เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง
ภาพหน้าปกเกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง ค.ศ. 1993
ผู้พัฒนาNintendo EAD
ผู้จัดจำหน่ายนินเท็นโด
กำกับTakashi Tezuka
อำนวยการผลิตShigeru Miyamoto
ศิลปินYoichi Kotabe
เขียนบทYoshiaki Koizumi
Kensuke Tanabe
แต่งเพลงMinako Hamano
Kozue Ishikawa
ชุดเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา
เครื่องเล่นเกมบอย, เกมบอยคัลเลอร์
วางจำหน่ายเกมบอย
  • JP: 6 มิถุนายน 1993[2]
  • NA: สิงหาคม 1993[1]
  • EU: 18 พฤศจิกายนหรือธันวาคม 1993[3][4][5]
เกมบอยคัลเลอร์
  • JP: 12 ธันวาคม 1998[7]
    • NA: 15 ธันวาคม 1998[8]
  • EU: 1 มกราคม 1999[6]
แนวต่อสู้-ผจญภัย
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว

เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิง (อังกฤษ: The Legend of Zelda: Link's Awakening; ญี่ปุ่น: ゼルダの伝説 夢をみる島) เป็นวิดีโอเกมแนวต่อสู้-ผจญภัยใน ค.ศ. 1993 พัฒนาและจัดจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเกมบอย เกมนี้เป็นเกมลำดับที่ 4 ของซีรีส์และเป็นภาคแรกที่ทำลงเครื่องเล่นเกมพกพา ตัวเกมเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคที่ไม่ได้ดำเนินเรื่องอยู่ในอาณาจักรไฮรูล และไม่มีเจ้าหญิงเซลดาและไทรฟอร์ซเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่จะดำเนินเรื่องอยู่บนเกาะที่มีชื่อว่าโคโฮลินท์ ซึ่งคุ้มครองโดยผู้พิทักษ์นามว่ามัชฉาแห่งสายลม โดยที่ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นลิงก์ คอยจัดการกับศัตรูและแก้ไขปริศนาต่างๆพร้อมกับตามหาเครื่องดนตรีทั้งแปดเพื่อปลุกมัจฉาแห่งสายลมจากการหลับใหลเพื่อออกไปจากเกาะแห่งนี้

ลิงกส์อเวกเคนนิง ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ นักวิจารณ์ต่างพากันชื่นชมในความลึกล้ำและลูกเล่นใหม่ๆของเกม แต่ก็มีข้อติติงอยู่ที่การควบคุมและการแสดงผลซึ่งยังเป็นขาวดำ ต่อมาได้มีการรีเมคโดยใช้ชื่อว่า เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ ลงเกมบอยคัลเลอร์ในปี ค.ศ. 1998 ซึ่งใช้กราฟิกสี รองรับการใช้เกมบอยปริ้นเตอร์ซึ่งสามารถพิมพ์รูปได้ และเพิ่มดันเจี้ยนที่ต้องใช้สีในการแก้ปัญหาเข้ามาด้วย เกมทั้งสองเวอร์ชันสามารถขายได้มากกว่าหกล้านตลับทั่วโลก และได้ปรากฏในหลายสื่อที่เกี่ยวกับวิดีโอเกมว่าเป็นหนึ่งในเกมที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาลอีกด้วย และยังมีเกมภาครีเมคสามมิติซึ่งวางจำหน่ายบนนินเท็นโดสวิตช์ใน ค.ศ. 2019

เค้าโครงเรื่อง[แก้]

ตัวละคร[แก้]

ลิงส์อะเวกเคนนิง แตกต่างจากภาคอื่นๆที่การดำเนินเรื่องนั้นอยู่นอกอาณาจักรไฮรูลซึ่งไม่มีการเอ่ยถึงตัวละครและสถานที่จากภาคก่อนๆรวมถึงเจ้าหญิงเซลด้าด้วย[9] แต่จะเล่าถึงเกาะโคโฮลินท์ ซึ่งเป็นเกาะที่ตัดขาดจากโลกภายนอกที่ถึงแม้จะมีขนาดเล็ก แต่ก็มีเส้นทางเชื่อมต่อถึงกันอยู่มากมาย ภายในเกมนั้น เราจะได้รับคำแนะนำจากตัวละครเช่นอูริร่า ชายแก่ขี้อายที่ชอบติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ ขณะเดียวกันก็มีการล้อเลียนตัวละครจากเกมอื่นๆในเครื่องเล่นเกมนินเท็นโดด้วยกัน เช่น วาร์ท โยชิ เคอร์บี้ เจ้าชายริชาร์ดผู้ถูกเนรเทศ ดร.ไวร์ท จากเกม ซิมซิตี้ ในเครื่องซุปเปอร์นินเท็นโด (ชอมพ์จากเกมซีรีส์มาริโอก็ได้อยู่ในเกมด้วยหลังจากที่มีการเพิ่มเติมตัวเกมให้ลิงก์สามารถพามันไปเดินเล่นได้ ,กูมบาจากซูปเปอร์มาริโอบรอสก็ได้ปรากฏตัวในฉากไซด์สครอลลิ่งใต้ดิน โดยสามารถเลือกได้ว่าจะกระโดดเหยียบหัวหรือใช้อาวุธจัดการก็ได้ และแต่ละวิธีก็จะได้โบนัสแตกต่างกันไป ) ผู้กำกับทาคาชิ เทซึกะบอกว่าเนื่องจากความเป็นอิสระของเกม ทำให้ภาคนี้ดูเป็นภาคออกแนวล้อเลียนของซีรีส์เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ตัวละครในเกมยังสามารถจะทำลายกำแพงที่สี่ (fourth wall) ได้ด้วย (เช่น มีเด็กคนหนึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเซฟเกม แต่เจ้าตัวกับไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองพูดเลยแม้แต่น้อย)[10]

เนื้อเรื่อง[แก้]

หลังจากภารกิจในภาค ออราเคิลออฟซีซันส์ และ ออราเคิลออฟเอจเจส[11] ลิงก์ได้ออกเดินทางไปฝึกวิชาต่อ ในขณะที่เดินทางอยู่บนเรือนั้น ก็ได้มีพายุพัดเรือจนอับปางกลางทะเล ลิงก์ลอยมาอยู่บนชายฝั่งเกาะโคโฮลินท์[12] หลังจากที่มารินได้ช่วยพาเขามาที่บ้านของทาริน พ่อของเธอ เธอก็เริ่มสนใจในตัวลิงก์และโลกภายนอกที่กว้างใหญ่ เธอเล่ากับลิงก์ว่าถ้าเธอได้เป็นนกนางนวล เธอจะโบยบินไปสู่โลกภายนอก[13] หลังจากลิงก์ได้ดาบคืนมา เขาก็ได้รับคำบอกกล่าวจากนกฮูกปริศนาว่าต้องปลุกมัจฉาแห่งสายลม ซึ่งหลับใหลอยู่ในไข่ใบยักษ์บนยอดภูเขาทามารานช์ โดยลิงก์จำเป็นต้องหาเครื่องดนตรีแห่งไซเรนทั้งแปดในการปลุกเพื่อให้ผู้พิทักษ์พาลิงก์กลับบ้าน

ในระหว่างการเดินทาง ลิงก์ได้เจอซากโบราณสถานแห่งหนึ่งซึ่งมีภาพฝาผนังที่บอกเล่าเกี่ยวกับความจริงของเกาะแห่งนี้ ลิงก์พบว่าเกาะแห่งนี้เป็นเพียงความฝันของมัจฉาแห่งสายลมเท่านั้น[14] หลังจากที่ได้รับรู้ความจริง เจ้านกฮูกก็ได้โผล่มาบอกว่ามีเพียงแค่มัจฉาแห่งสายลมเท่านั้นที่รับรู้ถึงเรื่องนี้ เหล่าอสุรกายในเกาะได้คิดจะขัดขวางการตามหาเครื่องดนตรีของลิงก์ เพื่อการยึดครองความฝันมัจฉาแห่งสายลมมาเป็นของตน

หลังจากลิงก์ตามหาเครื่องดนตรีทั้งแปดเจอแล้ว เขาก็ได้ขึ้นไปบนภูเขาทามารานช์ แล้วเล่นบทเพลงมัจฉาแห่งสายลมทำให้ไข่แตกออกเป็นทางให้เขาเดินเข้าไปเผชิญหน้ากับปีศาจตัวสุดท้าย 'ไนท์แมร์ ซึ่งจะปรากฏตัวได้หลายแบบ ทั้งร่างกานอน และร่างอสุรกายอีกมากมายที่ลิงก์เคยพบเจอมา[15] ลิงก์ต่อสู้จนเจอกับร่างสุดท้ายคือเดทล์ ซึ่งเป็นเงาปีศาจตัวกลมๆ มีหนวดยื่นออกมาทั้งสองข้างคล้ายกับวาเอติ[16][17] หลังจากเดทล์ถูกจัดการแล้ว มัจฉาแห่งสายลมก็ได้บอกกับลิงก์ว่าโคโฮลินท์นั้นเป็นความฝันที่เกิดจากลิงก์เองทั้งหมด เมื่อเขาเล่นเพลงของมัจฉาแห่งสายลมอีกครั้ง พวกเขาทั้งสองจะตื่นจากภวังค์ เกาะโคโฮลินท์จะค่อยๆเลือนหายไป[18] จากนั้นลิงก์ก็พบตัวเองกำลังลอยเกาะท่อนไม้อยู่กลางทะเล ในขณะที่มัจฉาแห่งสายลมได้บินเหนือหัวเขาไป (ถ้าผู้เล่นไม่เคยตายเลย จะมีภาพของมารินโผล่ออกมา[19] เธอจะมีปีกในเวอร์ชันเกมบอยขาวดำ และเธอจะเป็นนกนางนวลในเวอร์ชันเกมบอยคัลเลอร์)

ระบบการเล่น[แก้]

ในภาคนี้ ยังคงรูปแบบเกมแอคชั่นผจญภัยเหมือนภาคอื่นๆ โดยที่มุมมองส่วนใหญ่จะเป็นมุมมองจากข้างบน ผู้เล่นจะต้องผจญภัยอยู่ในเกาะโคโฮลินท์ ต่อสู้กับศัตรูและตะลุยดันเจี้ยน ในภาคนี้ดันเจี้ยนจะกว้างและยากกว่าภาคก่อนๆ และมีบอสที่เรียกว่า ไนท์แมร์ ซึ่งเราต้องจัดการเแล้วเอาเครื่องดนตรีทั้งแปดมาเพื่อจบเกม[20] โดยที่เมื่อเราชนะไนท์แมร์แต่ละตัว เราจะได้หัวใจเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่อง ถ้าหัวใจเราหมด เราจะตายแล้วเริ่มใหม่ที่ประตูบานล่าสุดที่เราเปิดในเกม

ภาคนี้เป็นภาคมุมมองด้านบนภาคแรกที่ตัวเอกสามารถกระโดดได้ (รวมทั้งฉากแบบ"ไซด์สครอลลิ่ง" ซึ่งคล้ายๆกับ เซลดา II ดิแอดเวนเจอร์ออฟลิงก์) ผู้เล่นสามารถเพิ่มความสามารถของลิงก์ด้วยไอเท็ม ซึ่งพบได้ในดันเจี้ยนหรือการคุยกับตัวละคร ไอเท็มที่ได้มานั้นสามารถใช้เปิดทางที่เราไม่สามารถผ่านไปได้ และจำเป็นต้องใช้ในการตะลุยดันเจี้ยนด้วย (ผู้เล่นสามารถขโมยไอเท็มในร้านค้าได้ แต่ชื่อผู้เล่นจะเปลี่ยนเป็น "THIEF" ตลอดทั้งเกม และเมื่อกลับเข้าไปในร้าน เจ้าของร้านจะฆ่าเราจนตาย)

นอกจากภารกิจหลักแล้ว ในเกมยังมีภารกิจย่อยต่างๆ รวมถึงการเก็บเปลือกหอยที่ซ่อนอยู่ในเกม เมื่อเก็บครบ 20 อัน เราจะได้ดาบอันทรงพลังที่สามารถปล่อยลำแสงได้ขณะที่มีหัวใจเต็มหลอด คล้ายกับเกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ภาคนี้ยังเป็นภาคแรกที่มีมินิเกมแลกของ โดยที่เราต้องให้ไอเท็มกับตัวละครหนึ่งแล้วตัวละครนั้นจะให้ไอเท็มอีกชิ้นหนึ่งกลับมาแทนและยังเป็นภาคแรกที่สามารถปรับแต่งปุ่ม A กับ B สำหรับใช้ไอเท็มต่างๆได้ ทำให้ปริศนาในเกมมีความหลากหลายและสามารถใช้ไอเท็มร่วมกันได้ นอกจากนั้น ภาคนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของอีเวนท์ประจำเกมซีรีส์เซลด้าหลายอีเวนท์ อาทิ ตกปลา, เรียนรู้บทเพลงใหม่จากออคารินา ซึ่งภายหลังได้ไปอยู่ในเกมเซลด้าภาคถัดมา เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา ออคารินาออฟไทม์[21]

ช่วงการพัฒนา[แก้]

A long-haired man wearing a coat and a striped shirt.
นักออกแบบเกม โยชิอากิ โคอิซุมิ รับหน้าทีเขียนเนื้อหาของเกมและพล็อตเรื่องหลักๆเช่นเกาะแห่งความฝัน เป็นต้น

ลิงส์อะเวกเคนนิง นั้นแต่เดิมเป็นโปรเจกต์ที่ยังไม่ได้รับอนุมัติในการสร้างจากบริษัท โปรแกรมเมอร์นาม คาซุเอคิ โมริตะ ได้ลองสร้างเกมเลียนแบบเซลด้าด้วยชุดพัฒนาเกมบอย และเอาไปลองวัดสมรรถนะของเครื่อง หลังจากนั้นสมาชิกคนอื่น ๆ ใน Nintendo EAD ก็ได้เข้ามาร่วมทำในช่วงเวลาหลังเลิกงาน จนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา จากนั้นปี 1991 เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ก็ได้วางขายสู่ตลาด ผู้กำกับ ทาคาชิ เทซุกะ ได้คิดจะทำเซลด้าลงเครื่องเกมพกพาโดยการพอร์ทลงเกมบอย แต่จากเสียงโหวตนั้นได้เลือกที่จะทำเกมใหม่แทน พวกเขาจึงร่วมกันพัฒนาเกมลิงส์อะเวกเคนนิงเป็นเวลาปีครึ่งจึงเสร็จสมบูรณ์[22]

เทซุกะเล่าว่าในช่วงการพัฒนาแรกๆนั้น ตัวเกมที่ออกมามีหลายสิ่งหลายอย่างมั่วปนเปกันไปหมด เช่น ตัวละครจากเกมมาริโอและเคอร์บี้ โผล่มาระหว่างเล่น เคนซุเกะ ทานาเบะ ผู้เขียนสคริปต์เกม อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ได้เข้าร่วมทีมและทำหน้าที่ร่างบทเกม[23] เทซุกะแนะนำทานาเบะว่าให้เขียนเรื่องเป็นเหมือนภาคเสริมและทิ้งคอนเซปต์เดิมๆเช่น เจ้าหญิงเซลด้า ไทรฟอร์ซ ไฮรูล ซึ่งในที่สุดทานาเบะก็ตัดสินใจให้ตัวเกมดำเนินเนื้อเรื่องอยู่ในเกาะแห่งหนึ่งที่มีไข่ยักษ์อยู่บนภูเขา

หลังจากนั้น โยชิอาคิ โคอิซุมิ ผู้ที่ได้ช่วยวางพล็อตเกมภาค อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ก็ได้เข้าร่วมทีมพัฒนา โคอิซุมิได้รับหน้าที่วางโครงเรื่องภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง และเขาได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับเกาะแห่งความฝันในเกม และสร้างการปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านด้วย[23][24][25] อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ได้ เออิจิ อาโอนุมะ มากำกับโดยเขาได้ทำให้เกมมีพล็อตเรื่องที่เหมาะสมกับตัวมันเอง ซึ่งมีลักษณะแบบโรแมนติกตามฉบับโคอิซุมิ[26] เทซุกะได้สร้างโลกในเกมให้บรรยากาศคล้ายซีรีส์ทีวีทวินพีค ซึ่งตัวละครในเกมจะมีพวกที่มีลักษณะพิรุธอยู่เหมือนกับซีรีส์เรื่องนี้ ซึ่งได้นำมาใช้ใน เซลด้า ภาคต่อๆมา ทานาเบะได้สร้างตัวละครประหลาดๆและภารกิจเสริมในเกม รวมถึงเขียนบทพูดตัวละครเกือบทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับนกฮูกและมัจฉาแห่งสายลม ทานาเบะได้ใช้ไอเดียเรื่องจุดจบของโลกเมื่อไข่ยักษ์แตกบนยอดเขา ซึ่งเป็นไอเดียเดิมในภาค อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ทานาเบะนั้นอยากจะเห็นไอเดียนี้ในเกมมากและนำมาใช้เป็นคอนเซปต์พื้นฐานของภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง ในที่สุด[27]

มาซานาโอะ อาริโมโตะและ ชิเงฟุมิ ฮิโนะ ได้รับหน้าที่ออกแบบตัวละคร ขณะที่ โยอิชิ โคทาเบะได้รับหน้าที่วาดภาพประกอบ[28] ซึ่งภาพในฉากเปิด ฉากปิด และภาพทั้งหมดในเกมนั้นวาดขึ้นโดยอาริโมโตะ ส่วนยาซาฮิสะ ยามามูระรับหน้าที่ออกแบบดันเจี้ยน และไอเดียเกี่ยวกับห้องและทางเดิน รวมถึงตำแหน่งที่ศัตรูปรากฏตัวด้วย และถึงแม้ว่าชิเงรุ มิยาโมโตะ โปรดิวเซอร์ภาค ลิงส์อะเวกเคนนิง จะไม่ได้ช่วยคิดไอเดียอะไรใหม่ๆให้กับทีม แต่เขาก็รับหน้าที่เป็น "เกม เทสเตอร์" และคำวิพากย์วิจารณ์จากเขาก็มีส่วนช่วยต่อช่วงครึ่งหลังของการพัฒนาเกมด้วย

ไดเรคเตอร์เกม เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา คุณเออิจิ อาโอนุมะในงาน Game Developers Conference ปี 2007

เพลงใน ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้มินาโก ฮามาโนะ และโคซูเอะ อิชิกาว่าเป็นผู้ประพันธ์ (ซึ่งนี่เป็นงานเกี่ยวกับเกมครั้งแรกของพวกเขาทั้งสองคนอีกด้วย)[22] และคาซุมิ โททาคะ เป็นผู้รับผิดชอบด้านซาวน์ โปรแกรมมิ่งและซาวน์เอฟเฟคทั้งหมด ลิงส์อะเวกเคนนิงนั้นจะมีเพลงโอเวอร์เวิร์ลบรรเลงระหว่างเล่นเหมือนกับภาคที่ผ่านมา โดยเพลงไตเติ้ลนั้นแต่งโดยอิชิกาว่า และเพลงสตาฟ เครดิต "ยูเมะ โอ มิรุ ชิมา เอะ" แต่งโดยคอนโดะ ฮามาโนะและอิชิกาว่า ซึ่งได้ถูกนำไปประพันธ์สำหรับวงออเครสตร้าโดย ยุคะ สึจิโยโคะและบรรเลงในงาน Orchestral Game Music Concert 3 ในปี 1993[29] (เกม Super Smash Bros. Brawl นั้นก็มีเพลงรีมิกซ์จากเกมคือ ทอล ทอล ไฮทส์อยู่ด้วยเช่นกัน)[30]

ครั้นเมื่อมีการสัมภาษณ์เกี่ยวกับพัฒนาการของเกมเซลด้า อาโอนุมะเรียก"ลิงส์อะเวกเคนนิง"ว่าเป็น "ภาคที่มีความสมดุลของเกมมากที่สุด"[31] เขากล่าวว่าภาคก่อนหน้า อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ และ ออคารินาออฟไทม์ จะมีความแตกต่างจากสองภาคนี้อย่างมาก หลายอย่างใน "ลิงส์อะเวกเคนนิง" ถูกนำมาใช้ในภาคต่อๆมา เช่น มินิเกมตกปลาใน"ออคารินาออฟไทม์"และภาคอื่นๆที่โมริตะสร้างขึ้น, ระบบแลกของที่ทานาเบะพัฒนาขึ้น เทซุกะเปรียบเทียบระบบนี้เหมือนกับนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นเรื่อง Straw Millionaire ซึ่งมีคนมาแลกฟางข้าวกับของที่ล้ำค่ากว่า ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เกือบทุกภาคหลังจากนั้น

การวางจำหน่าย[แก้]

นินเท็นโดได้ทำการโปรโมทเกม ลิงส์อเวกเคนนิง ที่อเมริกาเหนือ โดยจัดงานที่มีชื่อว่า เซลด้า วิสเทิล ทัวร์[32] และในช่วงสามวันสุดท้ายจะมีการให้ผู้เล่นเล่นเกมแข่งกับเวลา[33] ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่โชว์เกมอย่างเดียว ยังมีการแสดงเครื่องเกมบอยที่ปรับปรุงให้เล่นได้นานขึ้นและพกพาสะดวก ซึ่งทำให้มีคนเข้าถึงเกมเซลดา มากยิ่งขึ้น โดยที่นิตยสาร นินเท็นโดเพาเวอร์ ได้จัดจำหน่ายบทสรุปในเดือนกรกฎาคม 1993[34]

ในปี 1998 นินเท็นโดได้ปล่อย เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ เหมือนกับ ซูเปอร์มาริโอบรอส ดีลักซ์ และเกมอื่นๆเพื่อโปรโมทเกมบอยคัลเลอร์ที่ใช้กราฟิกสีเต็มรูปแบบและสนับสนุนเกมของเกมบอยรุ่นก่อน ซึ่งภาคใหม่นี้จะประกอบไปด้วยดันเจี้ยนใหม่ซึ่งมีศัตรูหน้าใหม่และปริศนาที่ใช้สีในการแก้ (แต่ดันเจี้ยนนี้จะเข้าไม่ได้ในเกมบอยรุ่นก่อนซึ่งยังไม่มีการแสดงผลเป็นสี) หลังจากจบดันเจี้ยน ผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะสวมเสื้อสีแดงหรือสีฟ้า ซึ่งจะเพิ่มแรงโจมตีและการป้องกันตามลำดับ ในภาค ดีเอ็กซ์ ยังสามารถถ่ายสกรีนช๊อตได้หลังจากเข้าร้านกล้องในเกม คนถ่ายจะอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆในเกมและเราสามารถถ่ายได้ทั้งหมดสิบสองภาพ ซึ่งสามารถดูได้ที่ร้านหรือพิมพ์ผ่านเกมบอยปริ้นเตอร์[35] สำหรับภาค ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ ได้เทซุกะกลับมารับหน้าที่คุมงาน พร้อมกับโยชิโนริ ซึจิยาม่าในฐานะไดเร็คเตอร์คนใหม่ในทีม โนบุโอะ มาซึมิยะได้ร่วมมือกับซึจิยาม่าในการเปลี่ยนแปลงสคริปต์ในเกม เช่น มีการเพิ่มคำพูดบอกใบ้ในการสู้กับบอส สำหรับดันเจี้ยน ใหม่นั้น ยูอิจิ โอซากิได้แต่งเพลงประกอบโดยใช้รูปแบบเพลงดันเจี้ยนของคอนโดะจาก เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา เป็นหลัก[23][36]

ในปี 2010 นินเท็นโดประกาศวางขายเกมเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ อีกครั้งในเวอร์ชัวล์คอนโซลของนินเท็นโด 3ดีเอส[37]และเริ่มจำหน่ายในเดือนมิถุนายน 2011 ต่อมาในช่วงกรกฎาคม 2013 ได้มีการนำเสนอให้สมาชิกอีไลท์ในคลับนินเท็นโดสามารถแลกเป็นของขวัญได้[38]

ผลตอบรับ[แก้]

ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้รับคำวิจารณ์ไปในทางที่ดี และได้คะแนนเฉลี่ยไป 90% จากเว็บไซต์เกมแรงกิงส์[39] ซึ่งในบทความของ Jeremy Paris จากนิตยสาร Electronic Gaming Monthly ได้ขนานนาม ลิงส์อะเวกเคนนิง ว่า "เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดเท่าที่มีมา สำหรับการผจญภัยอันยิ่งใหญ่และอลังการที่จะทำให้เราลืมทุกสิ่งทุกอย่างและเข้าไปอยู่ใน'ความฝัน'อันหลอกลวง!"[40] Ben Reeves จากเว็บไซต์ เกมอินฟอร์เมอร์ ได้ยกย่องให้เป็นเกมบอยที่ดีที่สุดเป็นเป็นอันดับสาม Chip Carter จากหนังสือพิมพ์ เดอะวอชิงตันโพสต์ ได้กล่าวว่านินเท็นโดได้สร้าง "ตำนานบนมือพวกคุณทุกคนแล้ว" และเขาชื่นชมในเรื่องการพกพาและความลึกซึ้งของเกม[41][42] นักเขียนจากหนังสือพิมพ์ Mainichi Shimbun บอกว่าเขาเพลิดเพลินไปกับดนตรีและเนื้อหาของเกม[43] สำนักเกมหลายแห่งได้ยกย่องให้เป็น"เกมผจญภัยฉบับพกพายอดเยี่ยมที่เหมาะกับคนไม่มีเวลาเล่นเกม"[44][45]

ที่อย่างงั้น เหล่านักวิจารณ์ก็ได้ติตัวเกมที่แสดงผลเป็นขาวดำซึ่งยากต่อการมองระหว่างเล่น[46]และได้หวังว่าตัวเกมจะแสดงผลเป็นสี นักวิจารณ์บางคนยังตำหนิเรื่องกราฟิกที่ ย่ำแย่จนไม่มีอะไรจะบรรยาย[47] และการเปลี่ยนอาวุธจากปุ่มทั้งสองที่ดูอืดอาดยุ่งยาก แต่ส่วนที่เหลือของเกมก็ทำให้มันดู น่าตื่นตาตื่นใจ[48]อยู่ดี

ส่วน ลิงส์อะเวกเคนนิงดีเอ็กซ์ นั้นได้รับคำวิจารณ์ไปในทางที่ดีเช่นเดียวกัน ซึ่งเกมนี้ได้คะแนนเฉลี่ยไป 92% บนเว็บเกมแรงกิงส์[49] นักวิจารณ์ชื่นชมว่านินเท็นโดได้ปรับปรุงเกมให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นโดยมีการเพิ่มเติมคอนเท้นท์ต่างๆ เช่น สีในเกมทำให้เล่นง่ายขึ้น การถ่ายภาพสถานที่ในเกมที่ท้าทายให้ผู้เล่นตามเก็บสะสมระหว่างเล่น[50][51][52][53] ถึงแม้ว่าคอนเท้นท์ที่เพิ่มเข้ามาจะน้อยนิดก็ตาม แต่ก็ยังดึงดูดให้กลับมาเล่นได้อยู่ดี[54]

ลิงส์อะเวกเคนนิง ทำยอดขายได้ดีและช่วยให้เกมบอยขายดีขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ในปี 1993 ทำให้เป็นปีที่นินเท็นโดได้กำไรมากที่สุดในช่วงเวลานั้น[55] ตัวเกมขึ้นแท่นเบสท์ เซลเลอร์ติดต่อกันนานกว่า 90 เดือน[56] และทำยอดขายไปได้ 3.83 ล้านตลับในปี 2004 ส่วนเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ ขายไปได้ 2.22 ล้านตลับ[57]

ตัวเกมนั้นได้รับรางวัลมากมาย รวมไปถึงด้านกราฟิค, เสียง, ความท้าทาย, เพลงประกอบ และภาพโดยรวมของเกมในกลุ่มประเภทเกมบอยในงานนินเท็นโดเพาเวอร์อวอร์ดปี 1993[58] และยังได้รางวัลเกมจากเกมบอยที่ดีที่สุดประจำปี 1993 โดยนิตยสาร Electronic Gaming Monthly[59] และขึ้นอันดับเกมนินเท็นโดที่ดีที่สุดอันดับที่ 56 โดยนิตยสาร นินเท็นโดเพาเวอร์[60] ส่วนเวอร์ชัน ดีเอ็กซ์ นั้นได้อันดับเกมเกมบอยหรือเกมบอยคัลเลอร์ที่ดีที่สุดเป็นอันดับสอง[61] และ IGN ได้ให้อันดับเกมที่ดีทีสุดจากคนเล่นและนักวิจารณ์เป็นอันดับที่ 40 และ 78 ตามลำดับ[62] เหล่านักวิจารณ์กล่าวว่า "ขณะที่เกมภาคเสริมในเครื่องพกพาส่วนใหญ่มักจะถูกมองว่าเป็นภาคที่ย่ำแย่ของซีรีส์ ลิงส์อะเวกเคนนิง ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการนำประสบการณ์การเล่นที่ดีเยี่ยมจากคอนโซลมาลงสู่เครื่องพกพานั้นสามารถทำได้จริงๆ"[63] เกมนี้ยังได้อันดับที่ 42 จาก 50 เกมที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อวงการวิดีโอเกมตลอดกาลใน บันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ประจำปี 2009 อีกด้วย[64]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Game Boy (original) Games" (PDF). Nintendo of America Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 14, 2010. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
  2. ゼルダの伝説 夢をみる島 (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo Co., Ltd. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2008. สืบค้นเมื่อ March 26, 2009.
  3. "Iwata Asks: Zelda Handheld History – Like an Afterschool Club". Nintendo of Europe GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
  4. The Legend of Zelda: Link's Awakening (1993) Game Boy release dates - MobyGames เก็บถาวร เมษายน 26, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน: "Country: United Kingdom - Release Date: Nov 18, 1993"
  5. Mega Fun 11/1993 (German magazine; Scan @ Kultboy.com เก็บถาวร พฤษภาคม 1, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน): "Erscheinungstermin: November" (Release date: November)
  6. "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX". Nintendo of Europe GmbH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 17, 2009.
  7. "Zeldaの伝説 – Introduction" (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo Co., Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2008. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
  8. "Guide 64: Game Boy Release Schedule". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 9, 1999.
  9. "Zelda Retrospective Part 2". GameTrailers. MTV Networks. 2006-10-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  10. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Kid: Hey man! When you want to save, just push all the Buttons at once! ...Uh, don't ask me what that means, I'm just a kid!
  11. "The Official Zelda Timeline, Now With Added Detail". Kotaku.com. 2011-12-27. สืบค้นเมื่อ 2012-11-16.
  12. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Marin: You must still be a little woozy. You are on Koholint Island!
  13. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Marin: If I was a seagull, I would fly as far as I could! I would fly to far away places and sing for many people! ...If I wish to the Wind Fish, I wonder if my dream will come true...
  14. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. To the finder, the isle of Koholint is but an illusion... Human, monster, sea, sky... a scene on the lid of a sleeper's eye... Awake the dreamer, and Koholint will vanish much like a bubble on a needle... Cast-away, you should know the truth!
  15. "Zelda Retrospective Part 6". GameTrailers. MTV Networks. 2006-11-20. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  16. The Legend of Zelda: Link's Awakening – Nintendo Player's Guide. Nintendo of America Inc. 1994. p. 84.
  17. "Strategy – Bosses of the Egg". Nintendo of America Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-10-16.
  18. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Wind Fish: But, verily, it be the nature of dreams to end! When I dost awaken, Koholint will be gone...
  19. "Link's Awakening – Frequently Asked Questions". Nintendo of America Inc. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
  20. The Legend of Zelda: Link's Awakening Instruction Booklet. Nintendo of America Inc. August 1993. pp. 9–28.
  21. Vestal, Andrew; O'Neill, Cliff; Shoemaker, Brad. "History of Zelda". GameSpot. CBS Interactive Inc. p. 13. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. 22.0 22.1 "「ゼルダの伝説 夢をみる島」開発スタッフ名鑑". Nintendo Official Guide Book – The Legend of Zelda: Link's Awakening (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan Inc. July 1993. pp. 120–124. ISBN 4-09-102448-3.
  23. 23.0 23.1 23.2 "開発スタッフアンケート". ゲームボーイ&ゲームボーイカラー 任天堂公式ガイドブック ゼルダの伝説 夢を見る島DX (ภาษาญี่ปุ่น). Shogakukan Inc. 1999-02-20. pp. 108–111. ISBN 4-09-102679-6.
  24. Kohler, Chris (2007-12-04). "Interview: Super Mario Galaxy Director On Sneaking Stories Past Miyamoto". Wired: GameLife. Condé Nast Digital. สืบค้นเมื่อ 2010-06-10.
  25. "Interview: Nintendo's Unsung Star". Next Generation. Future US, Inc. 2008-02-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
  26. "Iwata Asks: The History of Handheld The Legend of Zelda Games – Make All the Characters Suspicious Types". Nintendo of America Inc. January 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-01-13.
  27. Skrebels, Joe (2014-02-19). "Monkey Men: talking to Michael Kelbaugh and Kensuke Tanabe". Official Nintendo Magazine. Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  28. Nintendo Co., Ltd (1998-12-01). The Legend of Zelda: Link's Awakening DX. Nintendo of America Inc. Scene: staff credits.
  29. Orchestral Game Music Concert 3. Sony Records. 1993.
  30. "Smash Bros. Dojo!! – Full Song List with Secret Songs". Nintendo of America Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-09.
  31. "GDC 2004: The History of Zelda". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2004-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-04.
  32. Williamson, Matt (1993-08-20). "'Legend of Zelda' Still Growing". Rocky Mountain News. p. C1.
  33. Bette, Harrison (1993-08-30). "Riding the rails for Nintendo contest". The Atlanta Journal-Constitution. p. B2.
  34. "'The Legend of Zelda: Link's Awakening' Guide". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (50): 57–66. July 1993.
  35. "Mega Mirror; Win two Game Boy games". The Mirror. 1999-02-27. p. 41.
  36. Musashi (2000-02-07). "Reviews – The Legend of Zelda: Link's Awakening DX". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  37. Scullion, Chris (2010-09-26). "3DS Virtual Console Will Play Game Boy Games". Official Nintendo Magazine. Future Publishing Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-03. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  38. Goldfarb, Andrew (2013-07-15). "2013 Club Nintendo Elite Status Rewards Now Available". IGN Entertainment, INC. สืบค้นเมื่อ 2013-07-16.
  39. "The Legend of Zelda: Link's Awakening for Game Boy". GameRankings. CBS Interactive Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  40. Parish, Jeremy (2006-11-15). "Link of A Thousand Faces". 1UP.com. UGO Entertainment, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-25. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  41. Carter, Chip (1993-08-04). "Nintendo Creates Legend That Fits in Your Hand". The Washington Post.
  42. Joukiri, An (2007-07-04). "「ゼルダの伝説 夢幻の砂時計」レビュー". ITmedia +D Games (ภาษาญี่ปุ่น). ITmedia Inc. สืบค้นเมื่อ 2011-03-08.
  43. "ゲームクエスト(ライブラリ) – ゼルダの伝説 夢をみる島". Mainichi.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Newspapers Co. Ltd. 2005-02-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-02-08.
  44. Diamond, John (1993-12-19). "Little Plumber Boy; Night and Day". The Mail. p. 33.
  45. Hughes, Gwyn (1993-12-09). "The Guardian Features Page". The Guardian. p. 21.
  46. Provick, Bill (1994-08-04). "Nintendo's Game Boy on big screen". The Ottawa Citizen. p. J2 (Citizen Section: Weekend Fun; Electronic Gaming).
  47. Burrill, William (1993-10-14). "Plot is a bit cliched, but Rocket Knight game has big, bright graphics". The Gazette. p. E5.
  48. Monk, Katherine (1999-05-06). "Zelda lives up to her legend". The Vancouver Sun. p. F23.
  49. "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX for Game Boy Color". GameRankings. CBS Interactive Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16.
  50. Cleveland, Adam (1999-09-17). "Legend of Zelda: Link's Awakening DX – Game Boy Color Review". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-12-04.
  51. Davis, Cameron (2000-01-28). "The Legend of Zelda: Link's Awakening DX Review". GameSpot. CBS Interactive Inc. สืบค้นเมื่อ 2007-05-14.
  52. Wilson, A. (1999-01-14). "What's On; The Legend of Zelda DX". Courier Mail. p. 4.
  53. Amjadali, Samantha; Scatena, Dino (1999-05-20). "Game on". The Daily Telegraph. p. T6.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  54. "Zelda: Link's Awakening DX". Total Games' Guide to the Game Boy Color. Paragon Publishing Ltd (2): 16. 1999.
  55. Smith, David (1993-10-20). "Video games master Nintendo forecasting a record sales year". The Vancouver Sun. p. D5.
  56. Kelley, Malcom (2000-11-19). "Fun time for couch potatoes: Video game reviews". National Post. p. F6.
  57. Parton, Rob (2004-03-31). "Japandemonium – Xenogears vs. Tetris". RPGamer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-12. สืบค้นเมื่อ 2008-06-21.
  58. "Nester Awards Results". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (60): 54–57. May 1994.
  59. "Electronic Gaming Monthly's Buyer's Guide". Electronic Gaming Monthly. Ziff Davis Media Inc. January 1994.
  60. "NP Top 200". Nintendo Power. Nintendo of America Inc. 1 (200): 58–66. February 2006.
  61. "Nintendo Power – The 20th Anniversary Issue!". Nintendo Power. Future Publishing Limited (231): 72. August 2008.
  62. "Readers' Picks Top 100 Games: 31–40". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-01-22.
  63. "IGN Top 100 Games 2007 – 78. The Legend of Zelda: Link's Awakening". IGN.com. IGN Entertainment, Inc. 2007-12-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-06-04.
  64. Gibson, Ellie (2009-02-27). "Guinness lists top 50 games of all time". Eurogamer.net. Eurogamer Network Ltd. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.