เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: โฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: โฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์ | |
---|---|
งานศิลปะบรรจุภัณฑ์ของอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | นินเท็นโด อีเอดี |
ผู้จัดจำหน่าย | นินเท็นโด |
กำกับ | โทชิอากิ ซูซูกิ |
อำนวยการผลิต | |
โปรแกรมเมอร์ | ยาซูนาริ โซเอจิมะ |
ศิลปิน | มาซานาโอะ อาริโมโตะ |
เขียนบท |
|
แต่งเพลง |
|
ชุด | เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา |
เครื่องเล่น | เกมคิวบ์ |
วางจำหน่าย |
|
แนว | แอ็กชันผจญภัย |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น |
เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: โฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์ (อังกฤษ: The Legend of Zelda: Four Swords Adventures)[a] เป็นภาคที่สิบเอ็ดในซีรีส์เดอะเลเจนด์ออฟเซลดาของนินเท็นโด ซึ่งได้รับการเผยแพร่สำหรับเกมคิวบ์ เครื่องเล่นวิดีโอเกมภายในบ้านในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2004; ในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2004; ในทวีปยุโรปเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2005; และในออสเตรเลียเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 2005 ส่วนเกมบอยอัดวานซ์ เครื่องเล่นเกมพกพาสามารถใช้เป็นคอนโทรลเลอร์ได้เมื่อใช้สายเคเบิลเกมคิวบ์ – เกมบอยอัดวานซ์ ที่มาพร้อมกับเกมในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป เกมนี้เข้ากันได้กับนินเท็นโด วี รวมถึงการใช้สายเชื่อมต่อเกมบอยอัดวานซ์
เกมดังกล่าวนำลิงก์ไปสู่การผจญภัย เพื่อคืนความสงบสุขให้กับไฮรูล หลังจากได้เรียนรู้ว่ามีการสร้างชาโดว์ลิงก์ ซึ่งเป็นร่างคล้ายกันที่ชั่วร้ายของตัวเขาเอง ภาคโฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเกมที่ดีที่สุดอันดับ 48 ที่สร้างขึ้นสำหรับระบบนินเท็นโดโดยนิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์ และได้รับคะแนนรวมที่ 86 คะแนนเต็ม 100 จากเว็บไซต์เมทาคริติก เกมนี้เป็นเกมขายดีอันดับสามของเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 ในทวีปอเมริกาเหนือด้วยจำนวน 155,000 ชุด และตั้งแต่นั้นมาก็ขายได้ 250,000 ชุด รวมถึงมียอดขาย 127,000 ชุดในประเทศญี่ปุ่น
รูปแบบการเล่น
[แก้]โหมดหลักของภาคโฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์ คือ "ไฮรูเลียนแเอดเวนเจอร์" ซึ่งเป็นการปรับผู้เล่นหลายคนแบบร่วมมือเป็นตอน ๆ จากรูปแบบการเล่นเดอะเลเจนด์ออฟเซลดาแบบเดิม ส่วน "ชาโดว์แบตเทิล" คือโหมดการต่อสู้แบบผู้เล่นหลายคน และ "นาวิแทรกเกอส์" ที่นำเสนอเฉพาะในเกมเวอร์ชันญี่ปุ่น คือการแข่งขันแรลลีแสตมป์แบบผู้เล่นหลายคน[2]
ไฮรูเลียนแเอดเวนเจอร์
[แก้]ไฮรูเลียนแเอดเวนเจอร์เป็นการศึกหลักของโฟร์ซอดส์แอดเวนเจอส์ และสามารถเล่นได้ตั้งแต่หนึ่งถึงสี่คน ซึ่งประกอบด้วยโลกทั้งแปด แต่ละแห่งมีสามด่านและการต่อสู้ของบอส โดยมีกราฟิกคล้ายกับภาคโฟร์ซอดส์ จากเกมบอยอัดวานซ์ (GBA) ที่วางจำหน่ายก่อนหน้านี้ แต่แผนที่เป็นแบบคงที่แทนที่จะสร้างแบบสุ่ม และมีมุมมองจากบนลงล่างที่นำมาจากเดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงก์ทูเดอะแพสต์ ตลอดจนรูปแบบการเล่นรวมถึงเอฟเฟกต์จากจากภาคเดอะวินด์เวกเกอร์ กราฟิกดังกล่าวประกอบด้วยเอฟเฟกต์บรรยากาศที่ได้รับการปรับปรุง เช่น เงาของเมฆที่ค่อย ๆ เคลื่อนผ่านพื้นดิน, แสงแวววาวจากความร้อน, พายุฝุ่น และหมอก ส่วนดนตรีมีพื้นฐานมาจากภาคอะลิงก์ทูเดอะแพสต์ แต่มีการปรับแต่งดนตรีใหม่ในตำแหน่งต่าง ๆ[2]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Legend of Zelda: Four Swords+ box art". Nintendo Co., Ltd. (via WebCite). 18 March 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2010. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010.
- ↑ 2.0 2.1 Nintendo. The Legend of Zelda: Four Sword Adventures manual (PDF). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-28.