เจสัน มัวร์ (บรรณาธิการวิกิพีเดีย)
เจสัน มัวร์ | |
---|---|
มัวร์ในงาน WikiConference North America พ.ศ. 2559 | |
เกิด | พ.ศ. 2527/2528 (อายุ 39–40 ปี) |
สัญชาติ | ชาวอเมริกัน |
มีชื่อเสียงจาก | การเขียนและแก้ไขในวิกิพีเดีย |
เจสัน มัวร์ (เกิด พ.ศ. 2527 หรือ 2528) เป็นบรรณาธิการวิกิพีเดียชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ที่มีส่วนร่วมมากที่สุดในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตามจำนวนการแก้ไข เขาเริ่มแก้ไขตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ในชื่อ "Another Believer" โดยมักเขียนเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นการระบาดทั่วของโควิด-19 การประท้วงกรณีจอร์จ ฟลอยด์ และวัฒนธรรมเมืองพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน ซึ่งเขาอยู่ที่นั่น ในวิกิพีเดีย มัวร์ได้ก่อตั้งและพัฒนากลุ่มบรรณาธิการสำหรับการทำงานร่วมกันในหัวข้อเหล่านี้ และในฐานะผู้จัดงานในขบวนการวิกิมีเดีย มัวร์เป็นเจ้าภาพจัดงานพบปะและอีดิทอะธอนเพื่อฝึกอบรมบรรณาธิการหน้าใหม่
วิกิพีเดีย
[แก้]มัวร์เป็นหนึ่งในบรรณาธิการที่มีการใช้งานมากที่สุดตามจำนวนการแก้ไขในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1][2] การแก้ไขกว่าครึ่งล้านครั้ง[1] ภายใต้ชื่อผู้ใช้ "Another Believer"[3] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550[4] มัวร์ได้สร้างหน้าหลายพันหน้า รวมถึงบทความเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และการโจมตีของผู้ก่อการร้าย บทความเหล่านี้บางหน้า เช่นการบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 เหตุกราดยิงซูเปอร์มาร์เก็ตในบัฟฟาโล และเหตุกราดยิงที่ลากูนาวูดส์ พ.ศ. 2565[1] ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ มัวร์ได้สร้างกลุ่มบรรณาธิการ ("โครงการวิกิ") ที่มุ่งหมายปรับปรุงการเนื้อหาของวิกิพีเดียให้ครอบคลุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่นการระบาดทั่วของโควิด-19[5] ในช่วงโควิด-19 เขาได้บันทึกการแพร่ระบาดที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายรัฐ ภาคธุรกิจ และชุมชนต่าง ๆ ในสหรัฐ[6] เขาได้มีส่วนร่วมหลักในบทความเกี่ยวกับการประท้วงหลังการฆาตกรรมจอร์จ ฟลอยด์[1] เมื่อเริ่มเขียนบทความการบุกเข้าอาคารรัฐสภาสหรัฐ พ.ศ. 2564 เขาและบรรณาธิการคนอื่น ๆ ได้ควบคุมดูแลเนื้อหาใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาในบทความขณะที่เหตุการณ์กำลังเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กัน[4]
นอกจากนั้น เขายังเขียนเกี่ยวกับหัวข้อต่าง ๆ ในพอร์ตแลนด์ รัฐออริกอน เช่น แหวนม้า ดอกกุหลาบ อาคาร Yale Union Laundry และผลงานอัลบั้มของวงออร์เคสตราออริกอนซิมโฟนี (Oregon Symphony) ในปี พ.ศ. 2554 ที่ชื่อว่า Music for a Time of War ส่วนบทความคัดสรรหน้าแรกของมัวร์เกี่ยวกับอัลบั้มเมื่อ พ.ศ. 2550 ที่ชื่อ Rufus Does Judy at Carnegie Hall[7] เขาอธิบายว่าแรงดลใจของเขามาจาก "ความพึงพอใจในทันทีที่ทำให้อินเทอร์เน็ตดีขึ้นอย่างง่ายดาย"[3] และความพึงพอใจจาก "การแบ่งปันข้อมูลกับคนทั้งโลก"[7] CNN Business อธิบายว่ามัวร์เป็น "ผู้มีอิทธิพลในวิกิพีเดีย"
นอกจากการแก้ไขแล้ว มัวร์ยังมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ขบวนการวิกิมีเดียด้วยการจัดงานพบปะในท้องถิ่นและงานฝึกอบรมบรรณาธิการหน้าใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2556 เขาจัดงานอีดิทอะธอนที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะพอร์ตแลนด์[8] และเชิญชวนผู้คนให้ใช้ทรัพยากรของสถาบันในการปรับปรุงเนื้อหาให้ครอบคลุมถึงศิลปินท้องถิ่น องค์กรศิลปะ และศิลปะสาธารณะ[9] เขายังคงจัดงานในพื้นที่พอร์ตแลนด์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อปรับปรุงวิกิพีเดียให้ครอบคลุมเกี่ยวกับศิลปะและศิลปินสตรีในเมืองพอร์ตแลนด์[10] [11] มัวร์ยังได้ช่วยจัดตั้งองค์กรในเครือของมูลนิธิวิกิมีเดียที่เข้าถึงกลุ่ม LGBT โดยเฉพาะ[12] [13] และแคมเปญ Wiki Loves Pride เพื่อปรับปรุงเนื้อหาให้ครอบคลุมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ LGBT[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Kelly, Samantha Murphy (May 20, 2022). "Meet the Wikipedia editor who published the Buffalo shooting entry minutes after it started". CNN Business. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 20, 2022. สืบค้นเมื่อ May 20, 2022.
- ↑ Gedye, Grace (February 4, 2021). "When the Capitol Was Attacked, Wikipedia Went to Work". Washington Monthly. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2021. สืบค้นเมื่อ February 4, 2021.
- ↑ 3.0 3.1 Andrews, Travis M. (August 7, 2020). "Covid-19 is one of Wikipedia's biggest challenges ever. Here's how the site is handling it". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 9, 2020. สืบค้นเมื่อ August 10, 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Pasternack, Alex (January 14, 2021). "As a mob attacked the Capitol, Wikipedia struggled to find the right words". Fast Company. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 14, 2021.
- ↑ Vázquez, Karelia (November 28, 2020). "¿Y tú te fiarías de la Wikipedia en 2020?". El País (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 21, 2022. สืบค้นเมื่อ June 1, 2022.
- ↑ Harrison, Stephen (May 27, 2020). "Future Historians Will Rely on Wikipedia's COVID-19 Coverage". Slate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 27, 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Stabler, David (May 11, 2013). "Wikipedia a passion for Portland's Jason Moore". The Oregonian. Portland, Oregon. ISSN 8750-1317. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2016. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
- ↑ Hallett, Alison (October 11, 2013). "Wikipedia Edit-a-Thon Aims to Improve Crowd-Sourced Local Arts Coverage". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
- ↑ Hallett, Alison (October 16, 2013). "Oregon Arts Project: A Wiki-Based Approach to Local Arts Coverage". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ March 12, 2016.
- ↑ Hallett, Alison (January 15, 2014). "Wikipedia Arts + Feminism Edit-a-Thon". Portland Mercury. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 18, 2016.
- ↑ Solomon, Molly (March 18, 2017). "Portland Edit-a-Thon Aims to Close Wikipedia Gender Gap". Oregon Public Broadcasting. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 19, 2017. สืบค้นเมื่อ March 19, 2017.
- ↑ Wexelbaum, Rachel; Herzog, Katie; Rasberry, Lane (2015). "Queering Wikipedia". ใน Wexelbaum, Rachel (บ.ก.). Queers Online: LGBT Digital Practices in Libraries, Archives, and Museums. Sacramento, California: Litwin Books. p. 67. ISBN 978-1936117796. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2015. สืบค้นเมื่อ March 18, 2017.
- ↑ Wexelbaum, Rachel (May 1, 2019). "Coming Out of the Closet: Librarian Advocacy to Advance LGBTQ+ Wikipedia Engagement". ใน Mehra, Bharat (บ.ก.). LGBTQ+ Librarianship in the 21st Century: Emerging Directions of Advocacy and Community Engagement in Diverse Information Environments. Emerald Group Publishing. p. 118. ISBN 9781787564756. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 18, 2019.
- ↑ Wexelbaum, Rachel (June 10, 2019). "Edit Loud, Edit Proud: LGBTIQ+ Wikimedians and Global Information Activism". ใน Reagle, Joseph; Koerner, Jackie (บ.ก.). Wikipedia @ 20: Stories of an Incomplete Revolution. MIT Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2019. สืบค้นเมื่อ June 21, 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Spotlight on people: Another Believer and Wiki Loves Libraries". Books & Bytes. The Wikipedia Library, English Wikipedia. November 2013.