เฉิน ฉุยเปี่ยน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เฉิน ฉุยเปี่ยน | |
---|---|
陳水扁 | |
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 | |
หัวหน้ารัฐบาล | ถัง เฝย จาง จุน เซียง ยู่ ฉี กุ้น แฟรงก์ เซี่ย ซู เจินชาง |
รองประธานาธิบดี | หลู่ ซิ่วเหลียน |
ก่อนหน้า | หลี่ เติงฮุย |
ถัดไป | หม่า อิงจิ่ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 ตำบลกวันเถียน เมืองไถหนาน สาธารณรัฐจีน |
ศาสนา | ลัทธิอนุตตรธรรม[1] |
คู่สมรส | อู๋ สูเจิน |
เฉิน ฉุยเปี่ยน (จีน: 陳水扁; ฮั่นยฺหวี่พินอิน: Chén Shuǐbiǎn; ทงย่งพินอิน: Chen Shuei-bian; เวด-ไจลส์: Ch'en Shui-pien; เป่อ่วยยี: Tân Chúi-píⁿ) หรือชื่อเล่น อาเปี่ยน เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ. พ.ศ. 2492 ที่หมู่บ้านซีโจ้ว ตำบลกวันเถียน เมืองไถหนาน ครอบครัวเป็นชาวนาที่ยากจน บิดาชื่อเฉินซงเกิ่น มารดาชื่อเฉินหลี่เสิ้น มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน แม้ครอบครัวจะยากจนแต่พ่อแม่ก็สนับสนุนให้ลูก ๆ เรียนหนังสือ โดยเฉพาะเฉิน ฉุยเปี่ยน ซึ่งมีผลการเรียนดีมาตั้งแต่เด็ก
การศึกษา
[แก้]เฉิน ฉุยเปี่ยน จบการศึกษาชั้นประถม ชั้นมัธยมศึกษาชั้นต้นและตอนปลายสอบได้คะแนนสูงอันดับที่ 1 และสอบเข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (หรือมหาวิทยาลัยไถต้า) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของไต้หวันด้วยคะแนนสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เฉิน ฉุยเปี่ยน คว้าอันดับที่ 1 ของประเทศอีกครั้ง จากการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความขณะที่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ดังนั้นแม้ยังไม่สำเร็จการศึกษา เฉิน ฉุยเปี่ยน ก็สามารถออกว่าความได้แล้ว
เส้นทางการเมือง
[แก้]เฉิน ฉุยเปี่ยนสมรสกับอู๋สูเจินบุตรสาวของนายแพทย์ชื่อดังและร่ำรวยของเมืองไถหนาน ทั้งคู่รักกันตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มีบุตรธิดาอย่างละ 1 คน เฉิน ฉุยเปี่ยนก้าวเข้าสู่วงการการเมือง โดยรับเป็นทนายว่าความให้ผู้ต้องหาคดีก่อเหตุจลาจลคือ นายหวงซิ่นเจ้แกนนำพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ต่อมาลงเล่นการเมืองระดับท้องถิ่นก่อน โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลไทเป ระหว่างนี้ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทเลขาธิการของประธานาธิบดีเจียงจิงกัว ถูกตัดสินให้จำคุก 1 ปี และต้องจ่ายเงินชดเชยให้โจทย์ 2 ล้านเหรียญ
ปลายปี 2528 ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเมืองไถหนาน แต่ประสบความพ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียงที่เฉียดฉิว สองวันหลังการเลือกตั้ง ภรรยาของเฉิน ฉุยเปี่ยนประสบอุบัติเหตุถูกรถชนได้รับบาดเจ็บสาหัสและกลายเป็นคนพิการเดินไม่ได้ตลอดชีวิต อุบัติเหตุครั้งนี้ เฉิน ฉุยเปี่ยน ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ด้วยปักใจเชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุทางการเมือง
ปี 2532 เฉิน ฉุยเปี่ยนได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ (ส.ส.) และกลายเป็น ส.ส. ดาวรุ่งที่มาแรงมากในสมัยนั้น โดยเลือกเปิดโปงคดีทุจริตดัง ๆ หลายคดี โดยเฉพาะความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพ เดือนธันวาคม ปี 2535 ได้รับเลือกเป็น ส.ส. สมัยที่ 2 เดือนกรกฎาคม ปี 2536 ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Times ของสหรัฐให้เป็นบุรุษแห่งปีของไต้หวัน เดือนพฤศจิกายน ปี 2537 นิตยสาร Times เลือกให้เป็น 1 ใน 100 ของผู้นำการเมืองของโลก เดือนธันวาคม ปี 2537 ลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการกรุงไทเป ซึ่งเขาก็ชนะการเลือกตั้งและกลายเป็นผู้ว่าการกรุงไทเปคนแรกที่มาจากพรรคฝ่ายค้าน แต่มาพ่ายแพ้การเลือกตั้งในครั้งต่อมา เฉิน ฉุยเปี่ยน เบนเข็มไปที่เก้าอี้ประธานาธิบดี เขาออกตระเวนเยือนหมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ ทั่วไต้หวัน ทำให้คะแนนนิยมของเฉิน ฉุยเปี่ยนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะทางภาคใต้ของเกาะไต้หวัน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2543 เฉิน ฉุยเปี่ยนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีของไต้หวันสาธารณรัฐจีน กลายเป็นประธานาธิบดีที่หนุ่มที่สุดในประวัติศาสตร์ของไต้หวันสาธารณรัฐจีนด้วยอายุเพียง 49 ปีและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรคฝ่ายค้านด้วย
วิดีโอ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kuo, Cheng-Tian (2008). Religion and Democracy in Taiwan. Albany, New York: State University of New York Press. p. 13. ISBN 978-0-7914-7445-7. Zbl 1975.K84.
Chen Shui-bian was an initiated member of I-Kuan Tao. Nevertheless, he never publicly acknowledged his religious belief. Probably because of the syncretistic nature of I-Kuan Tao, Chen has paid his respects to all religions on their important holidays.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่า|zbl=
(help)