ข้ามไปเนื้อหา

เจนนี่ ฮวาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจนนี่ ฮวาล
ฮวาลระหว่างการแสดงในออร์ฮูส, 2555
ฮวาลระหว่างการแสดงในออร์ฮูส, 2555
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเจนนี่ ฮวาล
รู้จักในชื่อร็อคเก็ตทูเดอะสกาย (Rockettothesky) (2549–2551)
เกิด (1980-07-11) 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (44 ปี)
ทะเวดะสตราน,[1] นอร์เวย์
แนวเพลง
อาชีพ
  • นักร้องนำแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
  • นักดนตรี
  • นักเขียน
เครื่องดนตรี
ช่วงปี2546–ปัจจุบัน
เว็บไซต์www.jennyhval.com

เจนนี่ ฮวาล (นอร์เวย์: Jenny Hval ; เกิด 11 กรกฎาคม 2523) เป็นนักร้องนักแต่งเพลง นักดนตรี โปรดิวเซอร์เพลง และนักแต่งนวนิยายชาวนอร์เวย์ เธอได้ปล่อยอัลบั้มเดี่ยว 8 อัลบั้ม โดยมี 2 อัลบั้มออกภายใต้นามแฝง ร็อคเก็ตทูเดอะสกาย (อังกฤษ: Rockettothesky) และอีก 6 อัลบั้มในชื่อของเธอเอง

ในปี 2558 ฮวาลได้ปล่อยสตูดิโออัลบั้มออกมาโดยมีชื่ออัลบั้มว่า อะพอคคาลิปส์, เกิร์ล, ซึ่งได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง[2] และในปีถัดมาเธอได้ปล่อยอัลบั้ม บลัดบิตช์, เป็นอัลบั้มแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลจากแวมไพร์, ประจำเดือน และหนังสยองขวัญช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970

แนวเพลงและอิทธิพลที่ได้รับ

[แก้]

ฮวาลนั้นได้รับอิทธิพลจากลักษณะแอนโดรจีนีในเพลงป็อปช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยเฉพาะวิดิโอเพลง คลาว์ดบัสทิง ของเคต บุช ที่มีอิทธิพลสูงกับเธอ โดยในวิดิโอเพลงดังกล่าวนั้นเคตบุชนั้นได้แต่งตัวเป็นเด็กหนุ่ม โดยฮวาลนั้นได้แสดงความชื่นชมของเธอที่มีต่อความสามารถของนักดนตรีชาวอังกฤษที่สามารถเขียนเพลงที่มีมุมมองที่หลากหลาย[3][4][5]

การขับร้องในรูปแบบคำพูดของเธอนั้นได้รับการเปรียบเทียบกับเพลงของลอรี แอนเดอร์สัน[6][7]

งานเขียน

[แก้]

หลังจากได่รับการศึกษาอักษรศาสตร์ และทำงานเป็นฟรีแลนซ์คอลัมนิสต์และนักเขียน ฮวาลได้ตีพิมพ์นวนิยายของเธอเอง พาร์เลบริกกิริเยท (โรงเบียร์ไข่มุก) ในปี 2552 และในรุ่นภาษาอังกฤษ มีชื่อเรื่องว่า พาราไดซ์ รอท: อะโนเวล, ซึ่งได้รับการแปลภาษาโดย มารแจม อิดริสส์ และตีพิพม์โดยเวอร์โซบุกส์ฝนเดือนตุลาคม 2561[8] งานเขียนนวนิยายชื้นที่สองของฮวาล, อินนิ อันซิกซ์เตอ (เข้าสู่ใบหน้า) ได้รับการตีพิพม์ในประเทศนอร์เวย์ในเดือนตุลาคม 2555[9] และงานเขียนชิ้นที่สามของเธอนั้นเป็นนวนิยาย ออฮาเตกูด (ในการเกลียดพระเจ้า) ในปี 2561 ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยมารแจม อิดริสส์ และตรพิพม์โดยเวอร์โซบุกซ์ภายใต้ชื่อ เกิลส์อะเกนสต์ก็อด ในเดือนตุลาคม 2563[10][11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bergan, Jon Vidar (6 January 2017). "Jenny Hval". Store norske leksikon (ภาษานอร์เวย์). สืบค้นเมื่อ 2017-01-09.
  2. "Album Review". pitchfork.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
  3. "Confronting: Jenny Hval - 'Everyday Life Through A Pedalboard Of Effects'". NBHAP (ภาษาเยอรมัน). 2015-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  4. "Singer Jenny Hval: 'I'm so cruel'". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2013-04-18. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  5. "We ran willingly, horse-like, girl-like, boy-like. Her voice neighing in the back of her throat, and when I came closer we collided and kissed in the passing, on the mouth, like horses do. I said, her thin lips over enamel and steel. I felt the outline of her braces against my own, little silver arms reaching for each other". Genius. สืบค้นเมื่อ 2021-10-26.
  6. "Lost Girls Menneskekollektivet". The New Yorker (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
  7. "Jenny Hval". Pitchfork (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-27.
  8. 1980–, Hval, Jenny. Paradise rot : a novella. Idriss, Marjam (English-language ed.). London. ISBN 9781786633835. OCLC 1043955944.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  9. Hval, Jenny (2012). Inn i ansiktet. Norway: Forlaget Oktober. ISBN 9788249510559.
  10. Hval, Jenny (2020). Girls Against God. Verso Books. ISBN 9781788738958.
  11. Hval, Jenny. "more work – Jenny Hval". Jenny Hval. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 6 October 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]