เทย์โท (สาธารณรัฐไอร์แลนด์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทย์โทคริสปส์
อุตสาหกรรมมันฝรั่งทอด
ก่อตั้ง25 พฤษภาคม 1954; 69 ปีก่อน (1954-05-25)
สำนักงานใหญ่
แอชบอร์น เขตเทศมณฑลมีท
,
ไอร์แลนด์
พื้นที่ให้บริการ
ไอร์แลนด์
เจ้าของอินเตอร์สแนก
เว็บไซต์taytocrisps.ie

เทย์โทคริสปส์ (อังกฤษ: Tayto Crisps) เป็นผู้ผลิตมันฝรั่งทอดและข้าวโพดคั่วในเกาะไอร์แลนด์ ซึ่งก่อตั้งโดยโจ เมอร์ฟี เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1954[1][2] และเป็นเจ้าของโดยอินเตอร์สแนก ซึ่งเป็นบริษัทขนมขบเคี้ยวสัญชาติเยอรมัน[3] ทั้งนี้ เทย์โทได้คิดค้นกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดให้มีรสรายแรก[4] โดยมันฝรั่งทอดปรุงรสชนิดแรกที่ผลิตคือชีสและหัวหอม[5][6] ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกพยายามซื้อสิทธิ์ในเทคนิคของเทย์โท[7] เทย์โทคริสปส์เป็นปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์[8] กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เทย์โทได้เปิดสวนสนุกของตนเองชื่อ "เทย์โทพาร์ก" ใกล้กับเมืองแอชบอร์น[9]

อนึ่ง เทย์โทคริสปส์ที่ผลิตในสาธารณรัฐไอร์แลนด์โดยเทย์โทสแนกส์ไม่ควรสับสนกับเทย์โทลิมิเตดในไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิง โดยเทย์โทของไอร์แลนด์เหนือมีจำหน่ายอย่างกว้างขวางในไอร์แลนด์เหนือและบริเตนใหญ่ ในขณะที่เทย์โทจำหน่ายในสาธารณรัฐไอร์แลนด์เท่านั้น

กรรมสิทธิ์[แก้]

บริษัทเทย์โทของสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นเจ้าของโดยลาร์โกฟูดส์ โดยก่อนหน้านี้ บริษัทแคนเทรลแอนด์คอเครน (ซีแอนด์ซี) เป็นเจ้าของ และตั้งอยู่ที่คูล็อก เทศมณฑลดับลิน กระทั่งโรงงานของพวกเขาปิดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 และการผลิตได้รับการว่าจ้างจากภายนอกไปยังลาร์โก ซึ่งลาร์โกตกลงซื้อเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากแคนเทรลแอนด์คอเครนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2006 ในราคา 62.3 ล้านยูโร

ใน ค.ศ. 2015 เรย์ คอยล์ ขายหุ้นที่เหลือในอาหารลาร์โกให้แก่บริษัทอาหารเยอรมันที่ชื่ออินเตอร์สแนก ซึ่งยุติการเป็นเจ้าของบริษัทของชาวไอริช[3] ส่วนในไอร์แลนด์เหนือ เทย์โทลิมิเตดยังคงเป็นเจ้าของและดำเนินการโดยตระกูลฮัตชินสัน และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับเทย์โทในสาธารณรัฐไอร์แลนด์[10]

โรงงานเทย์โทคริสปส์เดิมก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1954 ในดับลินโดยชายในท้องถิ่นที่รู้จักกันในชื่อโจ 'สพัด' เมอร์ฟี ผู้ซึ่งได้รับเครดิตว่าเป็นผู้คิดค้นมันฝรั่งทอดปรุงรสรายแรกของโลก[11]

เครื่องหมายการค้า[แก้]

ชามใส่มันฝรั่งทอดเทย์โทรสหัวหอมและชีส

มันฝรั่งทอดเทย์โทมีหลายรสชาติ ได้แก่: ชีสและหัวหอม, เกลือและน้ำส้มสายชู, สโมกีย์เบคอน, ค็อกเทลกุ้ง และรสเทกซ์เมกซ์รุ่นลิมิเตดเอดิชัน[12]

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ทางบริษัทตั้งเป้าไปที่ตลาดการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพด้วยผลิตภัณฑ์มันฝรั่งทอดที่มีเกลือต่ำ, ไขมันต่ำ ซึ่งแต่เดิมมีตราสินค้าว่าออเนสต์[13] โดยเทย์โทอ้างถึงช่วงนี้ว่าช่วงแฮปปีแอนด์เฮลตี[14] ซึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพนี้มีการพัฒนาตั้งแต่นั้นมา และเทย์โทได้เปิดตัวเทย์โทเลนทิลส์ซึ่งมีไขมันน้อยกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เพื่อกำหนดเป้าหมายตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ[15]

ผลงานเครื่องหมายการค้าของเทย์โทสแนกในในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ได้แก่ เทย์โท, คิง, โอดอนเนลส์ออฟทิปเปอร์แรรี, ฮังกีดอรีส์, ฮูลาฮูปส์, ป็อปชิปส์, เคพี, เพนน์สเตต, พอม-แบร์ และแมกคอยส์[16]

การตลาด[แก้]

เทย์โทใช้มาสคอตคือมิสเตอร์เทย์โทในแคมเปญการตลาดหลายรายการร่วมกับผู้สนับสนุนรายก่อน ๆ เช่น เวสต์ไลฟ์ ส่วนในการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไอร์แลนด์ ค.ศ. 2007 เทย์โทได้หาเสียงโฆษณาโดยมิสเตอร์เทย์โทเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งปลอม[17] ซึ่งเทย์โทอ้างว่าจำนวนคะแนนเสียงที่เสียไปในเขตเลือกตั้งคาร์โลว์–คิเคนนี โดยระบุว่ามีบางคนลงคะแนนให้มาสคอตดังกล่าว แต่นี่เป็นเพียงการเดาเท่านั้น[18] และเทย์โทถูกปรับในระหว่างการรณรงค์เรื่องการทิ้งขยะ เนื่องจากมีการติดโปสเตอร์เลือกตั้งปลอมในที่สาธารณะ[19]

ใน ค.ศ. 2009 เทย์โทลิมิเตดได้ตีพิมพ์เดอะแมนอินไซด์เดอะแจกเกตซึ่งเป็นอัตชีวประวัติสมมติของมิสเตอร์เทย์โทที่เขียนโดยไมอา ดันฟี, เคียรัน มอร์ริสัน และมิก โอแฮรา โดยทางเทย์โทระบุว่าเปอร์เซ็นต์ของราคาปกจะนำไปมอบให้แก่อะแวร์ ซึ่งเป็นองค์การการกุศลของไอร์แลนด์ ที่ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้า, โรคไบโพลาร์ และสภาวะทางอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง[ต้องการอ้างอิง]

ครั้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 มาสคอตมิสเตอร์เทย์โทได้ถูกนำออกจากบรรจุภัณฑ์ชีสและหัวหอมทั้งหมด และเพิ่มสโลแกน "มิสเตอร์เทย์โทอยู่ที่ไหน"[20] ต่อมาในเดือนดังกล่าว ได้มีแถลงการณ์จากบัญชีสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นทางการของมิสเตอร์เทย์โทซึ่งอ้างว่ามิสเตอร์เทย์โทกำลังหยุดพักจากงานเพื่อออกไปดูโลก โดยเริ่มแคมเปญ "รายการสิ่งที่อยากทำก่อนตายของมิสเตอร์เทย์โท"[21]

เทย์โทพาร์ก[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เทย์โทร่วมกับเรย์ คอยล์ ผู้เป็นนักธุรกิจท้องถิ่น เปิดสวนสนุก "เทย์โทพาร์ก" ใกล้กับแอชบอร์นในเขตเทศมณฑลมีท[9] กระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มีการประกาศว่าสัญญาการสนับสนุนชื่อที่มีอยู่จะไม่ได้รับการต่ออายุ โดยสวนสนุกนี้จะเปลี่ยนชื่อเป็น "เอเมอรัลด์พาร์ก" เมื่อสัญญาที่มีอยู่หมดอายุในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023[22]

การดำเนินการทางกฎหมาย[แก้]

ใน ค.ศ. 2006 เทย์โทพยายามบังคับให้วงโทสเต็ดเฮเลติกสัญชาติไอริชทำลายสำเนาอัลบั้มนาวอินนิวนอสตัลเจียเฟลเวอร์ของพวกเขาทั้งหมด ซึ่งมีรูปภาพอิงไอคอน "มิสเตอร์เทย์โท" ที่เป็นเครื่องหมายการค้า[23] แม้ว่าภาพดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1988 บนอัลบัมคาสเซตซองส์ฟอร์สวิงกิงเซลิเบตส์ของวงโทสเต็ดเฮเลติก[24]

อ้างอิง[แก้]

  1. TaytoCrisps.ie เก็บถาวร 5 ตุลาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "THE TAYTO CRISP CO – Irish Company Info". SoloCheck. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018.
  3. 3.0 3.1 "Tayto Snacks becomes the crisp new name for Largo Foods". The Irish Times. 21 March 2013. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.
  4. "Obituary: Joe 'Spud' Murphy". The Telegraph. Telegraph Media Group. 5 November 2001. สืบค้นเมื่อ 8 January 2011.
  5. "Joe 'Spud' Murphy: The Man Who Gave Potato Chips Flavor". HuffPost. 20 April 2012.
  6. "Tayto crisp barons who made a packet". The Independent. สืบค้นเมื่อ 21 April 2022.
  7. Hochman, Karen. "A History of the Potato Chip: Page 4: The First Salted & Flavored Potato Chips". The Nibble.
  8. O'Connell, Brian (6 June 2009). "Two packets of Tayto and a bottle of TK ..." The Irish Times.
  9. 9.0 9.1 Casey, Ann. "Opening of Tayto Park near Ashbourne brings 85 jobs". The Meath Chronicle. สืบค้นเมื่อ 13 December 2011.
  10. "After 35 years, the iconic face of Tayto Crisps has stepped away from his company". Fora.ie.
  11. "Created world's first cheese and onion crisps". The Irish Times.
  12. [1] เก็บถาวร 18 กันยายน 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. [2] เก็บถาวร 18 มีนาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. [3] เก็บถาวร 17 สิงหาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. [4] "Tayto Lentils". iRadio. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
  16. [5] "Our Brands". Tayto Snacks. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  17. "Tayto are mass littering the whole country " Damien Mulley". Mulley.net. 9 May 2007. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
  18. [6] เก็บถาวร 11 มิถุนายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. "Don'T Fine Me, Urges Willie Over His Posters – By Anne Sheridan – Local – Limerick Leader". Limerickleader.ie. 6 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2014. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
  20. "Has anyone seen Mr Tayto?". JOE.ie. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  21. "Where is Mr. Tayto?". Where's Mr. Tayto?. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  22. Gleeson, Colin. "Tayto Park to be renamed as facility seeks 'new identity'". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-17.
  23. "Toasted Heretic in battle with Tayto". Hot Press. สืบค้นเมื่อ 25 October 2012.
  24. "Toasted Heretic original official website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2003. สืบค้นเมื่อ 18 April 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]