ข้ามไปเนื้อหา

เทพมารสะท้านภพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทพมารสะท้านภพ (จีน: 覆雨翻雲; อังกฤษ: Lethal Weapons of Love and Passion) เป็นผลงานนิยายกำลังภายในเรื่องที่ 3 ของหวงอี้ นับเป็นเรื่องถัดจาก เหยี่ยวเหนือฟ้า (เทพทลายนภา) และขุนศึกสะท้านปฐพี เริ่มเขียนเมื่อ พ.ศ. 2535 หลังจากนี้จึงเขียนเรื่อง เจาะเวลาหาจิ๋นซี

ฉบับแปลไทยแปลโดย น.นพรัตน์ ลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ โดยแปลหลังจากเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี และมังกรคู่สู้สิบทิศ น.นพรัตน์แปลจากฉบับปรับปรุงของหวงอี้ เริ่มวางจำหน่ายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 ความยาว 18 เล่ม ราคาเล่มละ 190 บาท

ฉบับการ์ตูนและละครชุด

[แก้]

เทพมารสะท้านภพฉบับการ์ตูนถูกแบ่งเป็น 2 เรื่อง โดยเนื้อเรื่องในช่วงแรกใช้ชื่อว่า "ฟานอวิ๋น จอมกระบี่สายฟ้า" ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ความยาว 3 เล่ม ส่วนเนื้อเรื่องในส่วนที่เหลือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์บูรพัฒน์ ใช้ชื่อว่า "กระบี่พลิกเมฆา" เหมือนฉบับนิยาย

เทพมารสะท้านภพยังถูกดัดแปลงเป็นละครชุดทางโทรทัศน์ของสถานี TVB ความยาว 40 ตอน ฉายในประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2549

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในสมัยต้นราชวงศ์หมิงยุคที่จูหยวนจางครองบัลลังก์ได้สักระยะหนึ่ง กล่าวถึงกระบี่คลุมวรุณล่างฟานหวินนัดประลองกับปรมาจารย์มารผังปาน พร้อมกันนั้นยังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นมามากมายทั้งการกู้ราชวงศ์มองโกลของฟางเยี่ยหวี่ อีกทั้งเรื่องราวของเด็กกำพร้าหานป๋อเด็กรับใช้ที่พบเจอกับโชคอันมหัศจรรย์ได้ก้าวขึ้นมาเป็นจอมยุทธ์ชั่วข้ามคืน

รายชื่อตัวละคร

[แก้]

สิบยอดฝีมือฝ่ายอธรรม

[แก้]

สิบสุดยอดหญิงงาม

[แก้]

กรณีกับฉบับ คลุมพิรุณพลิกเมฆา

[แก้]

นิยายเรื่อง "ฟู่หวี่ฟานหวิน" ซึ่งเป็นชื่อภาษาจีนของเรื่องนี้ ได้มีฉบับแปลโดยแฟนๆ แจกจ่ายให้อ่านกันบนอินเทอร์เน็ต ในชื่อเรื่องว่า คลุมพิรุณพลิกเมฆา ซึ่งแปลโดยคุณ Linmou อย่างไรก็ตามไม่ได้ทำการแปลจนจบเพราะมีฉบับลิขสิทธิ์และเกิดกรณีความคล้ายกับของสำนวนแปล

เมื่อสยามอินเตอร์บุ๊คส์ได้ซื้อลิขสิทธิ์เรื่อง ฟู่หวี่ฟานหวิน มา และน.นพรัตน์ได้แปลออกมาในชื่อว่า "เทพมารสะท้านภพ" ได้มีนักอ่านจำนวนหนึ่งซึ่งอ่านสำนวนแปลฉบับคลุมพิรุณพลิกเมฆามาแล้ว ตั้งข้อสังเกตว่า น.นพรัตน์ลอกสำนวนการแปลของ Linmou มา ทำให้เกิดการวิจารณ์อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตาม น.นพรัตน์ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่าเขาได้ลอกจากสำนวนแปลของตนเอง ที่เคยแปลซ้อมมือไม่ได้ตีพิมพ์ไว้เมื่อ พ.ศ. 2544

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]