การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์
ส่วนหนึ่งของการใช้ความรุนแรงของตำรวจในสหรัฐ
ภาพจับหน้าจอจากวิดีโอขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจเดริก ชอวิน กำลังคุกเข่าบนคอของจอร์จ ฟลอยด์ ซึ่งส่งผลให้เขาเสียชีวิตในเวลาต่อมา
วันที่25 พฤษภาคม 2563 (2563-05-25)
เวลาป. 20:08–20:28 น. (เขตเวลากลาง)[1][2]
ที่ตั้งมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐ
พิกัด44°56′03″N 93°15′45″W / 44.9343°N 93.2624°W / 44.9343; -93.2624พิกัดภูมิศาสตร์: 44°56′03″N 93°15′45″W / 44.9343°N 93.2624°W / 44.9343; -93.2624
ผู้เข้าร่วม
  • เดริก ชอวิน
  • ทู ทาว
  • ทอมัส เค. เลน
  • เจ. อเล็กซานเดอร์ คูเอง
เสียชีวิต1 คน (จอร์จ ฟลอยด์)

ที่ตั้งเมืองมินนีแอโพลิส (สถานที่เกิดเหตุ) ในเทศมณฑลเฮนเนพินและในรัฐมินนิโซตา

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา เสียชีวิตในย่านพาวเดอร์ฮอร์นทางทิศใต้ของย่านกลางเมืองมินนีแอโพลิสในสหรัฐ ขณะที่ฟลอยด์ถูกใส่กุญแจมือและนอนคว่ำหน้ากับพื้นถนนระหว่างถูกจับกุม เดริก ชอวิน เจ้าหน้าที่ตำรวจมินนีแอโพลิสซึ่งเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายยุโรปใช้เข่ากดคอด้านหลังของฟลอยด์เป็นเวลานาน 8 นาที 46 วินาที โดย 2 นาที 53 วินาทีในระยะเวลาดังกล่าวดำเนินไปหลังจากฟลอยด์ไม่ตอบสนอง[3][4] เจ้าหน้าที่อีกสามคนคือ ทอมัส เค. เลน, ทู ทาว และเจ. อเล็กซานเดอร์ คูเอง มีส่วนร่วมในการจับกุมฟลอยด์[5] โดยคูเองจับหลังของฟลอยด์ในขณะที่เลนจับขาของฟลอยด์ไว้[5] ส่วนทาวยืนดูอยู่ใกล้ ๆ[6] การชันสูตรพลิกศพเบื้องต้นพบว่า ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าฟลอยด์เสียชีวิตจากการหายใจไม่ออกเหตุบีบรัดคอหรือการขาดอากาศหายใจเหตุช่องอกถูกกดทับ แต่ผลกระทบที่ผสมกันจากความตึงเครียดระหว่างถูกควบคุมตัว โรคประจำตัวซึ่งได้แก่โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจและโรคหัวใจเหตุความดันสูง และสารมึนเมาที่อาจมีอยู่ในร่างกายของเขานั้นน่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต[7][8] แต่การชันสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญอิสระที่ครอบครัวของฟลอยด์มอบอำนาจให้พบว่า การเสียชีวิตของฟลอยด์ "เกิดจากภาวะขาดอากาศหายใจเนื่องมาจากแรงกดทับที่คอและหลังซึ่งนำไปสู่การขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง"[9][10]

การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากฟลอยด์ถูกกล่าวหาว่าใช้ธนบัตรปลอมในร้านขายอาหารแห่งหนึ่ง[11] ตำรวจกล่าวว่าฟลอยด์ขัดขืนการจับกุม[12][13] แต่องค์การสื่อบางแห่งให้ความเห็นว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดของร้านอาหารใกล้เคียงไม่แสดงให้เห็นว่าฟลอยด์มีพฤติการณ์เช่นนั้น[14][15] คำร้องทุกข์ทางอาญาในภายหลังระบุว่า ภาพจากกล้องติดตัวตำรวจแสดงให้เห็นว่า ฟลอยด์กล่าวหลายครั้งว่าเขาหายใจไม่ออกขณะยืนอยู่นอกรถตำรวจโดยไม่ยอมเข้าไปในรถและจงใจล้มลง[16][17][18][19] ผู้ใกล้เหตุการณ์หลายคนบันทึกเหตุการณ์นี้ลงในโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยวิดีโอหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าฟลอยด์กล่าวซ้ำ ๆ ว่า "ขอร้องล่ะ" "ผมหายใจไม่ออก" "แม่" และ "อย่าฆ่าผม" ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางในฐานช่องทางสื่อสังคมและในการแพร่ภาพกระจายเสียงของสื่อต่าง ๆ[20] เจ้าหน้าที่ทั้งสี่นายถูกไล่ออกในวันถัดมา[21]

สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) กำลังสอบสวนเหตุการณ์นี้ในแง่สิทธิพลเมืองตามคำร้องขอของสำนักงานตำรวจมินนีแอโพลิส และสำนักวิเคราะห์อาชญากรรมมินนิโซตา (บีซีเอ) ก็กำลังสืบสวนความเป็นไปได้ที่จะมีการละเมิดบทกฎหมายของรัฐมินนิโซตาเช่นกัน[22] ณ วันที่ 29 พฤษภาคม ชอวินถูกจับกุมและถูกตั้งข้อหาทำให้คนตายโดยไม่เจตนาฆ่า แต่เจตนาก่อให้เกิดอันตราย (third-degree murder) และข้อหาทำให้คนตายโดยประมาท (second-degree manslaughter) ไมเคิล โอ. ฟรีแมน อัยการเทศมณฑลเฮนเนพิน กล่าวว่า เขาคาดว่าจะมีการตั้งข้อกล่าวหากับเจ้าหน้าที่อีกสามนายที่อยู่ในเหตุการณ์[23][24]

หลังการเสียชีวิตของฟลอยด์ การเดินขบวนและการประท้วงในเขตมหานครมินนีแอโพลิส–เซนต์พอลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม เป็นไปด้วยความสงบในช่วงแรก แต่ต่อมาในวันเดียวกันก็ลุกลามเป็นการจลาจล โดยกระจกหน้าต่างสถานีตำรวจแห่งหนึ่งถูกทุบแตก ร้านค้าสองร้านถูกวางเพลิง และร้านค้าอีกหลายร้านถูกฉกชิงทรัพย์สินและถูกทำลาย[25] ผู้ประท้วงบางคนปะทะกับตำรวจซึ่งยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนยาง[26][27] การประท้วงเพิ่มเติมเกิดขึ้นในมากกว่า 100 เมืองทั่วทั้ง 50 รัฐในสหรัฐเช่นเดียวกับในประเทศอื่น ๆ การเสียชีวิตของฟลอยด์ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการเสียชีวิตของเอริก การ์เนอร์ ใน พ.ศ. 2557 การ์เนอร์ซึ่งเป็นชายผิวดำที่ไม่มีอาวุธเช่นกันได้กล่าวว่า "ผมหายใจไม่ออก" สิบเอ็ดครั้งหลังจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนิวยอร์กนายหนึ่งล็อกคอไว้กับพื้นระหว่างการจับกุมในเกาะสแตเทน[28][29]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Timeline: Death of George Floyd, reactions and protests". Fox 9. May 27, 2020.
  2. https://q13fox.com/2020/05/29/ex-minneapolis-police-officer-derek-chauvin-charged-with-murder-manslaughter-in-george-floyds-death
  3. Silverman, Hollie (May 29, 2020). "Floyd was "non-responsive" for nearly 3 minutes before officer took knee off his neck, complaint says". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020. Chauvin had his knee on Floyd's neck for 8 minutes and 46 seconds in total, and 2 minutes and 53 seconds after Floyd was unresponsive, the complaint said.
  4. Rumpf, Sarah (May 29, 2020). "Derek Chauvin Had Knee on George Floyd's Neck for Almost 3 Minutes AFTER Floyd Was Unresponsive: Officials". Mediaite (ภาษาอังกฤษ). The defendant had his knee on Mr. Floyd’s neck for 8 minutes and 46 seconds in total. Two minutes and 53 seconds of this was after Mr. Floyd was non-responsive, concludes the complaint.
  5. 5.0 5.1 "Officer Charged With George Floyd's Death as Protests Flare". The New York Times. Associated Press. May 29, 2020.
  6. Mannix, Andy (May 26, 2020). "What we know about Derek Chauvin and Tou Thao, two of the officers caught on tape in the death of George Floyd". Star Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 27, 2020.
  7. Samuel Chamberlain (May 29, 2020). "George Floyd family enlists Dr. Michael Baden to perform second autopsy". Fox News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 30, 2020.
  8. Hollie Silverman (May 29, 2020). "Floyd was "non-responsive" for nearly 3 minutes before officer took knee off his neck, complaint says". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  9. News, A. B. C. "Independent autopsy finds George Floyd died of asphyxia". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-01. {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  10. "Independent autopsy requested for George Floyd". ABC News.
  11. Furber, Matt; Burch, Audra D. S.; Robles, Frances (May 29, 2020). "George Floyd Worked With Officer Charged in His Death". The New York Times. ISSN 0362-4331. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 30, 2020.
  12. Dakss, Brian (May 26, 2020). "Video shows Minneapolis cop with knee on neck of motionless, moaning man who later died". CBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
  13. "'Being Black in America Should Not Be A Death Sentence': Officials Respond To George Floyd's Death". CBS Minnesota. May 26, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
  14. "George Floyd death: Newly emerged surveillance footage shows no evidence of resistance". Newshub. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 30, 2020.
  15. "Surveillance video does not support police claims that George Floyd resisted arrest". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  16. Furber, Matt (May 29, 2020). "George Floyd worked with officer charged in his death". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 31, 2020. Mr. Floyd did not voluntarily get in the car and struggled with the officers, intentionally falling down, saying he was not going in the car, and refusing to stand still, according to the charging document.
  17. Ries, Brian (May 29, 2020). "8 notable details in the criminal complaint against ex-Minneapolis Police Officer Derek Chauvin". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ May 31, 2020. Officers Thomas Lane and J.A. Kueng arrived with their body worn cameras (BWCs) activated and running.... ...The officers made several attempts to get Mr. Floyd in the backseat of squad 320 from the driver's side. Mr. Floyd did not voluntarily get in the car and struggled with the officers by intentionally falling down, saying he was not going in the car, and refusing to stand still.
  18. Madani, Doha; K. Li, David; Winter, Tom (May 29, 2020). "Ex-Minneapolis police officer Derek Chauvin charged with murder in George Floyd case". NBC News. สืบค้นเมื่อ June 1, 2020. Floyd had been handcuffed for allegedly passing a phony $20 bill at the corner store. He refused to get into a squad car and was "intentionally falling down," saying he was claustrophobic and struggling to breathe, according to the complaint. "While standing outside the car, Mr. Floyd began saying and repeating that he could not breathe," the document said.
  19. "Former MPD Officer Derek Chauvin In Custody, Charged With Murder In George Floyd's Death". WCCO News 4 Minnesota. May 29, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020. Body camera footage shows the officers approaching the car with Lane on the driver’s side and Kueng on the passenger side... The complaint says that Floyd began saying and repeating he could not breathe while standing outside the car. Chauvin then went to the passenger side and tried to get Floyd in from that side, with Lane and Keung assisting
  20. Hauser, Christine (May 26, 2020). "F.B.I. to Investigate Arrest of Black Man Who Died After Being Pinned by Officer". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
  21. "4 Minneapolis police officers fired following death of George Floyd in police custody". FOX 9. May 26, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
  22. "'This is the right call': Officers involved in fatal Minneapolis incident fired, mayor says". KSTP-TV. May 26, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020.
  23. "Former MPD Officer Derek Chauvin In Custody, Charged With Murder In George Floyd's Death". WCCO News 4 Minnesota. May 29, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  24. The AP (May 29, 2020). "Fired Minneapolis police officer Derek Chauvin, who knelt on George Floyd's neck, arrested". Boston.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.
  25. AP (May 28, 2020). "Violent protests rock Minneapolis for 2nd straight night over in-custody death". ABC7 Los Angeles (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  26. Jimenez, Omar; Chavez, Nicole; Hanna, Jason (May 28, 2020). "As heated protests over George Floyd's death continue, Minnesota governor warns of 'extremely dangerous situation'". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  27. DeMarche, Edmund (May 28, 2020). "Deadly shooting near George Floyd protest as looting, arson grip Minneapolis". Fox News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020. Some protesters skirmished with officers, who fired rubber bullets and tear gas in a repeat of Tuesday night's confrontation.
  28. Murphy, Esme (May 26, 2020). "'I Can't Breathe!': Video Of Fatal Arrest Shows Minneapolis Officer Kneeling On George Floyd's Neck For Several Minutes". KSTP-TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2020. สืบค้นเมื่อ May 26, 2020. While lying facedown on the road, Floyd repeatedly groans and says he can't breathe.
  29. "Mayor makes emotional call for peace after violent protests: "I believe in Minneapolis"". www.cbsnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 29, 2020. สืบค้นเมื่อ May 29, 2020.