองเรือนจำสแตนฟอร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพผู้คุมในเรือนจำระหว่างทดลอง

การทดลองเรือนจำสแตนฟอร์ด เป็นการศึกษาผลทางจิตวิทยาของการเป็นนักโทษและผู้คุมเรือนจำ การทดลองดังกล่าวมีขึ้นที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ระหว่างวันที่ 14–20 สิงหาคม 2514 โดยคณะนักวิจัยที่มีศาสตราจารย์จิตวิทยา ฟิลลิป ซิมบาร์โดเป็นผู้นำ[1] ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานวิจัยกองทัพเรือสหรัฐ[2] และเป็นที่สนใจของทั้งกองทัพเรือและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐเพื่อเป็นการสอบสวนหาสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างผู้คุมและนักโทษทหาร

นักศึกษาชาย 24 คนจาก 75 คนได้รับการคัดเลือกให้รับบทบาทที่มอบหมายแบบสุ่มระหว่างนักโทษและผู้คุมในเรือนจำสมมติซึ่งตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินของอาคารจิตวิทยาของสแตนฟอร์ด ผู้ร่วมทดลองปรับตัวต่อบทบาทของพวกตนได้ดีเกินความคาดหมายของซิมบาร์โด โดยผู้คุมบังคับมาตรการเผด็จการและลงเอยด้วยการทรมานทางจิตวิทยานักโทษ นักโทษหลายคนยอมรับการละเมิดทางจิตวิทยาโดยไม่ขัดขืน และพร้อมก่อกวนนักโทษคนอื่นที่พยายามขัดขวางตามคำขอของผู้คุม การทดลองนี้มีผลกระทบต่อตัวซิมบาร์โดเองด้วย ซึ่งในบทบาทผู้ควบคุมการทดลองได้ปล่อยให้การละเมิดดำเนินต่อไป นักโทษสองคนถอนตัวจากการทดลองก่อนกำหนดและการทดลองทั้งหมดยุติลงโดยพลันหลังเวลาผ่านไปหกวัน บางส่วนของการทดลองมีการถ่ายภาพยนตร์ และสาธารณะสามารถเข้าถึงฟิล์มบางส่วนได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Stanford Prison Experiment – A Simulation Study of the Psychology of Imprisonment Conducted at Stanford University
  2. "FAQ on official site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-09. สืบค้นเมื่อ 2014-04-02.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]