เจดีย์ต้าฉิน

พิกัด: 34°03′32″N 108°18′27″E / 34.05889°N 108.30750°E / 34.05889; 108.30750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซากของเจดีย์ในปัจจุบัน

เจดีย์ต้าฉิน (จีน: 大秦塔; Daqin Pagoda) เป็นเจดีย์พุทธในเทศมณฑลโจวจือในซีอาน มณฑลฉ่านซี[1] ตั้งอยู่ห่างไปสองกิโลเมตรจากวัดลัวกวนไท มีการกล่าอ้างว่าเจดีย์นี้เป็นของคริสตจักรตะวันออกในสมัยราชวงศ์ถัง[2]

ศัพทมูล[แก้]

ต้าฉินเป็นชื่อภาษาจีนโบราณของจักรวรรดิโรมัน หรือในบางบริบทอาจหมายถึงตะวันออกใกล้ โดยเฉพาะแคว้นซีเรีย[3]

ประวัติศาสตร์[แก้]

เจดีย์ต้าฉินปรากฏบันทึกครั้งแรกในปี 1065 ที่ซึ่งกวีชาวจีนซู ตงโป เดินทางมาที่นี่และนิพนธ์บทกวีเกี่ยวกับเจดีย์ในชื่อ "วัดต้าฉิน" น้องชายของเขา ซู เจอ ยังเขียนกวีสะท้อนกล่าวถึงสงฆ์ของวัด หลังเกิดแผ่นดินไหวในปี 1556 เจดีย์เสียหายและถูกทิ้งร้าง รวมถึงทำให้พื้นที่ใต้ดินของเจดีย์เข้าถึงไม่ได้อีกต่อไป

บิชอปแห่งคริสตจักรตะวันออกอัสซีเรีย มาร์ อาวา โรเยล ได้เดินทางเยือนเจดีย์นี้ในปี 2012[4]

ลักษณะ[แก้]

เจดีย์อิฐแปลนพื้นรูปแปดเหลี่ยม ความสูงเจ็ดชั้น ราว 34 เมตร (ในอดีตเชื่อว่าสูง 32 เมตร) ชั้นแรกสุดมีขนาดความกว้างของแต่ละฝั่งอยู่ที่ 4.3 เมตร[1]

ข้อเสนอเกี่ยวกับศาสนาคริสต์[แก้]

ในปี 2001 นักจีนศึกษา มาร์ติน พาล์เมอร์ และผู้แปลหนังสือจีนศึกษาหลายเล่ม เช่น จวงซือ และ อีชิง ได้เสนอว่าเจดีย์นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับคริสตจักรตะวันออกในสมัยราชวงศ์ถัง ไว้ในหนังสือของเขา The Jesus Sutras (พระเยซูสูตร) ซึ่งเป็นที่ถกเถียง พาล์เมอร์ระบุว่าโบสถ์และอารามคริสต์มีสร้างขึ้นในปี 640 โดยมิชชันนารียุคแรกของคริสตจักรจะวันออก ส่วน ต้าฉิน เป็นชื่อของจักรวรรดิโรมันตามที่ปรากฏในเอกสารภาษาจีนยุคแรก ๆ ในศตวรรษที่ 1-2[5] และในศตวรรษที่ 9 ตอนกลาง คำนี้ยังใช้เรียกโบสถ์มิสซังของคริสต์ชนซีเรีย[3]

ผู้สนับสนุนคำกล่าวอ้างของพาล์เมอร์เสนอให้เห็นถึงรายละเอียดต่าง ๆ ว่าเจดีย์นี้ในอดีตเป็นโบสถ์คริสต์ เช่นรอยขีดเขียนภาษาซีเรีย และภาพที่เสนอว่าเป็นฉากการประสูติของพระเยซู นอกจากนี้ ด้วยลักษณะการจัดวางของอารามตามทิศตะวันออก-ตะวันตก ทำให้ยิ่งสนับสนุนว่าที่นี่เป็นของศาสนาคริสต์ มากกว่าพุทธและเต๋าซึ่งนิยมจัดวางตามทิศเหนือ-ใต้[6]

หน่วยงานท้องถิ่นได้สร้างความนิยมให้กับข้อเสนอของพาล์เมอร์โดยมุ่งหวังจะกระตุ้นการท้องเที่ยวในพื้นที่ รวมถึงยังมีนักวิชาการชาวจีนที่ยกย่องและเขียนบทความเห็นด้วยกับข้อเสนอของพาล์เมอร์ ในตอนแรกของรายการปี 2009 โดยบีบีซี A History of Christianity มีบางฉากที่มาจากเจดีย์นี้[7] และยังมีบทสัมภาษณ์ของพาล์เมอร์โดยผู้ดำเนินรายการ ศาสตราจารย์เดียร์เมด แม็คคัลลอห์

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของพาล์เมอร์เป็นที่ถกเถียง นักวิชาการที่ปฏิเสธข้อเสนอแนะของเขา เช่น ไมเคิล คีวาค (Michael Keevak) ผู้เขียนหนังสือ The Story of a Stele และเดวิด วีล์มซ์ฮวร์สท์ (David Wilmshurst) ผู้เขียนหนังสือ The Martyred Church: A History of the Church of the East[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Daqin Temple Pagoda at china.org.cn
  2. Martin Palmer, The Jesus Sutras: Rediscovering the Lost Religion of Taoist Christianity, ISBN 0-7499-2250-8, 2001
  3. 3.0 3.1 Jenkins, Philip (2008). The Lost History of Christianity: the Thousand-Year Golden Age of the Church in the Middle East, Africa, and Asia – and How It Died. New York: Harper Collins. pp. 64–68. ISBN 978-0-06-147280-0.
  4. "Bishop Mar Awa Royel Visits China". Assyrian Church News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2012-12-10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-22. สืบค้นเมื่อ 2019-10-22. Following the visit to the Museum of Steles, and on the route to the Jingjiao site to visit the Daqin Pagoda, a stop off was made at our sister Jenny Bai’s house who had requested for His Grace to visit her home and offer prayers of blessings to her and her parents.
  5. Hill, John E. (2006). "The Kingdom of Da Quin". The Western Regions according to the Hou Hanshu (2nd ed.). สืบค้นเมื่อ 2008-11-30.
  6. Thompson, Glen L (April 2007). "Christ on the Silk Road: The Evidences of Nestorian Christianity in Ancient China". Touchstone Journal. สืบค้นเมื่อ 2008-11-30.
  7. "BBC Four - A History of Christianity".
  8. Keevak, The Story of a Stele, 000; Wilmshurst, The Martyred Church, 461

บรรณานุกรม[แก้]

  • Keevak, Michael, The Story of a Stele: China's Nestorian Monument and Its Reception in the West, 1625-1916 (Hong Kong, 2008).
  • Palmer, Martin, The Jesus Sutras: Discovering the Lost Scrolls of Taoist Christianity (New York, 2001).
  • Wilmshurst, David, The Martyred Church: A History of the Church of the East (London, 2011).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

34°03′32″N 108°18′27″E / 34.05889°N 108.30750°E / 34.05889; 108.30750